รีวิวเว้ย (146) "วรรณคดีไทย เป็นสิ่งสูงค่า ดีงาม สำคัญ และเป็นสิ่งที่ธำรงค์ไว้ซึ่งศิลธรรมอันดีของสังคม ของประเทศชาติ เราเป็นคนไทย เราจึงจำเป็นต้องเรียนวรรณคดีไทยเอาไง้ เพื่อสืบรักษาวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของประเทศชาติสืบไป" -- ครูภาษาไทยสมัย ม.5 กล่าวไว้ "ครูครับ ครูครับ ในวรรณคดีไทย เณรเอาผู้หญิงได้ด้วยหรอครับ" -- กูกล่าวตอน ม.5 หลังจากครูพูดประโยคที่ยกมาจบลง -- หลังจากนั้นครูท่านนี้ไม่พูดด้วยอีกเลยจนเรียนจบ ม.ปลาย
หนังสือ : วรรณคดีไทยไดเจสต์
โดย : ชนัญญา เตชจักรเสมา
จำนวน : 234 หน้า
ราคา : 275 บาท
ในฐานะของคนไทย เรามักจะถูกสอนเสมอ ๆ ว่าวรรณคดีไทยเป็นของสูงส่ง เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมอันสูงค่าของชาติไทย ทำให้หลายครั้งที่มีคนออกมาตั้งคำถาม ตีความใหม่ หรือจะประบประยุคให้วรรณคดีไทย มีความเป็นสมัยนิยมมากยิ่งขึ้น เมื่อนั้นดราม่าวรรณคดีมักเกิดขึ้นเสมอ ๆ
นอกจากความศักสิทธิ์ถึงขนาดห้ามทำให้เปลี่ยนแปลงแล้ว วรรณคดียังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ "วรรณคดีปกปิดและบิดเบือน" เช่น วรรณคดีที่เราอ่านกันตอนเรียน เรามักจะได้อ่านแต่ตอนที่คนดีปราบคนชั่ว และตอนที่คนชั่วทำชั่วเท่านั้น และเราแทบไม่เคยเห็นคนดีทำชั่วเลยสักครั้ง เว้นแต่ว่าการทำชั่วของคนดีนั้นเป็นการทำชั่วที่ดี โดยคนดี เพื่อคนดี สำหรับรักษาไว้ซึ่งความดี การกระทำแบบนี้จะไม่นับเป็นความชั่ว (บิดเบือนกันสุด ๆ) ทุกวันนี้เลยกลายเป็นว่าคนไทยหลายกลุ่ม ยังงง ๆ อยู่ว่าแบบไหนวะ ที่เรียกว่า "ดี" หรือ "ชั่ว"
สำหรับหนังสือ "วรรณคดีไทยไดเจสต์" เป็นหนังสือที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวของวรรณคดีได้น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่ง "วรรณคดีไทยไดเจสต์" ทำหน้าที่พาเราไปรู้จักกับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ของวรรณคดีไทย ที่อ่านยังไงก็ไม่เบื่อ รวมถึงหนังสือเล่มนี้ยังพาเราไปทำความรู้จักกับวรรณคดีไทย ในมุมที่แตกต่างจากที่กระทรวงศึกษาธิการ และครูสอนภาษาไทยต้องการ
ตลอดความยาว 234 หน้า 15 บท/ตอน "วรรณคดีไทยไดเจสต์" ได้บอกเล่าเรื่องราวของวรรณคดีไทยที่เราคาดไม่ถึงเอาไว้มากมาย ทั้งเรื่องของความเป็นมา ความหายนะ รวมไปถึงความบรรลัย ที่เกิดจากการทำอะไรไม่คิดของผู้ทรงอำนาจ (เทวดา) เรียกได้ว่า อ่านสนุก อ่านเพลิน รู้ตัวอีกทีก็จบเล่มเป็นที่เรียบร้อย
ถ้าให้นึกถึงงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดี หรือการเปลี่ยนมุมในการมองและตั้งคำถามกับวรรณคดี แน่นอนว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งที่เป็นหมุดหมายสำคัญของเรื่องนี้ นั่นคือ "วรรณคดีขี้สงสัย" ของคุณ "ปรามินทร์ เครือทอง" ที่ชักชวนเราตั้งคำถามและหาคำตอบจากวรรณคดีไทย แต่งานชิ้นนั้นก็ต้องใช้สมาธิในการอ่านพอควร
แต่สำหรับ "วรรณคดีไทยไดเจสต์" ก็ทำในแบบเดียว กันกับ"วรรณคดีขี้สงสัย" แต่ไม่ต้องใช้พลังใจและสมาธิในการอ่านขนาดนั้น เรียกได้ว่าเปิดอ่านเพลิน ๆ แต่ก็เผลอยิ้มตาม และคิดตามไปในแทบทุกหน้าของตัวอักษร
สำหรับใครที่คิดว่า "วรรณคดีไทย" เป็นเรื่องไกลตัว อ่านยาก ไม่เข้าใจ ลองอ่าน "วรรณคดีไทยไดเจสต์" ดูสักรอบ แล้วนั่นอาจจะทำให้คุณเปลี่ยนใจ อยากอ่านวรรรคดีไทยให้จบสักเรื่องนึง
แต่ถ้าใครยังไม่รู้จะเริ่มอ่านจากตรงไหนดี ผมขอแนะนำ "สรรพลี้หวน" (อย่าผวนนะ) ให้ลองอ่านกันดู ถึงมัมจะไม่ใช่วรรณคดี แต่ก็เป็นนิทานพื้นบ้านที่สนุกจนว่างไม่ลงอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับคนชอบคำผวน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in