เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บันทึกนักอยากเขียนSooth Suwansakornkul
Fact & Opinion
  • ตอนเขียนการ์ตูนมือขวานหน้าหนวดเอาไปลงเว็บตูนครั้งแรกก็โดนแบน
    เพราะมีฉากรุนแรง ฉากเอาขวานจามหัวผี ฉากเอาขวานตัดคอผี หัวหน้าผีตบลูกน้องจนหัวแบะ .......

    การ์ตูนรุนแรงอยู่ ก็การ์ตูนบู๊อะ ก็คิดอยู่มันคงไม่ผ่านเกณฑ์สื่อสร้างสรรค์หรอก แต่ก็เขียนเพราะอยากเขียน ... 

    ก็ไม่ได้หวังรางวัลสื่อสร้างสรรค์นี่เนาะ จุดประสงค์คือการสนองความต้องการของตัวเองนั่นแหละ....
    และนั่นคืองานตัวตน ไม่คิดว่าจะดันให้เป็นงานมวลชน
    แต่งานตัวตนมันกลายเป็นงานมวลชนได้ 
    เมื่อผู้อ่านมีประสบการณ์ร่วมและต้องการผลักดันแนวคิดของงานออกสู่สังคม....

    สำหรับบางเรื่อง(ไม่ใช่เรื่องขวานจามหัวผีนะ) แม้มันจะไม่ได้มาตรฐานสื่อสร้างสรรค์ก็เถอะ
    แต่อย่างน้อยก็ให้สังคมรับรู้ว่าความคิดเช่นนี้มีอยู่
    เสียงสะท้อนอาจจะดังมากน้อยขึินอยู่กับคนที่บริโภคงานแล้วเห็นด้วยและเผยแพร่ส่งต่อมันออกไป....

    การโจมตีประเด็นทางสังคม ยิ่งเป็นวัฒนธรรมตกทอดต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายอันเป็นแก่นหลักของหัวข้อนั้น ๆ พิจารณาให้ลึกถึง "เจตนา" อันเป็นแก่นของเรื่อง....

    เช่น การปล่อยนก ปล่อยปลาปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ การให้อิสรภาพกับชีวิตอื่น
    แต่ปัญหามันอยู่ที่มีคนเอา การปล่อยนก ปล่อยปลา ไปกักขังหน่วงเหนี่ยวสัตว์ เพื่อให้คนมาไถ่ชีวิตมันเป็นการค้า....

    การให้ทาน ให้ชีวิตเป็นสิ่งดี
    ถ้าเราจะตั้งคำถามกับเรื่อง การปล่อยนก ปล่อยปลา 
    ก็ไม่ควรตัดสินมันก่อนว่ามันเป็นสิ่งดี หรือ ไม่ดี
    แต่เราควรแสดงให้คนอ่าน เห็นให้หมด ทั้งด้านดีด้านร้ายโดย ไม่ตัดสิน ก็ได้....
    สุดท้าย ก็อาจไม่จำเป็นต้องตัดสินให้ หรือตัดสินแทนคนอ่านปล่อยให้เขาตัดสินเอาเอง....

    งานที่ถูกตัดสินโดยคนสร้างมาก่อนแล้ว ไม่แปลกเลย ที่จะมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
    ในที่สุดก็จะถูกตัดสินโดยคนอ่าน
    ถ้าน้ำหนักของ เสียงเห็นด้วย กับ ไม่เห็นด้วยดังพอ ๆ กัน
    มันก็สะท้อนว่า " เรื่องนั้น ไม่ควรเอามาตัดสิน? "....

    ส่วนตัวคิดว่า การตัดสินเรื่องบางอย่างแล้วโยนมันออกมาเป็นงาน
    ต้องอาศัยความกล้ามากระดับหนึ่งกล้าที่จะรับเสียงไม่เห็นด้วย ในประเด็นที่นำเสนอ....

    ส่วนตัว ไม่กล้าขนาดนั้นเพราะการโยนประเด็นก้ำกึ่ง มันสะท้อนให้เห็นความจริงในบางแง่มุม 
    ที่คนบางกลุ่มไม่เคยเห็น เขาจึงมีสิทธิไม่เห็นด้วย
    และการนำเสนอเรื่องแบบนั้น เพื่อให้คนมีสติรับสาร โดยไม่เอาอารมณ์เป็นเครื่องตัดสินนั้นก็ยาก....

    อย่าจับผลไม้แรงเกินไป มันจะช้ำ ผลไม้นั้นจะเสีย
    เช่นเดียวกับประเด็นอ่อนไหวบางประเด็นถ้ามันเป็นสิ่งสวยงาม 
    ก็อย่าทำให้มันช้ำเน่าเสีย....

    แต่ก็อีกนั่นแหละ ความงามของแต่ละคนแตกต่างกัน
    การตัดสินความงาม ก็คือการใช้สิทธิส่วนบุคคล
    แต่มันจะกลายเป็นอำนาจเมื่อมีคนเห็นพ้อง....

    สำหรับคนทำสื่อ ต้องเห็นเจตนาในสารสารชวนเชื่อ ... 
     คือ ต้องการความเห็นพ้องเป็นหลัก 
    ค่าตรรกะของมันเป็น "จริง" ก็ได้ "ไม่จริง" ก็ได้
    ต่างกับการบอกเล่า "ความจริง" ซึ่งเป็น "จริง" เสมอ....

    Fact กับ Opinion ต่างกันคนไม่เคยเห็น Fact จะเชื่อว่าสารที่สื่อมานั้นเป็น Opinion ก็ได้อยู่ที่ประสบการณ์ของคน ๆ นั้น ว่าเจอ Fact มาแบบไหนก็จะแสดง Opinion ออกมาแบบนั้น.... 

    เปรียบเทียบให้เห็นภาพขึ้น คือ Fact เป็นแสงจากแหล่งกำเนิดแสงเข้าตาเราโดยตรง
    ส่วน opinion คือแสงที่สะท้อนจากพื้นผิวก่อนมาเข้าตาเรานั่นเองและพื้นผิวที่ว่า คือ ตัวตนของคนนำเสนอ Fact นั้นมาให้เรารู้นั่นเอง....

    ตัวตนของคนนำเสนอ ไม่ใช่สิ่งสมบูรณ์ ไม่ใช่แหล่งกำเนิด Factดังนั้นจึงเกิดความลำเอียงขึ้น เป็นเรื่องธรรมดา ยิ่งตัวเราเอง ก็มี Filter หรือความลำเอียงด้วยแล้ว เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า  Fact มัน Fact แค่ไหน 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in