เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Curatorial Journalnotnutdanai
Museum of Modern Art
  • ในโอกาสโควิด-19 ก็เลยต้องเรียนออนไลน์ อาจารย์ assign ให้ไปดูมิวเซียมแบบ VR เอา ทีนี้ที่แรกที่นึกถึงเลยคิด Louvre แต่เข้าไปดูแล้วดูยากมาก ที่ต่อมาคือ MOMA เนี่ยแหละ อยากไปมานานแล้ว ยิ่งล่าสุดได้อ่านเมืองมุมฉาก หนังสือของปราบดาที่มีแบ็คกราวน์เป็นนิวยอร์ค แล้วก็มีพูดถึง MOMA เลยทำให้เรายิ่งอยากไป และสุดท้ายก็ต้องมาดูออนไลน์เอา 5555555

    ประจวบกับได้เรียนคลาสออนไลน์ของ MoMA เรื่อง Modern Art & Ideas ก็เลยอยากจะมาเล่าประสบการณ์การชมงานและเนื้อหาที่เรียนไปให้ฟัง

    เริ่มที่สัปดาห์ที่สองของการเรียน online course ของ courseraโดยสัปดาห์แรกเป็นอินโทรสั้น ๆและสัปดาห์ที่สองนี้เป็นประเด็น Places & Spaces

    Vincent van Gogh. The Starry Night. 1889

    ภาพ Starry night ของVan Goh ที่ทุกคนน่าจะรู้จักดี หรืออย่างน้อยก็เคยเห็นเป็นภาพหนึ่งที่ผมชอบมากเนื่องด้วย movement ของภาพที่ดูเคลื่อนไหว

    Van Goh เป็นศิลปินที่ผมชอบมานานแล้วแต่ไม่เคยรู้ประวัติจริง ๆ ของเขาส่วนหนึ่งที่ชอบเพราะเขาเป็นศิลปินที่ดังอยู่แล้วด้วยเมื่อสองปีที่แล้วมีโอกาสได้ดูหนังเรื่อง Loving Vincent จึงได้ทราบว่าVon Goh มีปัญหาทางจิต (ก่อนหน้าที่พอจะทราบแค่คร่าว ๆแต่ไม่เคยรู้ลึก) ภาพนี้เป็นภาพที่ Vincent วาดจากห้องที่เขาพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลSaint-Paul asylum ทางตอนใต้ของฝรั่งเศาเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า โดยการสังเกตLandscape รอบ ๆ เมือง และจินตนาการถึงสถานที่ที่อยู่ในความทรงจำของเขายกตัวอย่างเช่น โบสถ์ในภาพทำให้นึกถึงช่วงที่อยู่ในเนเธอร์แลนด์แต่ภูเขาในภาพมาจากวิวที่เห็นจากที่พัก แล้วนำมารวมในภาพเดียว

    จุดที่ทำให้ผมรู้สึก Movingที่สุดคือการที่ Vincent ต้องวาดภาพนี้จากห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ แต่เขาสามารถวาดภาพ Landscape ที่ดูเคลื่อนไหวและกลายเป็นภาพสำคัญภาพหนึ่งของโลกได้ มีศิลปินอีกคนที่ผมรู้จักและชื่นชมและมาพบจากสารคดีของเขาในภายหลังว่าเขาเป็นคนที่มี Mental Disorder ซึ่งคนนั้นคือช่างภาพ Vivian Maier



    เธอทำงานเป็นพี่เลี้ยงเด็ก แต่กลับอุทิศตนให้กับการถ่ายภาพเงินที่ได้มากทั้งหมดเอาไปลงกับกล้อง ฟิล์มเธอสร้างห้องมืดไว้เองเพื่อใช้ในการล้างฟิล์มแต่สุดท้ายเธอกลับต้องเสียชีวิตไปอย่างโดดเดี่ยว

    เมื่อทำมาเปรียบเทียบกับ Vincentทั้งสองคนนี้เป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ แต่ผลงานตลอดช่วงชีวิตที่พวกเขาสองคนผลิตออกมากลับไม่ได้รับการRecognize พวกเขาสองคนได้กลายเป็นศิลปินโด่งดังเมื่อพวกเขาเสียชีวิตไปแล้วเป็นเรื่องน่าเสียดายและน่าเศร้าที่พวกเขาไม่ได้รับรู้ว่างานของพวกเขามีความหมายแค่ไหน

    ตอนนี้หนังเรื่อง Vincent สามารถเช่าได้จาก https://documentaryclubthailand.com/ ในราคาสองเหรียญ และคิดว่า Finding Vivian Maier ก็จะนำมาฉายที่นี่ในราคาสองเหรียญด้วยเช่นกันสำหรับคนที่ไม่มีอะไรทำช่วง Covid-19 นี้ก็อยากให้ลองใช้เวลาดูหนังสองเรื่องนี้รับรองว่าคุณต้องได้อะไรกลับไปแน่นอน

    (อัพเดต Finding Vivian Maier เข้าแล้ว)

    Andrew Wyeth. Christina’s World. 1948

    ในภาพคือ Anna Christina Olsonซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของ Andrew Wyeth เธอป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อทำให้ไม่สามารถเดินได้วันหนึ่ง Wyeth เห็นเธอต้องลากตัวเองข้ามสวนของบ้านเธอไปทำให้ Wyeth ได้แรงบันดาลใจในการสร้างขึ้นนี้ขึ้นมา โดยเพิ่มSpace มากขึ้นให้มันเหนือจริง

    Christina’s world is, because of her physicalhandicap, outwardly limited—but in this painting I tried to convey howunlimited it really is,”

    สัปดาห์ที่ 3 Art & Identity

    Frida Kahlo. Self-Portrait with Cropped Hair. 1940

    Kahloวาดรูปนี้หลังจากหย่ากับสามีที่เป็นจิตรกรชื่อดังชาวเม็กซิโก DiegoRivera

    DiegoRivera มักบอกเธอว่าเขาชอบผมสีเข้มยาวสลวยของเธอ ซึ่งในภาพเธอได้ตัดผมเหล่านั้นทิ้งไปจนหมดและเธอยังวาดตัวเองอยู่ในชุดสูทตัวโคร่งของอดีตสามีเธอด้วยเป็นการต้องการประกาศว่าเธอเคยอยู่ใต้เงาของสามี แต่ตอนนี้เธอเป็นอิสระแล้วหลังจากนั้นเธอได้ผลิตงานออกมาหลายชิ้นและกลายเป็นศิลปินชื่อดังยิ่งกว่าอดีตสามีของเธอ

    ในส่วนด้านบนเป็นโน้ตเพลงและเนื้อเพลงพื้นบ้านเม็กซิกันเกี่ยวกับผู้หญิงที่สามีรักเธอที่ผมที่สวยงามแต่เธอได้ตัดผมทิ้งไปเพราะสามีไม่ได้รักเธออีกต่อไปแล้ว

    HenriMatisse. The Red Studio.1911

    งานของ Henri Matisse ที่วาดในช่วงที่เขาประสบความสำเร็จที่สุดในชีวิตเขาเพิ่งได้สตูดิโอห้องใหม่เขาได้วาดภาพนึ้ขึ้นมาโดยเปลี่ยนผนังห้องที่ควรจะเป็นสีขาวให้กลายเป็นสีแดงให้หมดงานอื่น ๆ ที่ปรากฏในภาพล้วนเป็นงานของเขา นาฬิกาที่อยู่ตรงกลางไม่มีเข็มสื่อถึงเวลาที่กำลังหยุดนิ่ง และจานสีกับดินสอที่อยู่ใกล้ตัวทำให้ดูเหมือนเขากำลังอยู่ตรงนี้ด้วย

    สัปดาห์ที่ 4 Transforming Everyday Objects

    ศิลปินเลือกใช้ Everyday Objects เพื่อเป็นการตั้งคำถามกับศิลปะแบบดั้งเดิม ศิลปะแบบดั้งเดิมเชื่อว่างานศิลปะต้องถูกสร้างโดยศิลปินออกมาสวย

    MarcelDuchamp. BicycleWheel. 1951 

    งานนี้เป็นงานที่ตั้งคำถามกับนิยามดั้งเดิมของศิลปะโดยเมื่อก่อนเชื่อว่า 1. Art ishandmade by the artist. แต่งานนี้ใช้ล้อจักรยานและเก้าอี้ที่เป็นสิ่งที่Readymade 2. Art is beautiful. งานนี้ก็เป็นแค่ล้อจักรยานและเก้าอี้ธรรมดา

    งานแบบนี้เรียกว่าศิลปะแบบ Dadaซึ่งเป็น movement ที่ตั้งคำถามว่าศิลปะคืออะไรและถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร

    จากที่เคยเรียนในวิชา Westciv เรื่องศิลปะแบบ Dada ศิลปะแนวนี้เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 เพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นศิลปะและโลกทุนนิยมที่ให้ค่าและตีความศิลปะเป็นมูลค่า และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสงครามโลกเนื่องจากระบบทุนนิยมที่ต้องการครอบครองกันมากขึ้นศิลปะแบบ Dada ทำการเสียดสีงานศิลปะทำให้มันดูกลายเป็นเรื่องตลก จากนิยามเดิมของศิลปะที่เน้นแต่ความสวยงาม

    นอกตัวงานที่เป็นภาพวาด ก็มีงานชุด Readymade ที่มีแนวคิดว่า

    วัตถุแวดล้อมที่เราพบเห็นกันอยู่เป็นสามัญธรรมดาทุกสิ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าในทางความคิดในแง่ของการผลิตและใช้สอยโดยการพบเห็นธรรมดาอาจไม่สามารถพบคุณค่าทางศิลปะได้อย่างเต็มที่หากมีการจัดวางดัดแปลงเติมแต่งแนวคิดให้มีลักษณะแปลกแยกออกไปจะสามารถบังเกิดเป็นศิลปะที่สุดแสนวิเศษได้

    สัปดาห์ที่ 5 Art & Society

    สัปดาห์ที่ชอบที่สุด เนื่องจากเราชอบเรื่องประเด็นทางสังคมอยู่แล้ว สัปดาห์นี้ก็ตรงตัว เป็นเรื่องศิลปะกับสังคมนั่นเอง

    Dorothea Lange. Migrant Mother1936.

    1936 เป็นปีที่มี Great Depression ในสหรัฐอเมริกา ภาพนี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนั้น แม่ที่ต้องอพยพเข้ามาเพื่อหางานทำ แต่งานไม่มี ลูกก็ต้องเลี้ยง โดยเฉพาะรูปทางขวาที่ขับเน้นสีหน้าของคนเป็นแม่ แต่ในภาพก็มีเด็ก ๆ ขนาบอยู่ด้านข้าง

    Kerry James Marshall. Untitled (policeman). 2015.
    Kerry James Marshall. Untitled(policeman). 2015.
    ศิลปินวาดภาพนี้ตอบโต้กับเหตุการณ์ที่มีคนผิวสีเสียชีวิตจากการถูกวิสามัญจากตำรวจผิวขาว แม้ชายผู้นั้นจะไม่ได้พกอาวุธเลย แม้มีคนผิวสีทำงานเป็นตำรวจเช่นกัน แต่ทำไมกลับถูกได้รับการปฏิบัติแตกต่างกัน? ปัญหาการเหยียดสีผิวยังคงอยู่ในสังคมอเมริกันในทุกวันนี้


    ตามไปดูกันได้ที่ https://artsandculture.google.com/partner/moma-the-museum-of-modern-art

    หรือคอร์สที่เรียนคือ https://www.coursera.org/learn/modern-art-ideas



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in