เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
(Review) อวย Awakenmeijiww
Awaken กับเกร็ดความรู้จิตวิทยา : Misdirection การเบี่ยงเบนความสนใจ
  • ใน Awaken EP1 ฉากที่จางจีวานได้ขอทำหน้าตรวจสอบภาพจาก CCTV แต่รุ่นพี่ไม่ยอมให้ทำ จึงบอกว่าตัวเองมั่นใจในความ ‘ตาไว’ มาก รับหน้าที่นี้ได้ดีแน่นอน เหล่ารุ่นพี่จึงทดสอบคุณสมบัติการทำหน้าที่ตรวจสอบภาพจาก CCTV ด้วยเกมหาไพ่ แต่บททดสอบจริงๆ แล้วกลับไม่ใช่การหาไพ่ด้วยการใช้ความตาไวอย่างที่จีวานคิด แต่เป็นบททดสอบการสังเกต ที่ผู้ตรวจสอบภาพจาก CCTV จะต้องมีเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงจาก CCTV ได้โดยไม่ไขว้เขวความสนใจไปจากข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน

    เมื่อเกมจบลง โดจองอูได้กล่าวถึงเทคนิค Misdirection หรือการเบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อตั้งใจแน่วแน่ว่าต้องหาอะไรให้เจอ ก็จะไม่ทันสังเกตสิ่งอื่น

    เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจ (Misdirection) และการทำให้ไขว้เขว (Distraction) 
    เป็นเทคนิคที่เราคุ้นเคยในการแสดงมายากล นักมายากลมักจะใช้วิธีนี้เบี่ยงเบนความสนใจของผู้คนจากสิ่งที่ไม่ต้องการให้เห็น ดึงดูดความสนใจให้มองไปยังจุดที่ต้องการ เช่น เบียงเบนความสนใจจากมือซ้ายที่ซ่อนอะไรบางอย่างไว้ แล้วดึงความสนใจให้ผู้ชมสนใจไปยังมือขวา
    นอกจากในมายากลแล้วก็ยังเห็นได้บ่อยๆ ในการใช้กับเด็ก เช่น การหลอกล่อป้อนยาเด็ก ให้เด็กสนใจของเล่นแล้วจึงป้อนยาให้เด็กทาน หรือเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อลดความเจ็บปวด เช่น การพูดคุยกับพยาบาลระหว่างฉีดยา คนไข้จะสนใจความเจ็บปวดน้อยลง จึงรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าการฉีดยาตามปกติ

    ตัวอย่างการใช้การเบียงเบนความสนใจกับเด็ก

    การเบี่ยงเบนความสนใจจัดอยู่ในหมวดจิตวิทยาการรับรู้ การรับรู้ (Perception) คือการรับข้อมูลจากประสาทสัมผัสทั้งห้า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แต่การรับรู้ของเรานั้นประกอบด้วยข้อมูลมหาศาล การมีอยู่ของสิ่งของ กลิ่นต่างๆ เสียงต่างๆมากมาย สมองเราจึงต้องเลือกในการรับรู้เฉพาะสิ่งที่มีความสนใจ (attention) และจะสามารถรู้ถึงการมีอยู่ (aware) ในทางกลับกัน ถึงแม้ว่าจะรับรู้ แต่ถ้าหากไม่สนใจ ก็จะไม่สามารถรู้ถึงการมีอยู่ได้ นอกจากนี้ ความสนใจ (attention) ยังมีผลต่อการจดจำด้วย

    แผนผังความสนใจของ Posner (Posner’s Attention Model)
    กล่าวถึงการแยกขั้นตอนของสมองเป็น 3 ระบบ อันแรกคือระบบการแจ้งเตือนหรือกระตุ้น ในระยะแรกจะคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม เมื่อตรวจสอบพบบางสิ่งที่ไม่ปกติ หรือผิดไปจากความคุ้นชิน ในระยะที่สองจะแจ้งเตือนไปยังสมองและให้ความสนใจกับสิ่งนั้น หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบ 2 คือระบบการปรับประสาทสัมผัส เราจะตั้งใจรับรู้สิ่งผิดปกตินั้น สายตาโฟกัสสิ่งนั้นมากขึ้น หูพยายามรับรู้ถึงเสียงนั้นมากขึ้น และระบบสุดท้าย ระบบตอบสนอง เราจะตัดสินใจกับสิ่งเร้าตรงหน้าอย่างไร หนี เข้าหา ตอบรับ หรือไม่ทำอะไรเลย


    ด้วยเหตุนี้การสนใจ (attention) ของคนเราจึงอยู่ท่ามกลางข้อมูลปริมาณมหาศาลนั่งเอง การ Misdirection จึงเป็นการสร้างความสนใจ (attention) เพื่อเบี่ยงเบนไปยังสิ่งเร้าที่ต้องการ เป็นการสร้างอิทธิพลต่อการรับรู้

    มีวีดีโอสนุกๆ จากคลิป Ted talk ที่พูดถึงการเบี่ยงเบนความสนใจ และมีตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับซีนไพ่ใน Awaken ลองไปดูกันได้ค่ะ


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in