เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เตรียมสอบ TOEFL iBT ฉบับวัยทำงานpink's journey
2.1 เตรียมตัวสอบพาร์ท Reading
  • Reading

    Time management 
    ทาง notefull เค้าจะให้เราฝึกทำแต่ละบทความภายใน 18 นาที โดยแบ่งเวลาเป็นดังนี่
    1 นาที :  อ่านโจทย์และประโยคแรกของบทความ
    8.30 นาที : ทำโจทย์ข้อ 1-5
    8.30 นาที : ทำโจทย์ข้อ 6-10
    โดยเฉลี่ยแล้วทำข้อละ 1.42 นาที

    ส่วนตัวพิ้งตอนแรกที่ได้ฝึกก็คือเป็นอะไรที่ทำได้ยากมากเลยค่ะ แต่พอทำไปเรื่อยๆ ก็ค้นพบว่า
    เอ้อ เวลาที่เค้าจัดสรรมาแบบนี้เหมาะที่สุดแล้วเพราะตอนทำข้อสอบจริงๆ ทำแบบนี้ช่วยให้เรา
    ทำข้อสอบได้ทันเวลาค่ะ

    Answering technique
    อันนี้จะเป็นเทคนิคในการตอบคำถามที่สามารถนำไปใช้ได้กับคำถามทุกๆ แบบเลยค่ะ
    (โดยสามารถดูคำถามแต่ละแบบในการสอบ TOEFL iBT จากเว็บไซต์ ETS ได้เลยค่ะ)

    1. อ่านคำถาม
    2. หาคำตอบไปในขณะที่กำลังอ่านบทความโดยใช้เทคนิค Comprehension 
    3. paraphrase คำตอบ
    4. ประเมินคำตอบแต่ละข้อโดยการใช้เทคนิค Yes-No-Maybe
        เทคนิค Yes-No-Maybe
        1) อ่านคำตอบแต่ละข้อ โดยละเอียด
        2) เมื่ออ่านแล้วให้คิดในใจ 1-2 วินาที แล้วเลือกว่า Yes-No-Maybe
        3) ถ้าข้อไหนที่เราเลือก Maybe อาจจะเป็นข้อที่ใช้เวลาคิดนาน ไม่ต้องตกใจนะคะ
        4) หลังจากนั้นมาดูว่าคำตอบข้อไหนที่ใกล้เคียงและเหมาะสมกับคำตอบที่เราได้ paraphrase ไป
            ในข้อที่ 3 ค่ะ

    ถ้าท้ายที่สุดแล้วเรายังไม่มีคำตอบ หรือ มีคำตอบที่เป็น Maybe 2 ข้อขึ้นไป ให้เราทำซ้ำตั้งแต่ข้อที่ 1 ค่ะ
    แต่ว่าถ้าทำซ้ำ 2 รอบแล้วยังคงไม่ได้คำตอบ ให้เปลี่ยนมาใช้เทคนิค better-worse แทนค่ะ โดยเลือก
    คำตอบที่คิดว่าดีกว่าอีกข้อนึงมากที่สุด

    Comprehension technique (** ฝึกเทคนิคนี้วันละ 5-10 นาที **)
    1. Passage
        1) เขียนชื่อบทความ
        2) เลือก 1 คำจากประโยคแรกของแต่ละ paragraph 
        3) อธิบายบทความจากคำที่เลือกมาในแต่ละ paragraph 
    2. Paragraph 
        1) เลือก 1 คำมาจากแต่ละประโยคใน paragraph 
        2) อธิบาย paragraph จากคำที่เลือกมาในแต่ละประโยค
  • Vocabulary strategy 
    1. อ่านคำถามแล้วตัดสินใจว่าเรารู้ศัพท์คำนี้มั้ย
        - ถ้ารู้ศัพท์
           2. paraphrase ความหมาย โดยไม่ดู choices
           3หลังจากนั้นดูที่คำตอบแต่ละข้อโดยใช้เทคนิค yes-no-maybe
           4. นำคำตอบที่ได้ไปใส่ในบทความเพื่อทบทวนอีกครั้งว่า make sense ในบทความมั้ย

        - ถ้าไม่รู้ศัพท์ หรือ นำไปใส่ในบทความแล้วไม่ make sense
           2. อ่านประโยคที่มีคำศัพท์นั้นทั้งประโยคเพื่อ paraphrase ความหมาย
               (สามารถอ่านเพิ่มเติมประโยคก่อนหน้าหรือประโยคหลังได้)
           3. หลังจากนั้นดูที่คำตอบแต่ละข้อโดยใช้เทคนิค yes-no-maybe 

    ถ้าท้ายที่สุดแล้วเรายังไม่มีคำตอบ หรือ มีคำตอบที่เป็น Maybe 2 ข้อขึ้นไป ให้เราทำซ้ำตั้งแต่ข้อที่ 1 ค่ะแต่ว่าถ้าทำซ้ำ 2 รอบแล้วยังคงไม่ได้คำตอบ ให้เปลี่ยนมาใช้เทคนิค better-worse แทนค่ะ โดยเลือกคำตอบที่คิดว่าดีกว่าอีกข้อนึงมากที่สุด

    Plug-in strategy 
    ก่อนอื่นต้องอธิบายว่าคำถามแบบ plug-in คือ การที่ข้อสอบให้ประโยคเรามาเพื่อนำไปใส่ใน paragraph โดยจะมี choices ให้เราเลือกตำแหน่งที่จะนำประโยคไปใส่ A - D โดยหน้าตา
    ข้อสอบจะเป็นประมาณนี้ค่ะ
                                                  A___________________________________
                                                  ____________________ B ______________
                                                  ______ C ____________________________
                                                  __________________________________ D

    ซึ่งเทคนิคที่ทาง notefull ให้มาคือ
    1. อ่านคำถามที่ข้อสอบให้มา (= ประโยคที่ข้อสอบให้)
    2. paraphrase คำตอบ โดยเดาจากการที่เราอ่านประโยคที่ข้อสอบให้มาว่าเราคิดว่าประโยคก่อนหน้า
        และประโยคหลังของประโยคที่ข้อสอบให้มาคืออะไร
    3. ไล่ดู choices A - D โดยใช้เทคนิค yes-no-maybe
        - ใช้ key words, adverbs, pronouns ช่วย
        - ไม่แยกกลุ่ม key words เช่น ประโยคที่ข้อสอบให้มาคือ peaches 
           A) apples  B) apples  C) oranges  D) mangoes
           แสดงว่า peaches ไม่ควรอยู่ตรงข้อ B) เพราะข้อ A) และ B) พูดถึง apples เหมือนกัน

    ถ้าท้ายที่สุดแล้วเรายังไม่มีคำตอบ หรือ มีคำตอบที่เป็น Maybe 2 ข้อขึ้นไป ให้เราทำซ้ำตั้งแต่ข้อที่ 1 ค่ะแต่ว่าถ้าทำซ้ำ 2 รอบแล้วยังคงไม่ได้คำตอบ ให้เปลี่ยนมาใช้เทคนิค better-worse แทนค่ะ โดยเลือกคำตอบที่คิดว่าดีกว่าอีกข้อนึงมากที่สุด


  • Negative detail strategy 
    เป็นข้อสอบที่ถามอารมณ์ว่าข้อใดไม่ใช่ ……… (= ข้อไหนที่ไม่ได้กล่าวถึงอะไรประมาณนี้ค่ะ)

    1. อ่านคำถาม
    2. comprehend คำตอบ โดยการอ่านจนกว่าจะเจอคำตอบแรกที่เป็นไปได้
    3. paraphrase คำตอบ
    4. เปรียบเทียบโดยใช้เทคนิค mentioned-not mentioned-maybe

    ถ้าท้ายที่สุดแล้วเรายังไม่มีคำตอบ หรือ มีคำตอบที่เป็น Maybe 2 ข้อขึ้นไป ให้เราทำซ้ำตั้งแต่ข้อที่ 1 ค่ะแต่ว่าถ้าทำซ้ำ 2 รอบแล้วยังคงไม่ได้คำตอบ ให้เปลี่ยนมาใช้เทคนิค better-worse แทนค่ะ โดยเลือกคำตอบที่คิดว่าดีกว่าอีกข้อนึงมากที่สุด

    Paraphrase strategy 
    เป็นคำถามที่มีประโยคมาให้ว่าสอดคล้องกันกับ choices ข้อไหนนะคะ 
    ** ไม่ใช่ strategy ในการ paraphrase ที่เราต้องทำในแต่ละข้อที่กล่าวถึงด้านบนนะ **

    1. อ่านประโยคพร้อมกันกับการแยก main clauses และ independent clauses
    2. ไปดูที่คำตอบแต่ละข้อโดยแยกว่าอันไหนเป็น main และอันไหนเป็น extra
    3. เปรียบเทียบที่เราแยก main clauses และ independent clauses ของคำถามกับ main และ extra 
        ของคำตอบแต่ละข้อ โดยใช้เทคนิค yes-no-maybe
        1) ข้อที่ผิดมักจะใช้คำเดียวกันกับคำถามแต่ว่าการเรียงลำดับคำและความหมายต่างกัน
        2) สังเกตการใช้คำเชื่อม
            - ประโยคส่วนมากที่ตามหลังด้วย because/since/when มักจะเป็น extra ไม่ใช่ main
            - คำเชื่อมต่างๆ ที่มีในประโยคคำถามส่วนมากจะมีความหมายเดียวกันกับคำตอบ
              แต่เปลี่ยนคำ เช่น คำถามใช้ but คำตอบจะใช้ while เป็นต้น

    ถ้าท้ายที่สุดแล้วเรายังไม่มีคำตอบ หรือ มีคำตอบที่เป็น Maybe 2 ข้อขึ้นไป ให้เราทำซ้ำตั้งแต่ข้อที่ 1 ค่ะแต่ว่าถ้าทำซ้ำ 2 รอบแล้วยังคงไม่ได้คำตอบ ให้เปลี่ยนมาใช้เทคนิค better-worse แทนค่ะ โดยเลือกคำตอบที่คิดว่าดีกว่าอีกข้อนึงมากที่สุด

    Summary question strategy 
    สำหรับคำถามนี้จะเป็นมีประโยคมาให้และให้เราสรุปโดยการเลือกคำตอบ 3 คำตอบจากทั้งหมด 6 choices

    1. อ่านประโยคที่คำถามให้มา
        ถ้ามีเวลาเหลือให้เรากลับไปอ่านทวนประโยคแรกของแต่ละ paragraph
    2. paraphrase คำตอบจากการที่เราได้อ่านบทความไป
    3. เปรียบเทียบโดยใช้เทคนิค yes-no-maybe
        โดยมีข้อควรระวังคือ
        1) choices ที่เราจะเลือก 2 ข้อไม่ควรจะพูดถึงเวลาเดียวกัน
        2) การสรุปแบบทั่วไปดีกว่าการสรุปแบบลงรายละเอียด (เพราะฉะนั้นถ้าต้องเลือกระหว่าง 2 แบบ
            ให้เลือก choices ที่สรุปแบบทั่วไปไม่ลงรายละเอียดมาก)
        3) ถ้ามึส่วนไหนใน choices ผิดจากในบทความ เช่น บทความบอก 10 = ข้อนี้ไม่ใช่คำตอบ 100%
        4) ถ้าติดอยู่ระหว่าง 2 choices ไม่รู้จะเลือกอันไหนดี ให้ดูที่ main sentence ของแต่ละ choices
        ถ้ามีเวลาควรอ่านทวนบทความทั้งหมดอีกทีเพื่อความแม่นยำ

    ถ้าท้ายที่สุดแล้วเรายังไม่มีคำตอบ หรือ มีคำตอบที่เป็น Maybe 2 ข้อขึ้นไป ให้เราทำซ้ำตั้งแต่ข้อที่ 1 ค่ะแต่ว่าถ้าทำซ้ำ 2 รอบแล้วยังคงไม่ได้คำตอบ ให้เปลี่ยนมาใช้เทคนิค better-worse แทนค่ะ โดยเลือกคำตอบที่คิดว่าดีกว่าอีกข้อนึงมากที่สุด

  • Reading and answering

    - อ่านชื่อบทความและประโยคแรกของแต่ละ paragraph ภายใน 1 นาที
    - เลือก 1 คำหลักของชื่อบทความและประโยคแรกของแต่ละ paragraphเพื่อช่วยให้เราเห็นภาพรวม
    - อ่านคำถามก่อน แล้วค่อยอ่านบทความตั้งแต่แรกเพื่อตอบคำถามนั้นๆ
    - เมื่ออ่านจบแต่ละ paragraph ให้เลือก 1 คำหลักของ paragraph มาอย่างเร็ว เพื่อที่เราจะได้เห็น
      ภาพของ paragraph นั้นๆ
    - ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนอ่านบทความจบ = อ่านทั้งบทความ
    - ตอบ 5 คำถามโดยใช้เวลา 8.30 นาที

    ดังนั้นถ้าบทความมีทั้งหมด 5 paragraph ในกระดาษทดของเราจะต้องมีลักษณะแบบนี่

    ชื่อบทความ
    1 คำจากประโยคแรกของ 1st paragraph  — 1 คำจาก 1st paragraph
    1 คำจากประโยคแรกของ 2nd paragraph  — 1 คำจาก 2nd paragraph
    1 คำจากประโยคแรกของ 3rd paragraph  — 1 คำจาก 3rd paragraph 
    1 คำจากประโยคแรกของ 4th paragraph  — 1 คำจาก 4th paragraph
    1 คำจากประโยคแรกของ 5th paragraph  — 1 คำจาก 5th paragraph

    ** 1 คำจากประโยคแรกของแต่ละ paragraph ≠ 1 คำจากแต่ละ paragraph  เลือกคนละคำกัน **

    Critical reading skills (** ฝึกเทคนิคนี้วันละ 5 - 20 นาที, ทำอาทิตย์ละ 4 - 6 วัน **)

    Foundation comprehension 

    1. ระหว่างที่เราอ่านบทความไปให้นึกถึงชื่อบทความด้วย เพื่อที่เราจะได้ไม่หลุด focus ว่าบทความนี้เกี่ยวกับอะไร
    2. ระหว่างที่เราอ่านต้องรู้ว่าสิ่งที่กำลังอ่านอยู่นั้นอยู่ในช่วงต้น กลาง หรือ ท้ายของบทความ
    3. เข้าใจประโยคที่กำลังอ่านอยู่
        1) อ่านในเชิง grammatical chucks - อ่านแบบเป็นกลุ่มๆ
            โดยเราต้องสนใน S (ประธาน) V (กริยา) และ O (กรรม) เพราะจะช่วยเราในการ paraphrase ได้
        2) visualize - จำลองภาพในสิ่งที่เราอ่าน จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น
        3) เลือก 1 คำหลักที่แทนความหมายของประโยคนั้นๆ เพื่อที่เราจะได้จำและเข้าใจในประโยค
            ที่เรากำลังอ่านอยู่ และเพื่อให้เรา focus กับการอ่านมากขึ้น
    4. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประโยคที่เราอ่านอยู่กับประโยคก่อนหน้า 
        เช่น ประโยคที่เรากำลังอ่านอยู่เป็นการอธิบายประโยคก่อนหน้ามากขึ้น หรือ ประโยคที่เรากำลังอ่าน
                อยู่เป็นการยกตัวอย่างของประโยคก่อนหน้า
    5. คาดการณ์ประโยคถัดไป
    6. อ่านบทความ 160 คำต่อ 1 นาที 

    จบแล้วค่าาาาสำหรับเทคนิคในการทำพาร์ท Reading ยาวมากๆ เลย แต่ว่าก่อนที่เราจะไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆ พิ้งว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการฝึก comprehension  นะคะทุกคน เพราะฉะนั้นอยากให้ทุกคนฝึกอันนี้กันเยอะๆ เลย มันช่วยในการทำพาร์ท Reading (แอบกระซิบว่าพิ้งฝึกเทคนิคนี้แล้วเอาไปใช้ตอนสอบ IELTS ด้วยค่ะ ทำให้คะแนนออกมาค่อนข้างดีเลย) ถ้าหากตรงไหนพิ้งอธิบายไม่เข้าใจหรือสงสัยตรงไหนสามารถคอมเม้นทิ้งไว้ได้เลยนะคะ จะพยายามมาตอบให้ได้เลยค่า :-)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in