วันนี้พบกันอีกครั้งที่มิวเซียมสยาม เคยมาครั้งนึงตอนม.1 สมัยยังเรียนอยู่สวนกุหลาบ อาจารย์สั่งให้มาทำงานอะไรสักอย่างได้มาอีกครั้งก็ตอนปีสองตอนที่เขาปรับปรุงเปลี่ยนงานอะไรใหม่แล้วตอนนั้นมาดูงานในวิชาเอก วันนี้งานยังคงเป็นงานเดิมเห็นว่านิทรรศการกลางเป็นนิทรรศการกึ่งถาวร ไม่รู้ว่ากว่าจะเปลี่ยนงานใหม่จะเป็นเมื่อไหร่
ในแต่ละห้องจะมีป้ายอธิบาย Concept ของห้องที่ติดไว้อยู่ในห้องนั้นๆ ซึ่งตรงนี้ดีมาก การอ่านป้ายนี้ก่อนทำให้เก็ท Concept ของทั้งห้อง+ รู้ว่าจะมีลูกเล่นอะไรบ้าง ทำให้เราได้รับประสบการณ์ของห้องนั้น ๆได้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตามนี่เป็นห้องที่สอง ชื่อห้องไทยแปลไทยห้องแรกไม่ค่อยมีอะไรมากแค่ตั้งคำถามกับความเป็นไทย เราชอบห้องนี้ที่ลูกเล่นเยอะและเนื้อหากว้างมากกตั้งแต่หม้อบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นิยามความเป็นไทยที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย(ขอมดำดิน) ผ่านยุคอยุธยา ความเป็นรัตนโกสินทร์ (ที่ยังยึดโยงกับกษัตริย์)จนมาถึงปัจจุบันที่มีเทคโยโลยีและ pop culture ของไทยเองเข้ามาเยอะมากขึ้น
ที่ห้องนี้จะมีรายละเอียดให้อ่านเยอะมากเพราะไม่ใช่จะมีแค่ของที่เราเห็นว่าอยู่ในแต่ละช่องเท่านั้น แต่ตามลิ้นชักต่าง ๆ สามารถเปิดเข้าไปดูสิ่งของเพิ่มเติมได้
ห้องนี้จะเป็นห้องที่แตกต่างจากห้องอื่นๆ มากที่สุด เพราะในห้องอื่น ๆนั้นเราจะสามารถเดินชมและอ่านด้วยตัวเองได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องรออะไร แต่ในห้องนี้เราจะต้องรอให้ทางเจ้าหน้าที่เปิดระบบการนำเสนอขึ้นมาก่อนโดยเค้าจะเปิดเป็นรอบ ๆ แต่จากที่มาสองรอบล่าสุดเจ้าหน้าที่ก็จะมาเปิดให้เลยไม่ต้องรอ เพราะมากับทางอาจารย์ที่ติดต่อไว้แล้ว
รูปแบบการนำเสนอนั้นจะเป็นการเล่าเรื่องลำดับและพัฒนาการของความเป็นไทยตั้งแต่ในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านแสง สี เสียง และกล่องโมเดลจำลองที่ซ่อนอยู่ในโต๊ะขนาดใหญ่บริเวณกลางห้องโดยกล่องโมเดลเหล่านี้จะโผล่ขึ้นลงตามเนื้อหาที่กำลังเล่าอยู่ในขณะนั้นคนดูก็ยืนดูเพลิน ๆ
ห้องนี้จะเป็นการรวบรวมเครื่องแต่งกายต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับไทยไว้ ตั้งแต่แบบที่เกี่ยวกับไทยมากจนถึงแบบที่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและรูปแบบนิสัยของคนไทยสมัยใหม่
ห้องที่ 7 ห้อง ThaiOnly เป็นห้องที่เราชอบที่สุดแต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ในห้องจะพูดถึงภูมิปัญญาแบบไทย ๆ ในความเป็นอยู่ของยุคปัจจุบัน เช่นโอเลี้ยงใส่ถุงผูกหนังสติ๊ก ป้ายมือใหม่หัดขับ การใช้ซีดีสะท้อนแสงเป็นห้องที่แฝงไปด้วยอารมณ์ขันแต่ก็มีการแก้ปัญหาแบบไทย ๆ ผสมอยู่
ห้องที่13 ห้องไทยประเพณี พูดถึงประเพณีวัฒนธรรมไทย เปิดกล่องเล่นได้
ห้องเนื้อหาก็จะจบที่13 ห้อง พบว่าเราเหนื่อยมาก คือถ้ามาที่นี่ นิทรรศการถาวรตรงนี้รายละเอียดเยอะมากก อ่านครบทุกชิ้นทุกห้องคงได้อะไรกลับไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ปัญหาที่รายละเอียดเยอะก็ทำให้เราเหนื่อยจนห้องหลังๆ อาจจะไม่มีอารมณ์อ่านแล้ว อย่างเราพอห้อง 12-13 นี่ได้แค่เดินดูอย่างเดียวแล้วถ้ามีเวลามากกว่านี้อาจจะได้อ่านเต็มที่ แต่นี่เพราะต้องแข่งกับเวลาด้วยส่วนหนึ่ง
สุดท้ายคือห้องที่14 เป็นห้องที่ให้เปลี่ยนชุดถ่ายรูปได้ ถึงตรงนี้ก็ไม่ได้มีเนื้อหาอะไรให้อ่านแล้วถ่ายรูปสนุก ๆ
ยัง
ในนี้แบ่งเป็น 6 โซน ได้แก่
โซนที่ 1 มีอะไรในแผนที่บอกเล่าเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของย่านการค้าแห่งนี้นับตั้งแต่ถนนเจริญกรุงตัดขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4ความเปลี่ยนแปลงของเมืองบางกอกที่เชื่อมโยงถนนสายต่าง ๆ
โซนที่
โซนที่ 4 มหรสพฝรั่งโรงหนังนำสมัย เรื่องราวของรูปแบบความบันเทิงจากตะวันตกที่เข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตของชาวพระนคร ให้เรียนรู้เรื่องฝรั่งและความเป็นไปของโลกผ่านภาพยนตร์โซนนี้เป็นโซนที่ฟังแล้วทำให้เราอยากกลับไปอยู่ในยุคนั้นอยากจะมีโอกาสได้ดูหนังแบบ Standalone
เราเคยฟังสัมภาษณ์ของคุณธิดาเจ้าของDocumentaryClub มาว่าเมื่อก่อนโรงหนังเยอะมาก และไม่มีการเอาหนังเข้ามาแบบ Blockbusterล้วน ๆ แบบตอนนี้คือโรงหนังแต่ละโรงก็จะเลือกหนังที่ตัวเองสนใจเข้ามาโรงนี้เจ้าของอาจจะหนักไปที่หนังอินเดีย โรงนี้อาจจะเป็นหนังฝรั่ง อาจจะดังหรือไม่ดังก็ว่าไปตามกำลังทรัพย์ในการซื้อลิขสิทธิ์ด้วยโรงนี้อาจจะชอบหนังญี่ปุ่น และโรงหนังก็ไม่ได้อยู่ในห้างแบบปัจจุบันบรรยากาศในโรงก็ไม่จำเป็นต้องเงียบกริบขนาดนี้
ปัจจุบันโรงหนังเหมือนกลายเป็นสถานที่ประกอบพิธีธรรมอะไรสักอย่างทุกคนต้องเข้าไปนั่งเงียบ ๆ เป็นเวลาสองชั่วโมง ซึ่งในส่วนนี้เราก็เข้าใจได้นะเพื่อออรถรสในการดูหนัง แต่เราก็อยากรู้ว่าสมัยก่อนนั้นเป็นอย่างไรคนดูหนังสมัยนี้มีแต่วัยรุ่นหนุ่มสาว คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ไม่ค่อยมาดูหนังกันแล้วไม่เหมือนเมื่อก่อน อาจเพราะตอนนั้นการไปดูหนังเรื่องหนึ่งมันง่ายกว่ามีพิธีรีตองอะไรน้อยกว่าตอนนี้กระมัง
โซนที่ 5 หมอยาฝรั่งห้างบีกริม บอกเล่าเรื่องราวของห้างสุดยิ่งใหญ่ ที่ตั้งอยู่ตรงหัวมุมย่านประตูสามยอดภายใต้การดูแลหมอยาฝรั่ง
โซนที่ 6 ห้างสรรพสินค้าพ่อค้านานาชาติ จุดเริ่มต้นของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นราวปลายรัชกาลที่
อันนี้ใกล้ตัวเราที่สุดเพราะห้างขายเสื้อตอนนี้ก็ยังอยู่มันคือห้างอินเดียเอมโพเรียม สมัยเรียนก็ไปเดินอยู่หลายครั้ง ข้างในมีท็อปส์เลยเข้าไปซื้อของ5555555 แต่สองข้างทางที่เดินในห้างก็จะเป็นร้านขายผ้าตลอดแทบทั้งห้างเลยล่าสุดมีห้างขายผ้าอีกห้างมาเปิดตรงข้างโรงเรียนสวนกุหลาบด้วยและถ้าพูดถึงสังคมอินเดียนี่โซนพาหุรัดก็ชนะเลิศอยู่แล้ว เราไปกินอาหารอินเดียจะเดินก็ต้องผ่านร้านขายผ้า ร้านอาหาร ร้านเครื่องเทศอยู่ประจำ
กว่าจะดูเสร็จทั้งนิทรรสการหลักและนิทรรศการหมุนเวียนก็เหนื่อยมากจำได้ว่าคราวก่อนที่มาไม่ได้ดูนิทรรศการหมุนเวียนด้วยก็โชคดีที่คราวนี้ได้มาดูและเป็นเรื่องที่ Related มาก
สุดท้ายการทำนิทรรศการอาจจะต้องคำนึงถึงความพอดีและการรับสารของคนที่เข้ามาดูด้วย ถ้าเกิดเป็นงานศิลป์อาจไม่ใช้พลังเยอะขนาดนี้ แต่พอเป็นงานที่มีเนื้อหาเยอะ ๆ แล้ว การตะลุยดูและเก็บเนื้อหาให้หมดนี่อาจจะ Overwhelm เกินไปสำหรับคนบางคน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in