สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้เกี่ยวกับบรรยากาศการเรียนของเราในคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี1 จนถึงปัจจุบัน
หลังจากจบการศึกษามัธยมปลายเราก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียนคณะอะไรดีเพราะคณะที่อยากเข้าคะแนน admission ของเราไม่ถึงตามที่คณะต้องการ จนเพื่อนมาแนะนำว่าให้ลงคณะสังคมวิทยาฯเอาไว้ณ ตอนนั้นคะแนนadmission อยู่ประมาณ 18,000+ รวมกับพี่เราแนะนำด้วย ทำให้เราตัดสินใจที่จะลง admission เป็นอันดับหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับคณะเลย เช่น ไม่รู้ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร สภาพสังคมในคณะ มหาวิทยาลัย คิดแค่ว่ามีที่เรียนก็พอแล้วในตอนนั้น หลังจากผ่านการสัมภาษณ์แล้วเข้ามาเป็นนักศึกษาคณะนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้น
ปี3: งานวิจัย/บทความวิชาการ เหนื่อยอ่อน และการหาทางออก #มีเนื้อหายาวกว่าปี1และปี 2เพราะกำลังประสบพบเจออยู่ในชีวติปัจจุบัน
" จงทำงาน "
" จงทำงาน "
" จงทำงาน "
(เมื่อเจองานที่อาจารย์สั่ง " จงทำงาน " จงหนีไปปปปป)
ที่ปรากฏอยู่บนเสื้อนักศึกษาท่านหนึ่งในคลาสเรียนวิชาหนึ่งเมื่อสายตาเราไปกระทบกับคำนี้ก็เหมือนเป็นรางบอกเหตุว่าปี 3 แกมีงานให้ทำจนไม่ว่างแน่ ๆ อิอิ
Chapter 1:งานวิจัยใคร ๆ ก็ทำได้
เราเข้าใกล้สู่การออกไปลงสนามจริงแห่งชีวิตคือ การใช้ชีวิตที่ต้องเริ่มพึ่งพาตนเอง การเจอสังคมภายนอกที่คนละแบบกับโลกของการเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือเรียกได้ว่า เจอชีวิตที่อยู่ภายใต้การควบคุมจากเจ้านาย องค์กรต่าง ๆ ที่เราจะเข้าไปผลิตงานให้กับพวกเขาแลกกับเงินที่จะมาใช้จ่ายปัจจัย 4 5 6 ....ที่ดูเหมือนจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย แต่ก่อนที่จะไปเจอสิ่งเหล่านั้นเราต้องผ่านปี 4 ไปก่อน
เข้าเรื่องเลยแล้วกันปี 3 เป็นปีที่เราเริ่มฝึกทำวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะที่ผ่านมาก็อาจจะได้แค่อ่านหรือเขียนเป็นเค้าโครงคร่าว ๆ (ในวิชาปรัชญาตอนปี2) เป็นการเปิดโลกทางด้านวิชาการของเราสารภาพเลยว่าตอนอ่านวิจัยตัวอย่างนี้ขี้เกียจสุด ๆ ที่มีหน้า100+ ตาลายไปหลายรอบเลยทีเดียว
การที่ได้ทำวิจัยเป็นผลพวงมาจากเราต้องลงวิชาวิจัยปริมาณและคุณภาพในช่วงปี3เพราะต้องผ่านตัวพื้นฐานบางตัวที่วิชานี้กำหนดเอาไว้ก่อนเราลงเรียนได้(ถ้าใครเก็บครบก่อนปี3ก็ลงได้อะ)และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเราด้วยความที่ผ่านมาได้รับการบ่งเพาะทางความรู้ไม่ว่าจะเป็น แนวคิดทฤษฎี วิธีวิทยา ต่าง ๆ ที่พอจะเอาไปใช้ในการทำวิจัยกับคนอื่นได้บ้าง
เทอมแรกของปี 3 เราเลือกลงวิชาวิจัยปริมาณก่อนเพราะรุ่นพี่แนะนำ(แบบพี่เรียนมาก่อนไม่เชื่อได้ไง เนอะ ๆ ) คลาสนี้เป็นชนกลุ่มน้อยที่น้อยจริง ๆ มีแค่ 20 เอง ตอนเข้าไปในห้องก็แบบ เชี่_ ชิบห_ย คนน้อยจังแบบนี้ถ้าไม่ตั้งใจเรียนก็จุดเด่นเลยสิ (คิดในใจ) บรรยากาศการเรียนด้วยความที่คนน้อยทำให้เราได้มีพูดคุยกับอาจารย์มากขึ้นโดยที่เราต้องเข้าไปพบอาจารย์คุยเรื่องหัวข้อวิจัยบ้างเอาจริง ๆ คือ ส่วนใหญ่ให้อาจารย์ช่วยแก้ปัญหาที่เจอในการทำวิจัย
งานที่อาจารย์สั่งเป็นการตกลงกันในห้องว่าจะทำเรื่องอะไรตามหัวข้อที่กำหนดให้ หัวข้อที่พวกเราเลือกมาดูเหมือนจะห่างไกลกับคำว่าสังคมวิทยาเสียเหลือเกินแต่เข้าใกล้กับคำว่าเศรษฐศาสตร์เสียมากกว่าถึงอย่างไรพวกเราก็เป็นคนเลือกกันเองนี่หน่าเราก็ต้องเอามาโยงเข้าให้ได้✊✊✊ ในการทำวิจัยอาจารย์คอยช่วยซับพอร์ตพวกเราอย่างมากทางทฤษฎี ตัวอย่างงานวิจัย กลุ่มตัวอย่าง การลงพื้นที่ แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ สิ่งที่ยากสำหรับนักศึกษาอย่างเราแล้วคือ การอ่านและการจัดการเวลา ของเราเอง
วิชาอื่นรุมเร้าให้เราอ่านบทความต่าง ๆ ฉันใด วิชาวิจัยปริมาณก็รุมเร้าให้เราอ่าน ฉันนั้น
สิ่งที่ต้องเจอในคณะนี้ยังไงก็หนีไม่พ้นคือ การอ่าน ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งต้องใช้เวลาการศึกษาที่รอบด้านในเรื่องที่เราจะทำวิจัยเริ่มตั้งแต่บทที่ 1 กับบทที่ 2 สองส่วนนี้อ่านกันจนสนุก อ่านจนตาแตก อ่านจนอยากจะบอกคนทำโพลที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อย ให้ลองมาทำโพลในคณะนี้เกี่ยวกับการอ่านดู (อันนี้หนูพูดล้อเล่นนะคะแค่อยากเปรียบเทียบว่าอ่านเยอะจริง ๆ ) ส่วนบทที่ 3 4 5 จะเริ่มเป็นข้อมูลที่เราเก็บรวบรวมมา การจัดการกับเวลา เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถจะควบคุมได้สักเท่าไรเพราะมีปัจจัยภายนอกและภายในเข้ามารบกวนเสมอ ไม่ว่าจะความขี้เกียจ ความคิดที่ผัดวันประกันพรุ่ง หรืองานอื่น ๆ ที่จะต้องทำก่อนส่งก่อน
จำไว้นะคะ ทักษะการอ่านที่ดีและไว เข้าใจรวดเร็ว เก็ทประเด็นของบทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ได้ตรงจุด จะทำให้คุณหลุดพ้นจากความเบื่อหน่ายของบทความทั้งปวง แต่ถ้าชีวิตของคนเรามันราบรื่นไปซะหมดก็คงไม่ต้องมีประโยคที่ว่า ทางเดินไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หรือว่า ความพยามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น สินะ ซึ่งดูจะตรงกันข้ามกับทักษะของเราหมดเลย 5555
***ในส่วนของปี 3 เทอม 2 จะนำมาเล่าใน PART ปี 4 ***
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in