ก่อนอื่น เรามาลองเปรียบเทียบการใช้ภาษาในประโยคเล่าเรื่องของคนต่างชาติกับคนญี่ปุ่นกันก่อนนะคะ
ประโยคของคนต่างชาติ: 親は怒った。そして、子供をしかった。
ประโยคของคนญี่ปุ่น: 怒った親は子供をしかった。
จะสังเกตได้ว่าคนญี่ปุ่นจะรวบประโยคไปเลย ไม่แยกทีละประโยคแบบคนต่างชาติ
สิ่งนี้ก็คือการใช้ 連体修飾節 คือคำขยายคำหลัก/คำขยายคำนามนั่นเองค่ะ
เป็นไวยากรณ์ของการเล่าเรื่องอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่า 談話展開型連体節 ค่ะ
ลักษณะเฉพาะของ 談話展開型連体修飾節 คือ
ลองมาดูรูปนี่แล้วลองคิดดูกันค่ะว่าเราจะเล่าว่ายังไง
อันนี้เป็นการถอดเสียงจากสิ่งที่เราพูดตอนที่เล่าให้เพื่อนฟังค่ะ อันนี้ไม่มีเวลาให้นั่งคิดบทเลยอาจจะสั้น ๆ หน่อยค่ะ (⸝⸝- -⸝⸝ ;)
赤ちゃんは犬の背中に乗ろうと思って、寝ている犬にハイハイして近づいて行きました。それで、えー、犬が起きました。えー、赤ちゃんは犬に顔合わせました、犬の背中に乗れませんでした。えー、赤ちゃんは犬の尻尾を探して、他の方向にハイハイしました。しかし、他の方向にはいはいしても、えー、犬の尻尾ではなく、また犬に顔合わせてしまいました。
ส่วนอันนี้เป็นแบบแก้ที่เราดูตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นหลาย ๆ คนที่เล่าเรื่องนี้กัน แล้วเอามาปรับใช้อีกทีค่ะ
ある日、赤ちゃんは、犬の背に乗りたいと思って、寝ている犬にハイハイして近づきました。しかし、赤ちゃんが犬の目の前までやってくると、犬が目を覚ましてしまって、顔を合わせてしまった。赤ちゃんはビックリしました。赤ちゃんは犬の背に乗るには犬の尻尾の方から乗らないといけないと思って、犬の尻尾の方にハイハイしています。ところが、赤ちゃんがハイハイしている間に犬は寝ている向きを変えてしまいました。結局、赤ちゃんはまた犬と顔を合わせてしまって、犬の背に乗れませんでした。
เทคนิคการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น
- ใช้ 談話展開型連体節 ถ้าใช้ได้
- ใช้รูป 〜てしまう เพื่อให้ได้อารมณ์มากขึ้น
- ตอนช่วง climax ของเรื่องให้เล่าช้า ๆ ชัด ๆ
- ตอนจบต้องเล่าให้ดี ไม่ตัดจบแบบงง ๆ
- ตอนท้ายอาจใส่ความคิดเห็นของตัวเองลงไปก็ได้
- สามารถเล่าแบบบอกความคิดของตัวละครได้ วิธีนี้ช่วยเพิ่มความสนุกและทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย
จบแล้วค่ะสำหรับภาษาญี่ปุ่นกับการเล่าเรื่อง หวังว่าจะได้ประโยชน์จากบล็อคนี้กันนะคะ ลองเอาเทคนิคการเล่าเรื่องไปใช้กันดูนะคะ><
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in