The Gadfly - อ้ายเหลือบผู้แต่ง - E.L. Voynich
เรื่องราวของเด็กหนุ่มหน้าตาดีวัย 19 ปี
"อาเธอร์ เบอร์ตัน" ที่เกิดจากครอบครัวอันมีจะกิน ขาดความเอาใจใส่
แต่อาเธอร์ก็เติบโตเป็นวัยรุ่นที่สดใส มีชีวิตชีวา เคร่งในศาสนา และมีอุดมการณ์
เขามักใช้เวลาไปกับการร่ำเรียน และอยู่ในห้องสมุดของศาสนาเพื่อศึกษาและสอบถามข้อสงสัยจากบาทหลวงมอนตาเนลลีอยู่เสมอ
นอกจากนั้น เขายังเข้าร่วมกลุ่มนักศึกษาที่ต้องการปฏิวัติอิตาลีให้กลายเป็นประเทศในดินแดนเสรีภาพ
จนทำให้ชีวิตของเขาต้องไปติดอยู่ในคุก และได้ทำการหนีออกไปอยู่ต่างแดน
**เปิดเผยเรื่องราวสำคัญในเรื่อง**
องก์แรกของหนังสือ
พาเราเพลิดเพลินไปกับชีวิตของอาเธอร์ เบอร์ตัน ที่เต็มไปด้วยความมองโลกในแง่ดี เล่าความสัมพันธ์อาเธอร์กับคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว คนที่อาเธอร์แอบชอบ ความสนิทสนมใกล้ชิดกับบาทหลวงมอนตาเนลลี ที่เป็นเหมือนญาติผู้ใหญ่ เหมือนพ่อให้คอยพึ่งพิง
จนกระทั่งมีบาทหลวงย้ายเข้ามาประจำการใหม่
เมื่อเขาถูกจองจำในคุกข้อหาที่เข้าร่วมกับนักศึกษา ถูกจับลงคุกมืด ต้องนอนกับพื้นเมือกๆ ที่แสนโสโครก อาเธอร์ยังมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นศาสนา
และเมื่อเขาได้รับอิสระ กลับถูกความจริงตบหน้าซ้ำไปซ้ำมา จนเกินเด็กอายุ 19 คนหนึ่งจะรับไหว
ทำให้อาเธอร์ตัดสินใจออกนอกประเทศโดยไม่มีอะไรติดตัวไปด้วยเลย
ช่วงนี้จะเป็นส่วนที่เราค่อนขัดใจกับอาเธอร์เสียเหลือเกิน ในหนังสือเต็มไปด้วยข้อความขัดแย้งจากเรามากมาย อาเธอร์เชื่อว่าเผด็จการแก้ไขด้วยความรัก การมีอยู่ของศาสนาทำให้ทุกคนบนโลกอยู่ร่วมกัน
แต่อย่าลืมว่าเขาเป็นเพียงเด็กอายุ 19 ปี ที่ได้รับสาสน์ด้านเดียวมาแทบตลอด การที่เราเห็นเขาเข้าร่วมกับกลุ่มนักศึกษานั่นเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดแล้ว
องก์ที่ 2 13 ปีต่อมา
อาเธอร์กลับมาด้วยรูปลักษณ์ใหม่ที่ใครก็จำไม่ได้ และมีชื่อใหม่ "รีวาเนซ" เป็นนักเขียนเสียดสีการเมือง ล้อเลียน ตลกขำขัน ชื่อดังที่หาตัวจับยาก นามปากกา "อ้ายเหลือบ" เขากลับมาในเมืองเดิมที่เต็มไปด้วยรอยแผลจากอดีต เข้าร่วมกับกลุ่มนักศึกษาที่ปัจจุบันกลายเป็นคนอายุราวๆสามสิบปี เต็มไปด้วยอุดมการณ์ แต่ยังมีเส้นอะไรบางอย่างที่ทำให้พวกเขาไม่กล้าข้ามไป แต่ "อ้ายเหลือบ"คนนี้เอง ที่ไม่เกรงกลัวอะไรทั้งนั้น ไม่เชื่อในศาสนา กล้าที่จะวิพากษ์วิจารณ์สภาพการณ์การเมืองและศาสนาอย่างเผ็ดร้อนชนิดที่ว่าแม้แต่คนในชมรมเองยังหวาดเสียวกับสิ่งที่เขาเขียนออกมา
ช่วงนี้เป็นสิ่งที่เราอ่านแล้วสนใจมาก ๆ สิ่งที่อ้ายเหลือทำคือการวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา ทำให้เรานึกถึงประเทศไทยในช่วงหลายปีมานี้ ที่เรามักจะแสดงความคิดเห็นกันอย่างเบา ๆ หากพูดแรงไปก็มักจะเจอคอมเม้นท์ประเภทที่ว่า ไม่หารนะ เบาได้เบา อะไรแบบนี้ ลึก ๆ เรายังมีความเกรงกลัวในสิ่งนนั้นอยู่หรือเปล่า หรือยังมองว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามาถแตะต้องได้ และมีย่อหน้าหนึ่งที่น่าสนใจมาก เรื่องเราสมควรที่จะเอาการเมืองมาล้อเลียนเป็นเรื่องตลก ขำขันหรือไม่ มันเป็นการลดทอนคุณค่าของสิ่งที่เรากำลังเรียกร้องมั้ย
ช่วงแรกขององก์ที่สองพาเราเพลิดเพลินไปกับคารมคมคายของอ้ายเหลือบผู้นี้ และเอาใจช่วยให้เขารีบชนะโดยไว แต่สุดท้ายผู้เขียนก็ฉุดเราลงมาให้ดำดิ่งไปกับรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไป ภาษา ท่าทาง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 13 ปี ที่ทำเอาเราร้องไห้ไปกับชีวิตของเขา มันทำให้เราเข้าใจว่าทำไมอาเธอร์ถึงกลายเป็นอ้ายเหลือบ และจริงๆ จิตวิญญาณของอาเธอร์มันได้ตายไปตั้งแต่อายุ 19 ปีแล้ว
เขากลับมาเพื่อตายอีกครั้งหนึ่ง
องก์ที่ 3
หลังจากที่อ่านองก์ที่สองมาอย่างหนักหน่วง มันค่อนข้างยากที่กลั้นน้ำตาในช่วงองก์สาม ทำให้รู้ว่าชีวิตมันไม่ได้ง่าย และในสภาพบ้านเมืองที่ไร้ซึ่งประชาธิปไตย มันทำให้หนทางการรอดของอ้ายเหลือบผู้นี้ช่างยากเย็น การเป็นกบฎ การต่อต้านศาสนาในสมัยนั้นมัน
"พระเยซูถูกตรึงกางเขน 6 ชั่วโมง แต่อาเธอร์คนนี้ถูกตรึงกางเขนมานานหลายปี แต่เมื่อฟื้นขึ้นมา กลับไมไ่ด้มีใครต้อนรับดังพระเยซูเลย "
เราต่างก็เป็นเหยื่อด้วยระบบห่วย ๆ เหมือนดังอ้ายเหลือบ
วันหนึ่ง เราอาจเป็นทรราชย์ในกลุ่มนี้
แต่เราอาจเป็นฮีโร่ให้กับคนอีกหลายกลุ่ม
เราอ่านจบด้วยความรู้สิ้นแสนสิ้นหวัง ร้องไห้สะอึกสะอื้นประหนึ่งว่าอ้ายเหลือบคือญาติสนิท
ไม่เลย อ้ายเหลือบเป็นตัวละครหนึ่งในหนังสือที่มีอุดมการณ์เช่นเดียวกับเรา
ทำให้เราเข้าใจการต่อสู้ของเขา และเจ็บปวดไปพร้อมกัน
แต่สิ่งที่อ้ายเหลือบได้ทำในชีวิตนี้แล้ว
คือการจุบคบไฟส่งต่อความหวัง อุดมการณ์ไปให้ผู้คน
ส่วนตัวตอนที่อ่านจบ รู้สึกว่าเนื้อหาไม่ได้มีอะไรร้ายแรงพอที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐได้เลย
แต่ในช่วง 6 ตุลา 2519 รัฐคงเปราะบางมากจนถึงขั้นแบนหนังสือเล่มนี้
ในปี 2563
รัฐยังคงเปราะบางเหมือนเดิม
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in