เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
From Cern(เจิ้น) to CernYanisa Sunthornyotin
Day18: ยูนิคอร์นฟังภาษาคนรู้เรื่องแล้วว
  • 20 มิถุนายน

    โห นี่วันที่20แล้วเหรอคะ ...ทำไมเร็วจัง
    ปกติคนที่จากบ้านมานานๆ ปกติก็คงจะนับถอยหลังรอวันที่จะได้กลับใช่มั้ยคะ

    ...ตอนนี้คือแอบอยากให้อยู่ต่อได้อีกนานๆแล้วค่ะ...
    ชอบอยู่ต่างประเทศเหรอ?
    เปล่า แค่ยังทำโปรเจคไม่เสร็จ
    5555555

    อาทิตย์นี้เมื่อมานับๆดูแล้ว ความProductiveยังมีอยู่ค่ะ แต่ไม่สูงเท่าที่คิด เพราะว่าWorkshopของอาทิตย์นี้ช่างมากมายเหลือเกิน และแต่ละWorkshopก็ตัดใจไม่เข้าไม่ลง อย่างCMSมันก็เป็นอะไรที่ It's a MUST ใช่มั้ยล่ะคะ

    วันนี้ย่างเข้าวันที่2ของCMS Induction courseค่ะ หลังจากที่เมื่อวานฟังไม่ออกถึงขั้นหลับใน เอ้ย เอางานขึ้นมาทำพลางๆในห้อง วันนี้ในที่สุด...มิ่งก็ฟังเค้ารู้เรื่องแล้วค่าาาา

    Workshopวันนี้ประกอบด้วยหัวข้อ Data taking, 1st level trigger online software และ Offline preparation and computing(ของอาจารย์พัดนั้นเอง)

    ในหัวข้อของData takingจะเริ่มกล่าวถึงOverviewของระบบfilter dataของเครื่องCMSค่ะ เพราะว่าการชนหนึ่งทีนั้น ข้อมูลจำนวนมหาศาลจะถูกเก็บโดยเซนเซอร์จำนวนมาก จนผลิตข้อมูลออกมาเยอะเกินกว่าที่คนเราจะสามารถมานั่งวิเคราะห์ทุกอันได้ ยิ่งพอCMSชนกันแบบ40ล้านครั้งต่อวินาทีอย่างงี้ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ข้อมูลหลายอันในนั้นเป็นข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันบ้างก็มี หรือเป็นEventที่ไม่ได้Rare หาพบเจอได้ทั่วไป 

    ทีนี้ เราจะทำยังไงให้ข้อมูลพวกนั้นลดลง แล้วเอาแต่ที่เราสนใจล่ะ?

    นี่คือสิ่งที่ ระบบ Data taking กำลังทำอยู่

    ยิ่งเรารู้ว่าข้อมูลนี่หายากหรือไม่เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี เพราะมันจะทำให้เครื่องสามารถรับข้อมูลชุดต่อไปมาวิเคราะห์ได้เร็วขึ้น

    ระบบData taking ประกอบด้วย2จะมีอยู่สองส่วนหลักองค์ประกอบ หนึ่งคือ 2 level filter state(trigger) กับ DAQ (Data acquisition system) 
    ส่วนของ Trigger นั้นจะประกอบด้วย 2 tierค่ะ
    ชั้นแรก คือ L1T (Level 1 trigger)  ชั้นที่สองคือ HLT (High level trigger)

    ความแตกต่างก็คือ L1TจะมีlimitของการรับDataเข้ามาอยู่ เพราะต้องขึ้นอยู่กับฝั่งfrontendที่เป็นsensorด้วย 
    ในขณะที่HLTที่จะไม่มีlimitaion ขึ้นอยู่กับStorageเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    L1T จะประกอบด้วยหลายส่วนค่ะ ทั้งส่วนที่triggerตัวMuon ตัวCalorimeter ไปจนถึงGlobal trigger

    Algorithmที่ใช้ก็มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่Brute forceไปจนถึงการใช้Threshold บางทีก็เอามาใช้ร่วมกันค่ะ

    ต่อมาจะโฟกัสไปในเรื่องของ L1T Online software อันนี้ก็น่าสนใจค่ะ มีการอัพเดตให้ฟังว่าระหว่างการปิดปรับปรุงสองปีนี้เค้าจะทำอะไรกันบ้างแบบคร่าวๆ และระบบเดิมที่เคยใช้อยู่เป็นอย่างไร CERN ใช้softwareทีมีชื่อว่าSWATCHในการmonitorsหลายๆอย่าง เขียนโดยC++กันเป็นซะส่วนใหญ่ BackendของตัวPlatformนี้ใช้Nodejs หน้าบ้านเป็นTypescriptและVue.js //ตอนที่ได้ยินมิ่งแทบจะกรีดร้อง เป็นพวกชอบภาษาTypesrciptมากค่ะ ชอบการที่มันมีtype 

    ในSlideมีเรื่องของDevOpsเข้ามาเกี่ยวข้องนิดหน่อย แต่วิทยากรไม่ได้อธิบายละเอียด จึงได้เมลไปถามอีกรอบค่ะ 

    ถามไป5 บรรทัด ...ตอบมา3ย่อหน้า...

    เจ๋งมากค่ะ 
    เนื้อหาในเมลกล่าวถึงว่า ทางทีมของเค้าก็กำลังจะMigrateมาใช้stackที่มันgolbal standardมากขึ้น เพราะระบบเดิมที่มีอยู่นี้มันก็มีมาก่อนที่คำว่า'DevOps'จะบูมเสียอีก ทางวิทยากรได้ลิสต์ชื่อของโปรเจคที่เค้ากำลังดูแลอยู่มาให้ มิ่งเห็นแล้วตาลุกวาวมากค่ะ คือมันน่าสนใจสุดๆในแง่ของงานDevOps เพราะคุณไม่ได้แค่จะDeployเว็บอย่างเดียว คุณต้องดูแลการOrchestrationบนCMS Hardwareด้วย(ARMก็มา)

    เดิมทีภาคที่มิ่งเรียนอยู่ เนื้อหานั้นเข้าล็อคกับสายงานDevOpsพอดีอยู่แล้ว การที่จะมาimplementบนhardware คุณต้องมีความรู้ด้านElectronicsเพิ่มขึ้นมาอีกด้าน
    น่าท้าทายมากค่ะ ถ้าไม่ติดว่ามีโปรเจคที่ต้องทำอยู่แล้ว ก็คงจะลองไปฝึกงานกับทีมเค้าดูแน่ๆ

    เป็นWorkshopที่ดีอีกอันค่ะ รู้สึกมีความสุขที่ฟังวิทยากรพูดรู้เรื่องหลังจากฟังภาษาอังกฤษเวอร์ชั่นฟิสิกส์มานาน

    ตอนบ่ายบางส่วนได้แยกไปดูLabฝั่งprevessinแต่มิ่งขออนุญาติไปปั่นงานก่อนซักครึ่งวัน 
    +ไปลองยืมหนังสือที่ห้องสมุดมาด้วยค่ะ ยืมได้1เดือน ตอนนี้ยืมเรื่องPicturing quantum processมา พอดีอยากศึกษาด้านQuantum computingอยู่เหมือนกัน ถ้ายังไงว่างๆก็ว่าจะหยิบขึ้นมาอ่านเล่นดู


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in