หนังแอนิเมชั่นสั้นที่ฉายปะหน้าหนังจากพิกซาร์เป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ชม และอีกอย่างนั่นก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่หลายๆคนอาจจะตัดสินใจไปดูหนังแอนิเมชั่นของพิกซาร์ ซึ่งเรื่องราวในแต่ละเรื่องสั้นนั้นทั้งลึกซึ้งและมีความหมายแฝงที่แตกต่างกันไป ค่อนข้างมั่นใจเลยว่าหนังแอนิเมชั่นแต่ละเรื่องที่สร้างโดยพิกซาร์จะต้องดี และมีความหมายในเรื่องครอบครัวแฝงไว้อยู่เสมอ
เคยอ่านเจอว่าพิกซาร์มีกฏห้าข้อที่จะไม่ทำในการสร้างหนัง (อาจรวมถึงหนังแอนิเมชั่นสั้นเหล่านี้ด้วย) ว่า จะต้องไม่มีเพลง, ไม่มีเนื้อเรื่องในโมเม้นท์ที่อยากได้โน้นนี่นั่น, ไม่มีหมู่บ้านอันแสนสงบสุข, ไม่มีเรื่องรัก, และไม่มีตัวร้าย ซึ่งกฏทั้งห้าข้อนี้ก็ทำให้หนังแอนิเมชั่นของพิกซ่าร์มีความโดดเด่นมาจนถึงทุกวันนี้ อีกอย่างหนึ่งทางทีมงานของพิกซาร์ได้มีการค้นคว้าก่อนที่จะเขียนโครงเรื่องและลงมือทำจริงๆ
ด้านล่างนี้คือหนังแอนิเมชั่นสั้นที่ฉายปะหน้าหนังแอนิเมชั่นจากพิกซาร์ เฉพาะที่ฉายแปะหน้าหนังตั้งแต่ในโรงจริงๆ ไม่รวมที่แปะหน้าหนังตอนลงแผ่น ตั้งแต่เรื่องแรกถึงเรื่องเรื่องล่าสุด (มีสปอยล์ละกันเนอะ เพราะเรื่องมันสั้นจริงๆ)
ref.
Pixar: https://www.pixar.com/short-films
The Matter: https://thematter.co/rave/11-things-makes-pixar-always-wonder/40466
หนังแอนิเมชั่นสั้นฉายแปะหน้าหนังแอนิเมชั่นจากพิกซาร์
1. Minimore: http://bit.ly/2MABy5b
2. Facebook: http://bit.ly/2Kn9Pbl
3. Pantip: http://bit.ly/2tQozo1
4. Twitter: http://bit.ly/2MEUMGT
5. Twitter Moment: http://bit.ly/2KBXpbJ
เรื่องราวของโคมไฟ Luxo และ Luxo Jr ลูกชายแสนซน Luxo Jr เล่นลูกบอลอย่างสนุกสนาน ไม่นานลมในบอลลูกนั้นก็หมดไป Luxo ผู้เป็นพ่อก็นึกว่าลูกชายตัวเองจะหยุด สุดท้ายก็ไปหาลูกบอลลูกใหม่ลูกใหญ่มาเล่นอีกทีอยู่ดี
เป็นหนังสั้นสุดคลาสสิคของพิกซ่าร์เลยก็ว่าได้ ทั้งการเคลื่อนไหวของโคมไฟและการเด้งของลูกบอลมันสมจริงจนดูมีชีวิตชีวามากๆ และอีกอย่างโคมไฟก็ได้มากลายเป็นสัญลักษณ์ของพิกซ่าร์ไปเลย
John Lasseter ที่เป็นผู้สร้างแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้ได้เผยถึงการทำงานของเขาไว้ว่า เขาเลือกที่จะสร้างโมเดลตัวละครจากสิ่งที่ง่ายๆใกล้ตัวเขา จึงลงตัวไปที่โคมไฟที่ตั้งอยู่บนโต๊ะเขานั่นเอง จากนั้นเขาก็เริ่มทำให้โคมไฟนั้นมีชีวิต จนต่อมาโคมไฟนี้ก็เป็นสัญลักษณ์ของพิกซาร์ไปเลย แถมยังได้เข้าชิงรางวัลออสการ์อีกด้วย
ตุ๊กตาหิมะที่อยู่ในโหลแก้วหิมะอยากออกไปหาเพื่อนๆข้างนอก เขาจึงทำทุกวิถีทางให้ตัวเองออกไปจากโหลแก้วนี้
สิ่งไหนที่ไม่ใช่ของเรา แม้อยู่แค่เอื้อม มันก็จะอยู่แค่เอื้อมจริงๆ นี่คงเป็นความตลกร้ายนิดๆของหนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้ เพราะไม่ว่าตุ๊กตาหิมะจะทำยังไง มันก็ออกจากโหลแก้วไม่ได้สักที แอบสงสาร แต่ก็แอบสะใจเล็กๆ
เล่าเรื่องของคุณตากิีริที่ออกมาเล่นหมากรุกกับตัวเองในสวนแห่งหนึ่ง โดยมีฟันปลอมเป็นสิ่งเดิมพัน
หนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้ไปไกลถึงรางวัลออสการ์กันเลยทีเดียว ภาพแอนิเมชั่นดูทันสมัยและสดใสเหมือนสมัยนี้มากๆ ทั้งการออกแบบตัวละคร การเคลื่อนไหว และการวางเฟรมต่างๆ ถ้าไม่บอกว่าสร้างในยุค 90 ก็คิดว่าสร้างในยุคปัจจุบันเสียอีก
เรื่องราวของกลุ่มนกเกาะสายไฟที่แย่งพื้นที่ในการเกาะสายไฟกัน อยู่ๆก็เห็นนกตัวใหญ่อวดขนของมัน บรรดากลุ่มนกจึงทำท่าทางล้อเลียนและนินทา
เสียดสีกัดจิกสังคมการนินทาได้ออกมาอย่างน่าบันเทิง ความยากของหนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้คือการสร้างสรรค์นกที่ไม่มีขน และสุดท้าย For the Birds (2000) ก็คว้ารางวัลออสการ์มาได้ แล้วเจ้าบรรดานกพวกนั้นมันคือต้นแบบของมิเนี่ยนแน่ๆ!!
แกะตัวหนึ่งมีขนที่สวยงาม มันมักภูมิใจกับขนของมัน วันหนึ่งมันถูกจับไปถอนขน จนเหลือแต่หนังซึ่งดูน่าเกลียด แถมเพื่อนๆที่เคยชื่นชมก็กลับหัวเราะเยาะใส่ ในขณะที่เจ้าแกะกำลังเศร้าอยู่นั้น ก็มีกระต่ายมีเขาตัวหนึ่งเข้ามาสอนให้เจ้าแกะมีความสุขกับชีวิต
เป็นเหมือนนิทานสั้นๆที่ให้ข้อคิดดีๆกับคนที่กำลังรู้สึกไม่เห็นค่าในตัวเองสุดๆเลย แถมจังหวะเพลงและกลอนก็เข้าใจมากๆ
สองนักดนตรีข้างถนนที่พยายามเล่นดนตรีเพื่อเอาชนะเด็กสาวคนหนึ่งที่มีเหรียญพร้อมบริจาคให้ใครสักคน
สะท้อนสังคมได้ดีระดับหนึ่งเลยทีเดียว แถมตัวละครเด็กผู้หญิงหน้าตากวนได้ที่
เอเลี่ยนฝึกหัดที่รับการทดสอบจากเอเลี่ยนรุ่นพี่ ในการทดสอบนี้เขาต้องนำตัวมนุษย์ขึ้นยานตัวเอง
ไม่รู้ว่าได้ข้อคิดหรือความประทับใจอะไรมากมายเลย แต่ได้ความฮาและความน่ารักมาเต็มๆ
เล่าเรื่องของนักมายากลและกระต่ายจอมแสบที่อยากกินแครอทมากๆ แต่นักมายากลไม่ให้กินสักที จนกระต่ายต้องแกล้งนักมายากลด้วยวิธีต่างๆนานา
ความพิเศษของหนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้คือได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสก้าร์ด้วย ซึ่งก็น่าจะเป็นเพราะความสร้างสรรค์และความบันเทิงของตัวละครทั้งสองนั่นแหละ
ตำนานนกกระสานักส่งของและเมฆนักสร้างสรรค์ ในขณะที่เมฆก้อนอื่นๆสร้างสรรค์สิ่งมีชีวิตน่ารักๆขึ้นมา เช่น หมา แมว อีกทั้งนกกระสาที่รับส่งก็มีความสุขไปด้วย ยังมีเมฆก้อนหนึ่งที่เป็นเหมือนแกะดำ เขาประสร้างสรรค์ได้แต่สิ่งมีชีวิตที่น่ากลัว เช่น จระเข้ ฉลาม เม่น นกกระสาประจำตัวเมฆก้อนนี้ดูเหมือนจะเจอแต่ความทุกข์ระทม
เป็นแอนิเมชั่นสั้นที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น ซาบซึ้ง และกินใจสุดๆ แต่เสียดายตรงที่ประเด็นเรื่องมิตรภาพยังไม่หนักแน่นมากพอ
เรื่องราวของนายเดย์และนายไนท์ที่ชีวิตของทั้งคู่ต่างกันเกือบสุดขั้ว
เป็นการผสานเทคนิค 2D และ 3D อย่างลงตัวมากๆ ดูแล้วเพลินมากๆ นายเดย์และนายไนท์จะถูกทำจาก 2D ส่วนเรื่องราวของแต่ละวันถูกทำจาก 3D ดูไปดูมามันโคตรจะลงตัวเอง อีกอย่างการที่มองเห็นทั้งข้อดีและข้อเสียของทั้งกลางวันและกลางคืนได้เป็นสิ่งที่สำคัญมากเลยทีเดียว
เล่าเรื่องของครอบครัวหนึ่งที่มีหน้าที่จัดแจงดวงจันทร์ ในคืนหนึ่งพวกเขานั่งเรือไปยังกลางทะเล และขึ้นไปบนดวงจันทร์เพื่อจัดแจงดวงจันทร์จากดวงจันทร์กกลมโตให้เป็นดวงจันทร์เสี้ยว
ประเด็นหลักของหนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้คือการเลือกทางเดินของตัวเอง พ่อและปู่พยายามให้เลือกทางเดินให้เด็กชายคนหนึ่งในแบบที่แตกต่างกันออกไป โดยความแตกต่างนี้น่าจะมาจากการที่ทั้งพ่อและปู่อยู่กันในคนละวัย และในที่สุดเด็กชายก็หาทางเดินของตัวเองในวัยตัวเองได้สำเร็จ และทั้งพ่อและปู่ก็ยอมรับในทางเดินนั้นๆ
เรื่องราวเกิดในช่วงเย็นของวัน ที่ไม่นานมากนักฝนก็ตกลงมา ท่ามกลางผู้คนกำลังเดินกางร่มอย่างขวักไขว่ ร่มสีฟ้าก็ได้พบรักกับร่มสีแดง ไม่นานทั้งคู่ก็พลัดพรากกัน ร่มสีฟ้าพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้กลับไปอยู่ข้างๆร่มสีแดงอีกครั้ง
ที่น่ารักมากๆก็คือ การที่สิ่งของทั้งหมดในเรื่องมีชีวิตหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำ รางน้ำฝน หน้าต่าง ไฟจราจร และตู้ไปรษณีย์ แถมทั้งหมดยังช่วยกันให้ร่มสีฟ้าได้พบกับร่มสีแดงอีกครั้ง แถมยังมี score มีพื้นหลังเป็นเสียงฝนตก และดนตรีที่น่ารักชวนอินไปกับเรื่องราวอีกด้วย
จุดเริ่มต้นของหนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้คือการที่ Saschka Unseld ลองจินตนาการว่าถ้าสิ่งของบนถนนที่วุ่นวายมีหน้าตาและลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นมาล่ะ จะเป็นยังไง
เล่าเรื่องของภูเขาไฟกลางทะเลที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ไม่เหงา เพราะเขาจ้องมองคู่รักอื่นเล่นกันอย่างมีความสุข แม้ว่าในใจลึกๆของตัวเองก็ต้องการใครสักคนมาเคียงข้างด้วยก็ตาม ทุกๆวันเขาจะร้องเพลงให้เธอเนื้อคู่คนนั้นที่ยังไม่เจอกัน
ก่อนจะได้ดูหนังจริงๆ ก็ได้รับความประทับใจไปเต็มอิ่มจากแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้ Lava (2014) มีเพลงเพราะๆให้ฟัง จนต้องเข้าไปดูหนัง 2 รอบ รอบเสียง sound track และเสียงพากย์ไทย ด้วยเสียงอูคูเลเล่ เสียงร้องที่นุ่มนิ่ม และเนื้อหาเรื่องราวที่น่ารัก ทั้งหมดหลอมรวมกันเป็นความประทับใจอันแสนละมุมจริงๆ
จุดเริ่มต้นของหนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้คือการที่ James Ford Murphy กำลังเล่นกีต้าร์อยู่ แล้วมีความคิดว่า “เป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายของผมเลย ที่ได้เล่าเรื่องเรื่องหนึ่งโดยใช้เพลงทั้งหมดเป็นตัวสื่อสาร”
เล่าเรื่องของสองพ่อลูก ซานเจย์เด็กชายผู้ชื่นชอบซุปเปอร์ฮีโร่เขากำลังดูการ์ตูนและในมือเขาก็มีหุ่นซุปเปอร์ฮีใร่ในดวงใจอยู่ ส่วนพ่อของเขานั้นกำลังสวดมนต์ตามวิถีแห่งฮินดู ผู้เป็นพ่อปิดทีวีและเรียกลูกชายมาสวดมนต์ด้วยกัน ซานเจย์ไม่ค่อยพอใจนัก แต่ก็มาสวดมนตร์ด้วยอย่างไม่เต็มใจ จนสุดท้ายเขาได้ผจญภัยสุดตื่นตาและไม่คาดคิด
สร้างจากประสบการณ์วัยเด็กของผู้กำกับอย่าง Sanjay Patel ซึ่งก็สร้างออกมาได้อย่างกลมกล่อม แถมยังนำเสนอประเด็นความเข้าใจกันของพ่อลูกที่ก่อนหน้านั้นเคยขัดแย้งในเรื่องความชอบในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอีกด้วย
เล่าเรื่องของนกน้อยที่อาศัยแถบชายฝั่งทะเล มันกำลังเติบโตและเรียนรู้ที่จะต้องหาอาหารด้วยตัวเอง นกตัวอื่นๆมักจะหาอาหารกินบริเวณทะเลที่มีคลื่นเล็กๆซัดมาบ่อยๆ ซึ่งนกน้อยตัวนี้เคยโดนคลื่นซัดจนเข็ดหลาบและไม่กล้าออกไปหาอาหารด้วยตัวเอง จนวันหนึ่งมันได้เจอกับเจ้าปูกระดองส้มที่สอนให้นกน้อยรู้จักเอาตัวรอดจากคลื่นทะเล
มีความละมุนและสอนให้เด็กๆออกไปเรียนรู้โลกด้วยตัวเองที่สอนถึงประโยคที่ว่า “ทุกๆอย่างต้องมีครั้งแรก” ซึ่งจะผิดจะถูกยังไงก็ต้องลองกันไปก่อน แถมหนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้ยังได้รางวัลออสการ์มาครอบครองอีกด้วย
ทางทีมงานที่สร้างหนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้พวกเขาใส่ใจกับเรื่องความสมจริงของ “ขนนก” เป็นอย่างมาก ถึงกับต้องศึกษาการเคลื่อนไหวของขนนกจริงๆ พวกเขาต้องตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของนกแถบชายฝั่งจริงๆ ส่วนเรื่องแรงบันดาลใจในการสร้างหนังแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้ก็คือ ขณะที่ Alan Barillaro ผู้สร้างได้ออกไปวิ่งที่ชายฝั่งทุกเช้า เขาจะเห็นเจ้านกที่หาอาหารอยู่ประจำ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากพิกซาร์ เขาก็เริ่มลงมือทำเลย
เล่าเรื่องในสนามเด็กเล่นของโรงเรียนหนึ่ง ที่นั่นมี Lou เจ้าสัตว์ประหลาดตัวหนึ่งที่อยู่ในกล่อง Lost And Found หรือของหายได้คืน มันมักจะจับตามองเด็กๆในสนามเด็กเล่นเสมอ และจะเก็บของเล่นของเด็กๆที่มักทำหายมาไว้ในกล่อง จนวันหนึ่งมีเด็กชายชื่อเจเจเขาชอบแกล้งเพื่อนอยู่ประจำ Lou จึงหาทางสั่งสอนเด็กเกเรคนนี้
สำหรับ Dave Mullins ที่เป็นผู้สร้างแอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้ได้เล่าถึงแรงบันดานใจในการสร้างแอนิเมชั่นสั้นนี้ว่า “สำหรับวันแรกของเด็กใหม่ในโรงเรียน พวกเขาอาจจะทั้งรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคนสนใจเพราะยังไม่รู้จักเพื่อนคนอื่นๆ และรู้สึกว่าตัวเองเขินและยังไม่ชินกับที่ใหม่ๆจนอยากจะหายตัวไป มันคงจะดีนะ ที่เราได้สร้างตัวละครที่ซ่อนความรู้สึกเหล่านี้ไว้ข้างใน” แถมยังบอกอีกว่า “การรังแกคนอื่นเป็นแค่การแสดงที่พวกเขารู้สึกแปลกประหลาด หรือเด็กเกินไปที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องผิดชอบชั่วดี และในอีกทางหนึ่งพวกเขาอาจจะรู้สึกว่าไม่มีใครเห็นค่าอีกด้วย ถ้าคุณหาเจอว่าสาเหตุนั้นคืออะไร บางครั้งคุณอาจจะได้แก้ปัญหาอย่างตรงจุด และในที่นี้ก็คือ Lou ที่เข้าใจว่าเจเจต้องการอะไร Lou จึงสอนให้เจเจรู้จักกับประโยคที่ว่า ‘ความสุขนั้นมาจากการให้’”
เล่าเรื่องของหญิงวันกลางคนชาวจีน เธอเหงาหงอยเพราะลูกๆต่างก็เติบโตและย้ายออกไป วันหนึ่งเปาน้อยที่เธอทำขึ้นมากลับมีชีวิต เธอจึงได้รับโอกาสให้เป็นแม่อีกครั้ง และเมื่อเวลาผ่านไป เปาน้อยก็ได้โตขึ้น เธอจึงได้รู้ว่าไม่มีอะไรที่จะตัวเล็กและน่ารักไปตลอดกาล
ถึงแม้จะเป็นแอนิเมชั่นสั้น แต่เต็มไปด้วยประทับใจและเรียกน้ำตาได้อย่างน้ำตาอาบแก้มเลย เหมือนได้เข้าใจความรู้สึกของคนเป็นแม่คนมากขึ้น แถมยังต้องเรียกว่าเปาน้อยว่าน้องงงงงงแบบนี้แทบจะตลอดเรื่อง สร้างจากผู้กำกับหญิงชาวจีนชื่อ Domee Shi ซึ่งถือว่าเป็นผู้หญิงชาวเอเชียคนแรกที่ได้ผลิตหนังแอนิเมชั่นสั้นให้กับพิกซาร์
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in