เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บันทึกนักอยากเขียนSooth Suwansakornkul
บันทึกสัมมนาออนไลน์ CHANGE 2021: Visual Character Arts


  • มีคนถามในงานสัมมนาออนไลน์เกี่ยวกับการสร้างคาแร็กเตอร์ว่า ทำอย่างไรให้คาร์แร็กเตอร์ของตัวเองดังอย่างโดราเอม่อน...ผมก็อยากตอบในห้องสัมนาแลกเปลี่ยนแทนวิทยากรจริง ๆ แต่ดันนั่งอยู่หน้าจอที่บ้านไง...โดเรม่อน มีเนื้อหาเป็นร้อยตอนจะพันตอนได้มั้ง ฉายต่อเนื่อง เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี ความผูกพันของตัวละครในเรื่องกับคนดูเหมือนเพื่อน เหมือนญาติเหมือนสมาชิกในบ้าน...นอกจากการมีดีไซน์ที่มีรูปลักษณธภายนอกจำจำได้ง่าย เนื้อหาและเรื่องราวก็สำคัญ เพราะเป็นตัวประคองให้คนจดจำแมวฟ้าได้...ถ้าลองโดราเอม่อนมีแค่สิบตอนจบ มันก็จะเป็นกระแสชั่ววูบ...อันนี้เลยไม่แปลกใจแล้ว ที่ทำไมมังงะดัง ๆ หลายเรื่องโดนลากไปให้ยาวที่สุดเท่าที่จะยาวได้เพื่อขายของเล่นขายตัวละครนี่เอง...

    เดี๋ยวนี้มีแพล็ตฟอร์มให้เอาเรื่องและตัวละครไปออกอากาศฟรีหลายที่ โซเชียลมีเดียเป็นโอกาสของคาแร็กเตอร์ และคอนเท้นต์ครีเอเตอร์รายเล็ก ๆ ที่ไม่มีทุนมากพอไปซื้อแอร์ไทม์จากโทรทัศน์ แถมมีปัญญาประดิษฐ์ที่พาผู้บริโภคมาเจอกับผู้ผลิตโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อาศัยกดไลก์กดแชร์...ถ้ามีฐานแฟนคลับ มีมิตรภาพและความผูกพันมากพอ ไม่ต้องเสียค่าบูสต์โพสต์ เขาก็กดไลก์กดแชร์ให้...พอได้รับความนิยมระดับหนึ่ง สปอนเซอร์ก็จะเข้า ถ้าตัวละครดีไซน์ออกมาดีพอ ก็ต่อยอดได้ง่าย...ขอเพียงรักษาความสม่ำเสมอและรักษาบุคลิกของตัวละครให้มั่นคง ก็จะสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับผู้คน...สุดท้ายจะไปทำหน้าที่นางกวัก ตัวแทนขาย หรือเป็นของเล่นเด็ก ก็ย่อมได้

    โนบิตะ คือตัวแทนของเด็กประถม คือทุกคนต้องผ่านการเติบโต และมีประสบการณ์ร่วมเช่นโนบิตะ พอความประทับใจฝังลึกเข้าไปในรุ่นพ่อ แม่ เมื่อเด็ก ๆ โตเป็นผู้ใหญ่มีครอบครัว ก็จะมีความอยากส่งต่อความรู้สึกประทับใจนั้นให้กับลูก ๆ ตัวละครจึงมีความยั่งยืน และพิสูจน์ตัวเองมายืนยาวกว่า 30 ปี

    การออกแบบตัวละครถ้าไม่มีเนื้อเรื่องต่อเนื่องสนับสนุนที่ดีก็ไปต่อไม่ได้ อาจจะฮิตเป็นกระแสได้เพียงช่วงขณะหนึ่ง เป็นแนวฮิตแอนด์รันเฉย ๆ คือตีหัวเข้าบ้าน แต่มันจะกลับมาเป็นพัก ๆ ไม่ต่อเนื่อง
    ดังนั้นนอกจากคนออกแบบตัวละครเก่งจะต้องเล่าเรื่องเก่งด้วย

    คลิปนี้ทดลองเล่าเรื่อง เอามาลงเล่น ๆ  55


    สมมติผมคิดจะสร้างตัวการ์ตูนเด็กชายคนหนึ่ง ผมจะรวบรวมเรื่องราวชีวิตของเด็กชายวัยไล่เลี่ยกับตัวละครที่ผมจะสร้าง แล้วเล่าเรื่องผ่านตัวละครของผม ซึ่งจะสร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้ชม เรื่องจริงที่เล่าผ่านเรื่องแต่ง ที่มีความสะทกสะเทือนใจและประทับใจของเด็กวัยนั้น

    ให้ระวังเรื่องข้อจำกัดของตัวละคร รูปลักษณ์บางอย่างจำกัดความนิยมของมัน อย่างการ์ตูนเข้าหญิงดิสนีย์ ผู้บริโภคชายจะไม่นิยม รูปลักษณ์บางแบบให้ความนิยมได้ทุกเพศทุกวัย รูปลักษณ์ความเป็นมนุษย์มีความจำกัดกว่ารูปลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตแบบอื่น ซุปเปอร์แมนขายได้แค่เสื้อกับโลโก้ ไม่สามารถเอาหน้าไปขายได้เท่าหน้าของดาร์ธเวเดอร์

    เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องรู้ว่าตัวละครนี้เป็นตัวแทนใคร ถ้ามันเป็นตัวแทนเรา เราคือใคร เพศอายุ บุคลิก นิสัย รสนิยมอย่างไร


    การสร้าง
    engagement(หมั้น=ควมผูกพัน) สำคัญ เพราะมันเป็นมูลค่าของตัวคาแร็กเตอร์ ความผูกพันนี้อาศัยความต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่รู้จักกันเป็นเวลาหนึ่งเรียกว่าการสร้างมิตรภาพ

    หุ้นส่วนทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนที่บริหารลิขสิทธิ์ หรือ ผู้ผลิตสินค้า เลือกใช้ตัวละครมาสคอต เป็นนางกวัก

    จำไว้ว่า การออกแบบมาสคอต เราใช้มาสคอตเป็นนางกวักหรือตัวแทนขาย และ "เราขายสินค้าเป็นหลัก" ไม่มีประโยชน์ถ้าคนชอบมาสคอต แต่ขายสินค้าไม่ได้ หรือคนไม่ประทับใจสินค้า

    ดังนั้น ทั้งนักออกแบบ ตัวแทนลิขสิทธิ์ และผู้ผลิตสินค้า เรียกว่าเป็นหุ้นส่วนและมีลูกค้าเป็นผู้บริโภค หลักของการออกแบบเพื่อการค้า สำคัญที่สุดคือออกแบบมาเพื่อขาย"ใคร"ใครในที่นี้คือลูกค้าของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

    เซคชั่นนี้ มีคุณ Thawach Imraporn เป็นวิทยากร รายละเอียดเนื้อหาดีมาก ควรอย่างยิ่งที่นักออกแบบตัวการ์ตูนไปหามาชม


    ถามว่าผมเกี่ยวอะไรกับงานนี้ ก็แค่คนเข้าร่วม จะว่าไปนี่ยังไม่แน่ใจเลยว่าจะส่งงานประกวดกับเขาดีไหม



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in