เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ในหนึ่งวันrain_blablobly
การได้พบเจอคนที่รู้ดีและคนที่รู้ไม่จริง
  • เมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้เข้าใจและแยกคน 2 ประเภทออกได้อย่างชัดเจน
    จากที่ก็เคยได้ยินมาโดยปกติแต่ก็ไม่ได้ทำความเข้าใจกับคน 2 ประเภทนี้นัก
    คนที่รู้ดีและคนที่รู้ไม่จริง

    คนที่รู้ดี 
    บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินคำนี้ในบริบทการเสียดสี เช่น รู้ดีนะ ทำเป็นรู้ดี 
    เป็นในลักษณะที่คนฟังไม่ได้ยอมรับในความรู้ดีหรือการรู้ดีของอีกคนมากนัก
    ในกรณีของเรา เรายอมรับในความรู้ดีของคนประเภทนี้นะ จากที่พบมา
    เขาค่อนข้างรู้เกือบทุกอย่าง ถามอะไรก็จะตอบได้ หลักการ ระเบียบนานา
    และช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาด้านข้อมูลได้ดีด้วย ถ้าเรามีคำถามหรือสงสัย
    แต่คนที่รู้ดีที่เราเจอนี้ก็ต้องออกตัวว่า เราก็เห็นอีกด้านหนึ่งที่คนประเภทนี้แสดงออกมา
    นั่นคือ 
    1. พฤติกรรมแฝงของการบลัฟคนอื่นในบทสนทนานั้น ทั้งอาจรู้ตัวและไม่รู้ตัว 
    บางครั้งการบลัฟก็เป็นการแสดงออกถึงความรู้(ดี) ได้มากพอสมควร 
    2. เมื่อรู้ดีและรู้มาก ในบางเหตุการณ์บางเรื่อง คนประเภทนี้ก็จะกั๊กข้อมูล 
    กั๊กผลประโยชน์ต่อตนเองเป็นที่ตั้งไว้ก่อน ในขณะเดียวกํนก็ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
    3. เขามักจะบอกว่าเขาเป็นคนตรงๆ แต่บางครั้งเรามองว่า เขามีศิลปะในการพูดน้อย

    ซึ่งก็ไม่ได้ติดใจอะไร เราเรียนรู้ในแบบที่เขาเป็นนั่นแหละ ไม่ได้ต้องปรับตัวอะไร
    ไม่ได้ต้องปรับทัศนคติของตัวเองเพื่อให้รู้สึกสบายใจอะไร เพราะเรายอมรับตั้งแต่ต้นแล้ว
    ว่าคนเราไม่เหมือนกัน ไม่มีใครดีได้ 100% แม้แต่ 100% ก็ใช่ว่าจะไม่มีจุดทศนิยม
    โลกเราก็แบบนี้ เพื่อให้เราได้เรียนรู้ นั่นเพราะ เราเคยเห็นคนที่ทั้งรู้ดี รู้จริง ที่แท้จริงมาก่อนแล้ว

    คนที่รู้ไม่จริง
    คนประเภทนี้ จากเคสที่เราพบ เขามักจะถามคนอื่นๆ ที่เป็นผู้รู้มากกว่า ถามเกือบทุกเรื่อง
    บางครั้งก็มองว่า การถามในทุกเรื่องของเขานั้น มันคือเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนก็ควรรู้อยู่แล้ว
    ที่ถามนั้นเพราะไม่รู้หรือไม่เคยทำการศึกษาหรือทำความเข้าใจมันก่อน 
    ดังนั้น คนประเภทนี้ก็สะท้อนอีกด้านออกมาเช่นกัน 
    นั่นคือ
    1. ถามเพื่อให้คนอื่นเห็นว่าเป็นผู้แสวงหาความรู้ตลอดเวลา ใช่หรือไม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเบื้องต้นแต่คุณก็ไม่ได้เรียนรู้มันก่อน สำหรับเรา เรามองบน
    2. ถามเพื่อสร้างคอนเน็คชั่น เราไม่ปฏิเสธเรื่องการมีคอนเน็คชั่นที่ดีและกว้างขวาง แต่ก็อย่างว่า
    การกว้างขวางที่แฝงข้อ 1 มา มันดูเป็นวิธีการไม่สมาร์ทเลยสำหรับเรา เพราะมันไม่ได้แสดงวิธีการอย่างชาญฉลาดออกมา แต่กลับตรงกันข้าม
    3. คนประเภทนี้มักจะพูดเก่ง อ้างอิงคนใหญ่คนโตว่าตนรู้จัก รู้จักดี เป็นต้น

    ซึ่งคนที่รู้ไม่จริงนี้ ทำให้เราไม่อินเลย ออกไปทางรำคานด้วยซ้ำ ที่ต้องฟังว่าเขารู้จักใครบ้าง
    นี่ก็ไม่เคยถามว่า แล้วเขารู้จักคุณดีด้วยมั้ยค่ะ ถ้ารู้จริง คำถามที่ไม่น่าถาม มันไม่น่าจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ
    แต่เพราะรู้ไม่จริง การถามผู้รู้กว่า ก็อาจเป็นวิธีการของเขาอย่างหนึ่ง แต่ก็แฝงอย่างอื่นด้วย

    สรุป
    เราอยู่ท่ามกลางอากาศร้อน การได้พบเจอคนทั้งสองแบบทำให้เราพิจารณาจุดยืนตัวเองมากขึ้น
    เราจำเป็นต้องรับรู้ รับฟังจากคนทั้งสองประเภท แต่ก็ต้องใช้วิจารณญาณ การวิเคราะห์สูงด้วย
    เราต้องยึดในหลักการที่สมเหตุ สมผล สมดุล ไม่ใช่ยึดตามใครสักคนที่ไม่ใช่ทิศทางของตัวเอง

    สิ่งนี้ทำให้เราเรียนรู้ประเภทของคนในสภาพแวดล้อมใหม่ มากขึ้น 
    การเติบโตของคนไม่มีวันสิ้นสุด เราอยู่บนโลกนี้ ได้ดำเนินชีวิต
    ก็เพื่อให้เรียนรู้ชีวิตใช่หรือไม่ ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ แม้แต่ตัวเราเอง

    ความสมดุลจึงสำคัญ
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in