บทพระราชนิพนธ์ ใน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ ๙)
.
.
พระเจ้ามหาชนกกษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา มีพระราชโอรส ๒ พระองค์พระนามว่า อริฏฐชนก
และ โปลชนก เมื่อสวรรคตแล้ว พระอริฏฐชนกได้ครองราชสมบัติและทรงตั้งพระโปลชนกเป็นอุปราช
อมาตย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบทูลใส่ร้ายว่า พระอุปราชโปลชนกคิดไม่ซื่อ พระอริฏฐชนกก็หลงเชื่อ สั่งจองจำพระโปลชนก แต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานและหลบหนีไปได้ ภายหลังได้รวบรวมพลมาพร้อมส่งสาส์นขอเจรจา แต่อมาตย์ชั่วร้ายแปลงสาส์นเป็นขอท้ารบ ทำให้พระอริฏฐชนกแต่งทัพออกรบ ทั้งสองพระองค์รู้ความจริงในระหว่างการรบ แต่พระอริฏฐชนกสิ้นพระชนม์ในสนามรบ
พระเทวีของพระอริฏฐชนก ที่กำลังทรงครรภ์จึงปลอมตัวหนีออกนอกเมืองด้วยความช่วยเหลือของท้าวสักกเทวราชจึงเสด็จหนีไปจนถึงเมือง กาลจัมปากะ ได้พราหมณ์ผู้หนึ่งอุปการะไว้ในฐานะน้องสาว ต่อมามีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยยิกาว่า "มหาชนก"
พระมหาชนกเติบใหญ่ และได้ทราบความจริง ก็คิดจะไปค้าขายตั้งตัว แล้วจะไปเอาราชสมบัติคืน จึงนำสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ
ระหว่างทางในมหาสมุทร เรือต้องพายุล่มลง ลูกเรือตายหมดยังแต่พระมหาชนกรอดเพียงผู้เดียว ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน จนได้พบนางมณีเมขลา นางมณีเมขลาเมื่อได้สนทนากัน นางเข้าใจในการบำเพ็ญวิริยบารมี จึงได้อุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร
ที่นครมิถิลา พระเจ้าโปลชนกทรงประชวรหนัก มีแต่พระธิดาพระนามว่า "สิวลี" พระโปลชนกตรัสสั่งอำมาตย์ว่า ผู้ใดสามารถไขปริศนาขุมทรัพย์ได้ก็ยกบ้านเมืองให้แก่ผู้นั้น
อำมาตย์จึงตั้งพิธีเสี่ยงราชรถ ราชรถได้มาหยุดอยู่หน้าศาลาที่พระมหาชนกกุมารทรงประทับอยู่ พระองค์ทรงไขปริศนาได้ทั้งหมด พระองคจึงได้
อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงสิวลี และขึ้นครองราชย์สมบัติแคว้นวิเทหะ พระมหาชนกทรงครองราชย์ด้วยความผาสุกมาโดยตลอด เนื่องด้วยทรงอยู่ใน
ทศพิธราชธรรม ต่อมาพระนางสิวลีประสูติพระโอรส ทรงนามว่า "ทีฆาวุกุมาร" ครั้นเมื่อเจริญวัยขึ้น พระบิดาทรงโปรดให้ดำรงตำแหน่งมหาอุปราช
อยู่มาวันหนึ่ง พระราชามหาชนกได้เสด็จอุทยานทอดพระเนตร
? เห็นมะม่วงต้นหนึ่งมีผล มีรสชาติอร่อย
? ต้นหนึ่งไม่มีผล
พระองค์ได้ทรงชิมต้นที่มีผล รสชาติอร่อย และทรงตั้งใจว่าจะกลับมาเสวยอีกครั้งในยามเย็น
ทว่าต่อมามะม่วงต้นที่มีผลรสชาติดีก็เสียหายจนหมดเพราะผู้คนพากันมาโค่นเพื่อเอาผลมะม่วง ส่วนต้นที่ไม่มีผลยังอยู่รอดได้
พระมหาชนก จึงทรงคิดได้ว่า ราชสมบัติ ก็เปรียบเหมือนต้นไม้มีผลที่อาจถูกทำลาย แม้จะไม่ถูกทำลายก็ต้องคอยระวังรักษา ทำให้เกิดความกังวล
พระองค์ประสงค์จะทำตนเป็นผู้ไม่มีกังวลเหมือนต้นไม้ไม่มีผล แต่ก็ไม่ทรงทำเช่นนั้นเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของพระราชาที่จะทำให้สังคมอยู่รอดพ้นก่อน ทั้งนี้เนื่องด้วยเพราะผู้คนในสังคมยังขาดสติปัญญาเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้า ดุจดังผู้ที่ทำลายต้นมะม่วงเพียงเพราะต้องการผลมะม่วงโดยไม่คิดเก็บไว้กินในวันข้างหน้า
พระมหาชนก ทรงคิดดังนั้นแล้ว จึงให้ผู้รู้วิชามาทำนุบำรุงต้นมะม่วงด้วยหลักวิชาการทางการเกษตร และจัดตั้งสถานศึกษาชื่อ ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย เพื่อสร้างคนผู้เป็นคนดีมีสติปัญญาให้แก่สังคม เพื่อสังคมจะได้เจริญรุ่งเรืองและดำรงอยู่อย่างผาสุกสืบไป
.
.
พระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก"
เป็นหนังสือที่สวยงาม ทรงคุณค่า ในหลวง ร.๙ ทรงใช้ระยะเวลาค้นคว้า และพระราชนิพนธ์ประมาณ ๑๙ ปี (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๓๙)
และจัดพิมพ์เสร็จสมบูรณ์
ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล
ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์
"พระมหาชนก" ..
"หนังสือนี้เป็นที่รักของข้าพเจ้า
หนังสือนี้ไม่มีที่เทียม
และจะเป็นที่เริงใจของผู้อ่าน
ต้องการให้เห็นว่าสำคัญที่สุด
คนเราทำอะไรต้องมีความเพียร
ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์
ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์”
???
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in