เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
From Cern(เจิ้น) to CernYanisa Sunthornyotin
Day16: ยูนิคอร์นไปATLAS
  • 18 มิถุนายน

    วันนี้อากาศเริ่มร้อนแล้วค่ะ เย้!!!
    หลังจากทนหนาวมาหลายวันกับพายุที่โหมกระหนำ

    หลายคนอาจจะคิดว่าแปลกที่ไม่ชอบอากาศหนาว แต่คืออากาศหนาวตอนฝนตกนี่มันเกินจะทนจริงๆค่ะ 
    พอแดดออก ฟ้าสดใส อากาศตอนนี้ยอดเยี่ยมอย่างที่สุด มีลมเย็นโชยมาเป็นระยะ

    ตอนเช้าเรามุ่งหน้าไปทำงานกันก่อนค่ะ เพื่อแก้บัคที่ค้างจากเมื่อวาน 
    ลองถามSupervisorเรื่องการจัดการไฟล์ในHDFSดู แก้เพียงจุดเดียวก็ผ่านฉลุยทุกอย่างค่ะ
    บางทีก็คิดว่าตัวเองโชคดีมากที่มีSupervisorที่ปรึกษาได้บ่อยๆทุกเรื่องเกี่ยวกับโปรเจค ไม่ต้องเก็บบัคไว้แก้เองให้เสียเวลา ถามคนที่มีประสบการณ์ ประหยัดเวลาไปได้เยอะมาก แถมยังลดความหัวร้อนด้วยค่ะ

    เราเปลี่ยนมาใช้Path HDFSอีกPathที่ไม่ติดโควต้าเพื่อเก็บDataที่group subjectไว้แล้วด้วยกัน (บัคเป็นที่Checkpointของhdfsล้วนๆเลย กระทบยันkafkaด้วย) แล้วก็เวลา -rm ลบไฟล์ของเรา ต้องเติม -r เข้าไปด้วย ถึงจะลบออก 

    หลังจากนั้นก็Productiveยาวๆเลยค่ะ publish filter alert ไปKafka(ชื่อtopicเห็นsupervisorบอกอาจจะเปลี่ยนอีกรอบ) เก็บลงHDFSแบบparquet แล้วconsumeจากHDFSมายังอีกไฟล์ที่เตรียมไว้รอทำMachine learning ภายในครึ่งวัน! อมก เวลาจะเร็วก็เร็วยิ่งนัก แต่เดี๋ยวเราต้องMigrateเปลี่ยนSchemaกันใหม่นิดหน่อยค่ะ กับตัวRequirementที่ลดเหลือเพียงDetectระยะเวลาที่เว้นห่างกับFrequencyของแต่ละ service user กับ host supervisorบอกว่าอยากจะให้เขียนแยกเป็นFunctionไว้ ทำให้มันเป็นDynamic เปลี่ยนได้ง่ายๆ เผื่อว่าในอนาคตจะเปลี่ยนตัวSchemaกับparameterอีก

    อย่างไรก็ตาม เราจะเก็บไว้ทำพรุ่งนี้ เพราะตอนบ่ายเราต้องไปเยี่ยมชมเครื่องเร่งอนุภาคอันแรกของCERNกันค่ะ!

    และนี่ก็คือSynchrocyclotron เครื่องเร่งอนุภาคอันแรกของCERNค่ะ สร้างมาแล้วนานมากก ภายในที่จัดแสดงมีนิทรรศการณ์ประวัติศาสตร์ของCERNอยู่

    แรกเริ่มเดิมทีนั้น หลังจากผ่านWW2 งานวิจัยด้านฟิสิกส์ของยุโรปได้ถดถอยลงมาก นักวิจัยย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อเมริกากันเสียส่วนใหญ่ เพื่อยับยั้งการเสื่อมถอยของการวิจัยด้านฟิสิกส์ CERN จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อปี ค.ศ.1954 (officially) และเครื่องเร่งนี้ก็ได้ถูกสร้างในอีก3ปีถัดมา

    มีขดลวดgenerateแม่เหล็กขนาด2Tesla เพื่อสร้างการทดลองเร่งอนุภาคProtonให้เกิดการCollisionและสังเกตุการณ์พฤติกรรมของอนุภาคนับแต่นั้นเอง เครื่องเร่งตัวใหม่ก็ค่อยๆถูกสร้างให้ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเป็นตัวLHCและFCC(ตัวใหม่ล่าสุด ยิ่งใหญ่ไฉไลกว่าเดิม)

    เสร็จแล้วเราก็ไปที่ATLASกันต่อค่ะ อยู่ด้านหลังของGlobe of scienceใกล้ป้ายรถบัส 
    ตัวนี้เราไม่ได้ลงไปดูเครื่องจริงข้างล่างแม้ว่าจะไม่ได้ยิงBeamช่วงนี้ก็ตาม แต่เราก็มีวิดิทัศน์ให้ดูคร่าวๆว่าATLASหน้าตาเป็นอย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง และเค้าทำอะไรกันกับเครื่องDetectorอันนี้ ไปเยี่ยมชมห้องMonitorซึ่งมีการเปลี่ยนกะกันดูตลอดเวลา น่าสนใจอยู่พอสมควรเลยค่ะ

    หลังจากจบการเยี่ยมชมก็มุ่งหน้ากลับโรงแรมSt.Genisเพราะรถบัสฟรีมาถึงพอดี เห็นว่ากลับถึงโรงแรมเร็ว เลยจัดอาหารไทยเสียหน่อย หุงข้าวด้วยหม้อหุงที่เตรียมมา อุ่นกระเพราะซองที่เตรียมมา ต้มเครื่องแกงเขียวหวาน(ที่เตรียมมา อีกแล้ว)กับไก่และผัก เป็นเซตอาหารไทยที่น่าคิดถึงยิ่งนัก เลยพาลทำให้อยากกินข้าวผัดวันพรุ่งนี้ไปด้วยเลยค่ะ

    ...ว่าไปแล้ว ก็ผิดกับเมนูไก่ทอดของCERNวันนี้ยิ่งนัก 
    เค้าว่ากันว่าเป็นเมนูชื่อ THAI CHICKEN STICKค่ะ แต่...ก็ยังไม่ใช่อยู่ดีค่ะ กระดูกไก่ไทยแท้ต้องแห้งๆกรังๆหน่อย อันนี้มันอ้วนท้วมเกินไป5555
    ปล.summer studentสามารถใช้คูปองส่วนลดค่าอาหารได้แล้วนะคะ(แต่ใช้กับขนมไม่ได้เด้อ) จาก8.5CHFลดเหลือ7.6CHFค่ะ


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in