เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
From Cern(เจิ้น) to CernYanisa Sunthornyotin
Day17: ยูนิคอร์นไปCMS
  • 19 มิถุนายน

    วันนี้ไปเข้าCMS Induction courseมาค่ะ​ 
    เป็นคอร์สที่จัดให้กับเหล่าSummer studentเป็นระยะเวลา3วัน​ และในวันแรกนี้จะพาไปชมเครื่องDetector "CMS" Compact muon solenoid ที่point5กันค่ะ
    ช่วงเช้าจะเน้นไปทางการทำความรู้จักกับเครื่องนี้ก่อน​
    เนื้อหาค่อนข้างหนักไปทางฟิสิกส์และElectronicsเยอะ​ เรียนไปก็นึกถึงตอนเรียนวิชาMaterialกับPhy2วิชาปราบเซียนตอนปี1 ก็สนุกดีค่ะ​ถึงจะมีแอบเอางานProjectขึ้นมาทำนิดนึงก็เถอะ
    พอดีว่ามันอยากProductiveบ้าง​เพราะไม่ได้เข้าofficeวันนี้น่ะค่ะ
    ได้Migrateตัว​topicมายังtopicใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
    ข้อมูลที่ไหลเข้ามาเยอะกว่าเดิมมากเลยค่ะ​//ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
    ลำดับถัดไปเดี๋ยวมาลองหาPatternข้อมูลโดยใช้Moving averageดู​เพื่อTrigger alertในแต่ละ​Field

    เอาล่ะ! กลับมาต่อกันที่คอร์สCMS Induction เราเลคเชอร์กันที่ตึก40แถวR1ค่ะ​ แต่ด้วยความที่มิ่งและคนอื่นๆเตรียมข้าวกลางวันกันมา(ข้าวผัดไส้กรอกอันแสนอร่อยของมิ่งเองงง​ ทำน้ำตาลหกใส่ไปนิดนึง)​ก็เลยกินที่นั้นกันเลย

    รอถึงบ่าย2รถที่จะพาเราไปยังPoint5ก็มาถึง​ ต้องใช้เวลาพอสมควรเลยค่ะกว่าเราจะถึงที่หมายปลายทาง​ภายในเขตฝรั่งเศส

    พอไปถึงก็ถูกแบ่งเป็น2กลุ่มเช่นเคย​ กลุ่มมิ่งเป็นกลุ่มแรกที่จะได้ลงไปใต้ดิน​ ตื่นเต้นๆ​ ปกติเราจะไม่ได้รับอนุญาติให้ลงไปนะคะ​ แต่พอดีมาตอนเค้าปิดปรับปรุง2ปีพอดี​ เลยสามารถลงไปได้

    ตอนที่ไปถึงโถงประกอบเครื่องCMSบนดิน​ ก็จะเห็นรูที่ถูกขุดไว้สมัยก่อนเพื่อนำตัวเครื่องนี้ลงไป​ เจ้าหน้าที่บอกว่า​ตัวเครื่องนั้นห่างจากผนังของรูเพียง10เซนติเมตรเท่านั้น​ ถ้าแกว่งนิดนึงนี่คือพังหมดเลยนะคะ​ เลยต้องใช้เวลาถึง10ชั่วโมงในการนำมันลงไป​ แล้วเครื่องหย่อนก็ทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างลื่นไหลมาก ไม่ก่อให้เกิดการแกว่งเลยและสามารถนำCMSลงไปด้านล่างได้สำเร็จโดยสวัสดิภาพ

    จริงๆก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมต้องเอาลงไปไว้ใต้ดิน​ เจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังว่ามีครั้งนึงขุดลงไปเจอแม่น้ำที่ไหลอยู่ด้านใต้​ ไหลแรงมาก​ ทีนี้ทำไง​ล่ะ? เค้าก็เลยแช่แข็งแล้วขุดน้ำแข็งออกมาซะเลย//ว้าว​ แล้วในเมื่อมันยุ่งยากขนาดนั้น​ทำไมไม่ทำบนดินซะล่ะ​ หนึ่งในหลายปัจจัยนั้นก็คงเป็นเพราะตัวเครื่องนี้อาศัยสนามแม่เหล็กเป็นปัจจัยหลักในการทดลอง​ หากเอามาไว้ด้านบน​ มีโอกาสสูงมากที่จะถูกรบกวนโดยสิ่งแวดล้อมรอบข้าง​ ดูเหมือนการเอาไว้ใต้ดินจะทำให้อะไรๆถูกควบคุมได้ง่ายขึ้นทั้งยังไม่กระทบผังเมืองมากด้วย

    ทีนี้ก็ได้เวลาที่เราจะลงไปข้างล่างกันแล้วค่ะ​ ต้องใส่หมวกsafetyด้วย​ กันของตกใส่​ เรื่องของตกใส่นี่เป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้เลยนะคะแม้แต่Siteก่อสร้างในไทยเองก็ตาม​ จึงไม่แปลกใจนักหากการลงไปที่เครื่องนี้ต้องใช้มัน
    ระบบความปลอดภัยที่นี่แน่นหนามากค่ะ​ มีโทรศัพท์ยกหูเพื่อขอความช่วยเหลือติดอยู่บนผนัง เพียงแค่ยกหูขึ้นสัญญาณเตือนก็จะดังขึ้นทันทีให้คนลงมาดู​ แล้วก็เช่นเคย​ ต้องแสกนม่านตาเพื่อเข้าไปสำหรับพนักงานที่ทำงานที่นี่นะคะ

    เราได้ไปเยี่ยมชมห้องคอมพิวเตอร์ที่คอยจัดการเรื่องการTriggerและfilterข้อมูล​ที่ได้จากการเซนเซอร์ที่ตรวจจับทุกอย่างที่เกิดขึ้นยามเมื่ออนุภาคเกิดการชน เอาแค่ที่สำคัญๆส่งไปด้านบน


    จะว่าไปส่วนนี้ก็คล้ายงานมิ่งเหมือนกันนะคะ​ ต่างกันเพียงแค่บริบท​ 
    เราจะสามารถคัดเพียงแค่ข้อมูลสำคัญๆส่งไปให้คนอื่นดูได้ยังไง​ ด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาลขนาดนั้นแต่ต้องProcessแบบRealtime ทำยังไงให้มั่นใจได้ว่าเราจะไม่พลาดข้อมูลสำคัญไปในสายน้ำเชี่ยวกราดเหล่านั้น​ 

    โชคดีจริงๆค่ะที่ได้มาอยู่ที่นี่​ มีอะไรน่าสนใจให้ได้ค้นคว้าเต็มไปหมด​ เพราะว่าเรามีนักวิทยาศาสตร์ที่อยากค้นคว้าอะไรใหม่ๆที่ท้าทาย​ ผลพลอยได้ของมันที่เกิดขึ้นเพื่อให้การทดลองแปลกๆประสบความสำเร็จนั้น​ ต่อยอดออกไปในSupply chainได้เยอะมาก​ ดูอย่าง www เป็นต้น​ ทั้งยังถูกปล่อยออกไปแบบฟรีๆด้วย​เพราะความเป็นNon-profit organizationของCERNเอง​ แม้กระทั้งdataของการชนก็ปล่อยให้คนนอกเอาไปAnalyzeได้ตามสะดวก(ถึงจะปล่อยออกมาเป็นล๊อตๆไม่ทั้งหมดก็ตาม)​

    เป็นองค์กรที่(แปลก)​ดีมากค่ะ

     ตัวเครื่องCMSของจริงยิ่งใหญ่มากค่ะ​ มีสายเคเบิ้ล​ วงจรไฟฟ้าเต็มไปหมด​ น่าสนใจสุดๆ​ แล้วก็นับถือวิศวกรที่ออกแบบสถานที่นี้มากๆ​ มันจะต้องสนุกแน่ๆเลยในการสร้างโครงสร้างการเดินสายไฟของที่นี่ขึ้นมา


    การดีไซน์ตัวเครื่องก็เจ๋งไม่แพ้กัน​ แต่ละชั้นจะถูกสร้างเพื่อให้ดักจับลำแสงอนุภาคชนิดต่างกันออกไป​ Muonจะสามารถทะลุออกไปชั้นนอกสุดได้เพราะไม่Interactกับสสารใดนอกจากสนามแม่เหล็กที่ทำให้มันเกิดการเลี้ยวเบนขึ้นนิดหน่อย​ ในขณะที่ตัวอื่นๆจะตายอยู่ชั้นในๆแล้วแต่ชนิดไป

    อ้อ​ แล้วก็ใต้ดินนี้มีสัญญาณโทรศัพท์เพื่อให้ใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ด้วยนะคะ​ ของSwisscom.. ใช่ค่ะ​ ทั้งที่อยู่ในฝรั่งเศส​ 
    ปกติตามข้อตกลงแล้วSwisscomจะไม่ได้รับอนุญาติให้กระจายสัญญาณในแถบฝรั่งเศส​ แต่Cernได้ทำข้อตกลงไว้​ จึงได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ​ ถ้าหากออกจากเขตเครื่องCMSไปก็จะเป็นสัญญาณของ​Orangeของฝรั่งเศสตามปกติ//แต่เผลอๆสัญญาณใต้ดินอาจจะเร็วกว่าบนดินก็ได้นะคะ555

    ถึงแม้การเยี่ยมชมจะกินเวลานานไปหน่อยจนทำให้ตกรถบัสฟรีรอบสุดท้ายเพื่อกลับโรงแรม​ แต่ไหนๆก็ไหนๆ​ อยู่ร่วมงานเลี้ยงด้วยก็ไม่เสียหาย​ มีเบียร์และไวน์ชั้นดีให้ลองชิมกันฟรี​ๆ​ กินกับกับแกล้มเป็นแฮม​ขนมปังและเลย์ เพลินดีค่ะ​ ไม่ต้องทำกับข้าวเย็น


    เป็นวันที่สนุกอีกวันนึงเลยล่ะค่ะ








เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in