เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เขาคือใคร thai versionChaitawat Marc Seephongsai
พ่อของข้าฯ นามระบือชื่อ “ปรีดี” แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ

  •          หากย้อนกลับไปเมื่อ 80 กว่าปีก่อน ประเทศสยามมิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างประเทศไทยในปัจจุบัน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ประเทศสยามได้รู้จักกับรูปแบบการปกครองที่เรียกว่าประชาธิปไตย และหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้น ประเทศสยามและไทยก็มีอาการลุ่ม ๆ ดอน ๆ ตลอดมากับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

             เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นในสมัย 2475 หากไม่กล่าวถึงเหล่าบรรดาผู้ก่อการ หรือกลุ่มคนผู้มีใจถวิลหาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย กระทั่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์สยาม(ไทย) คงเป็นไปไม่ได้ และบุคคลที่สมควรถูกพูดถึงในฐานนะของผู้ก่อการคนสำคัญคงหนีไม่พ้นชื่อของ ปรีดี พนมยงค์ ชายผู้เริ่มจุดประกายไฟของการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้น

             ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงขอนำคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับชายผู้จุดประกายของกองไฟแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ว่าเขาคือใคร และชีวิตของเขาเป็นอย่างไรภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และเขามีความสำคัญต่อประเทศสยามและไทยอย่างไร

              ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ตำแหน่งเดียวกันกับอธิการบดี โดยอธิการบดีคนแรกของธรรมศาสตร์ คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)

              ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม นอกจากนี้เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส"

               ปรีดีต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต รัชกาลที่ 8 โดยถูกกล่าวหาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม (พรรคการเมืองที่มีอายุยาวนานที่สุดในไทย จ้างคนไปตะโกนในโรงหนังว่าปรีดี....) ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี และไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526

               ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ ปรีดีได้ดำเนินการฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี และยังได้รับความรับรองจากทางราชการตลอดจนเงินบำนาญและหนังสือเดินทางของไทย

               ในปี พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" 

              และนี่คือบทกลอนที่นักศึกษาธรรมศาสตร์ ได้แสดงความระลึกถึง ปรีดี ในงานฟุตบอลประเพณีที่เป็นครั้งที่งานบอลถูกโจทย์ขายมากที่สุดครั้งในสังคมไทย

                     พ่อนำชาติด้วยสมองและสองแขน
              พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี
              พ่อของข้าฯนามระบือชื่อ “ปรีดี”
              แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ



             เขาคือใคร เราคงอาจตอบได้ว่า เขาคือคนที่เมืองไทยอาจจะ"ไม่ต้องการ"


    ข้อมูลเพิ่มเติม : 
    1) http://www.pridi-phoonsuk.org/life-family/
    2) http://www.sarakadee.com/blog/oneton/?p=1164

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in