นอกจากจะช่วยส่องแสงให้ตาเรามองเห็นในตอนกลางคืนแล้ว อันที่จริงการถือกำเนิดของหลอดไฟให้อะไรกับมนุษย์มากกว่านั้นอยู่มากโข มันได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีของโลกตั้งแต่วิถีการผลิตยันวิถีชีวิตของมนุษย์เลยทีเดียว
การค้นพบวิธีให้กำเนิดไฟฟ้าของนักวิทยาศาสตร์และหลอดไฟของโทมัส เอดิสันได้เปลี่ยนให้ชีวิตมนุษย์ไม่ต้องคอยพึ่งพาแต่แสงจากดวงอาทิตย์และเปลวไฟอีกต่อไป ช่วงเวลากลางคืนที่เคยมืดสนิทถูกแทนที่ด้วยแสงไฟจากบ้านเรือน โรงงาน ตึกสูง และท้องถนน ระยะเวลาการทำงานถูกยืดให้ยาวนานขึ้นจนทำให้ผลผลิตและเศรษฐกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนับแต่นั้นมา
แม้หลอดไฟฟ้าจะถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 แต่หลอดไฟเหล่านั้นกลับยังไม่ดีพอที่จะถูกนำมาใช้อย่างจริงจังและแพร่หลายเท่าหลอดไส้ (Incandescent lamp) ของโทมัส เอดิสัน (Thomas A. Edison) โดยหลอดไส้จะเชื่อมกับกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่เพียงพอที่จะทำให้ขดลวดโลหะภายในหลอดไฟร้อนและเกิดประกายแสงสว่างขึ้นในที่สุด ฃ
วิถีชีวิตของคนเริ่มเปลี่ยนเมื่อเอดิสันก่อตั้งบริษัทจำหน่ายหลอดไฟของตัวเองในปีค.ศ. 1990 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำหลอดไฟฟ้ามาใช้ในเชิงพาณิชย์ มันถูกนำไปใช้งานแพร่หลาย ทั้งในบ้านเรือนธรรมดา สำนักงาน อาคารพาณิชย์ โรงแรม และโรงงานต่าง ๆ ที่ล้วนใช้ความสว่างจากหลอดไฟเพื่อยืดเวลาในการใช้ชีวิต การทำงาน และการเปิดให้บริการให้นานมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ภาพของเมืองในยามค่ำคืนจะเต็มไปด้วยแสงไฟต่างจากชนบท ผู้คนสามารถออกมาใช้ชีวิตข้างนอกได้เมื่อมีแสงสว่างช่วยเพิ่มความปลอดภัย และมีเวลาว่างที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตอนกลางคืนภายในบ้านได้มากขึ้น เช่น การอ่านหนังสือ
แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง การมีหลอดไฟให้แสงนั้นหมายถึงการสามารถเพิ่มจำนวนชั่วโมงการทำงาน เพื่อผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อมีหลอดไฟมนุษย์ก็สามารถทำงานได้ตั้งแต่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นยันหลังพระ อาทิตย์ตก และเมื่อคนทำงานหนักขึ้น ผลผลิตเยอะขึ้น มีกิจกรรมให้ทำมากขึ้น มีสินค้าและธุรกิจที่ผุดขึ้นใหม่จากวิถีการผลิตและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจจึงเติบโตและขยายตัวขึ้นได้ ซ้ำมนุษย์ยังสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เองอีกต่างหาก ทำให้ตามท้องถนนประดับไปด้วยทั้งสายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อคอยจ่ายไฟให้กับหลอดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในอาคารบ้านเรือน
sites.google.com
ในยุคของอุตสาหกรรมเฟื่องฟูแรก ๆ เราอาจนึกถึงภาพโรงงานที่ยังคงสว่างจ้าและมีแรงงานนั่งอยู่หน้าเครื่องจักร แต่ในยุคปัจจุบันที่ไม่ใช่มีแค่หลอดไฟ แต่ไฟฟ้าและเทคโนโลยีได้ร่วมกันอำนวยความสะดวกให้เราสามารถทำงานได้ต่อเนื่องจนไม่ต้องสนใจการขึ้นการตกของพระอาทิตย์เลยด้วยซ้ำ
แน่นอนว่าข้อดีคือเราสามารถทำงานได้ทุกเวลาจนต่อไปอาจไม่ต้องจำกัด office hour และไปนั่งทำงานแค่ในออฟฟิซแล้วก็ได้ แต่หากคิดดี ๆ ในอีกแง่หนึ่ง มันกลับกลายเป็นว่าเราบางคนต้องทำงานตลอดเวลา ทำงานหนักและนานเกินกว่าที่ควรจะเป็น และเป็นสาเหตุของ work overload ที่ทำให้คนทำงานสมัยนี้หมดไฟในการทำงานได้ง่ายขึ้ิน
เรากำลังอยากชี้ให้เห็นว่าการเกิดขึ้นของนวัตกรรมหนึ่ง โดยเฉพาะนวัตกรรมที่เป็น disruptive innovation นั้นส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่จนกลายเป็นว่ามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงวิถีโลกได้ ที่เรามักพูดเรื่อง disruption กันบ่อย ๆ เราอาจกลับมามองภาพของนวัตกรรมพลิกโลกในอดีตที่ส่งผลมาจนวันนี้ เพื่อให้มองเห็นว่า disruption ไม่ใช่แค่เรื่องในทางธุรกิจ แต่เป็นเรื่องของชีวิตเราทุกคน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in