เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
キキの日記 (Kiki no Nikki)Naomi
03 ー 知的な言い方:พูดภาษาญี่ปุ่นให้ไพเราะรื่นหูแบบพี่สาวชิโนบุ (2/2)
  • #kikinonikki

    (บันทึกนึกขึ้นได้ของ Kiki)

              สวัสดีค่าเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ เป็นยังไงกันบ้างฝึกเปลี่ยนคำวะโกะเป็นคำคังโกะได้กี่ข้อกันเอ่ยยยย แหนะ ไหนใครงงว่าเรากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ แสดงว่ายังไม่ได้อ่าน series พูดภาษาญี่ปุ่นให้ฟังดู "ฉลาด" ตอนที่ 1 กันใช่แมะ ทุกคนจิ้มลิงค์เข้าไปอ่านตอนที่ 1 ก่อนได้เลยยย

    มารีแคปกันซักนิส อย่างที่เราพูดไปแล้วว่า เทคนิคที่จะทำให้เราพูดภาษาญี่ปุ่นให้ดูฉลาด ดูผู้ดี ดูลูกคุณ ดูเรียบร้อยไพเราะรื่นหูเนี่ยจริง ๆ แล้วมันก็มีสารพัดร้อยแปดพันวิธี แต่ใน series นี้เราขอแนะนำเทคนิคเรื่อง การใช้ approach ในระดับคำศัพท์ และใน approach นี้จะขอพูดถึงวิธีการง่าย ๆ แค่เพียง 3 วิธีเท่านั้น

              ในตอนที่ 1 ได้พูดถึงไปแล้ว 2 วิธี คือ การหลากคำเพื่อไม่ให้ฟังดูซ้ำซากจำเจ และการเปลี่ยนจากคำวะโกะมาเป็นคำคังโกะ เมื่อเราเปลี่ยนมาใช้คำคังโกะแล้วมันก็จะทำให้เราฟังดูหนักแน่น ทางการ ชัดเจน จริงจังขึ้น แต่ถ้าในบางครั้งเราไม่ได้ต้องการให้มันฟังดูชัดเจนโดดเด่นจนเกินไปล่ะเราจะทำยังไง ในตอนที่ 2 นี้เราเลยจะมาพูดถึงอีกวิธีการนึงคือ การพูดอ้อม ๆ หรือการเลี่ยงคำ (ในระดับคำศัพท์) เพื่อให้น้ำหนักของคำมันเบาบางลงและเพื่อให้ฟังดูผู้ดี ไม่หยาบคาย ฟังดูไพเราะรื่นหูมากขึ้นอีกด้วย

              ถึงแม้ว่าเราจะไม่ใช่ลูกคุณจากตระกูลผู้ดีชั้นสูงอย่างพี่สาวชิโนบุ แต่เราก็สามารถอัพเกรดคำพูดของเราให้ฟังดูเป็นหญิงสาวเรียบร้อยพูดน้อยยิ้มเก่งแบบพี่สาวชิโนบุได้ ไปดูกันเรยจ้า

    **(คำเตือน: อาจมีคำไม่สุภาพเร้กน้อย แต่ยกขึ้นมาเพื่อการศึกษานะคะทุกท่าน)**

    3.  การพูดอ้อม ๆ การเลี่ยงคำ

              ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่าสังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นเป็นสังคมที่อาศัยบริบทอย่างมาก และภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ชอบพูดอ้อม เพราะโดยพื้นฐานแล้วคนญี่ปุ่นจะคำนึงถึงความรู้สึกของผู้ฟังอย่างมาก ยิ่งเกรงใจมากก็ยิ่งอ้อมมมมมมาก อ้อมไปนู้น ดังนั้นเวลาใช้ภาษาญี่ปุ่นเราต้องคำนึงถึงหลาย ๆ เรื่องเลย เช่น ต้องเข้าใจจุดยืนก่อนว่าเราเป็นใครในการสนทนานี้ ความสัมพันธ์ของเรากับคู่สนทนาเป็นยังไง บริบทท่ี่สนทนาอยู่คืออะไรกำลังพูดถึงอะไร และเราต้องระมัดระวังคำพูดมากเท่าไหร่

              โดยหลัก ๆ แล้วจะมี 4 กรณี ที่มักจะพูดอ้อม หรือเลี่ยงคำ คือ

    1. เวลาที่พูดถึงสิ่งไม่น่ามอง

              สิ่งที่ไม่น่ามองคิดว่าไม่ค่อยต่างจากภาษาไทยมาก ส่วนใหญ่มักจะเป็นสิ่งที่สกปรก เหตุการณ์รุนแรง ความตาย เรื่องทางเพศ รวมถึงกิจกรรม 18+ ด้วยนะจ๊ะ ตัวอย่างที่นึกออกง่าย ๆ เลย เช่น คำว่า "ตาย" ในภาษาไทยมีระดับคำเยอะมาก ในภาษาญี่ปุ่นก็มีเช่นเดียวกัน หรือตอนที่เราจะ "ไปห้องน้ำ"  ภาษาไทยก็มีการไล่ระดับความสุภาพจากน้อยไปมากประมาณนี้

    ไปเ_ี่ยว/ไป_ี้     →     ไปฉี่/ไปอึ      →     ไปส้วม     →    ไปถ่ายเบา/ไปถ่ายหนัก     →    ไปห้องน้ำ/ห้องสุขา     →    ไปทำธุระ (ส่วนตัว)

              ในภาษาญี่ปุ่นก็มีคำเรียก "ห้องน้ำ" ที่แตกต่างกันไปเช่นกัน ที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น

    1.1 便所

    • คิดว่าถ้าแปลเป็นไทยก็น่าจะประมาณห้องส้วมมั้งนะ จริง ๆ ถ้าแปลตรงตัวตามคันจิเลยก็อาจจะประมาณว่า เอ่อ "ห้องปลดปล่อย" งี้หรอ5555555
    • ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายใช้กับเพื่อนที่สนิทกัน แต่ก็อย่างว่านะมันก็ไม่ได้เป็นคำที่สวยหรูดูสุภาพซักเท่าไหร่ เช่น 俺ちょっと便所行ってくるわー。(Goo ไปเ_ี่ยวแปป)

    1.2 トイレ

    • มาจากภาษาต่างประเทศ "toilet" น่าจะเป็นคำศัพท์กลาง ๆ ที่สุด ใช้กันทั่ว ๆ ไป เช่น ちょっとトイレ行ってくるね。(ไปห้องห้องน้ำแปปนะ)

    1.3 お手洗い、洗面所

    • แปลเป็นภาษาไทยแบบตรงตัวว่า "ที่ล้างมือ" ฟังดูสุภาพขึ้นมากว่า トイレ เพราะการล้างมือเป็นส่วนหนึ่งเล็ก ๆ ของการไปเข้าห้องน้ำ ดังนั้นจึงเอาการล้างมือ (ส่วนเล็ก) มาแทนความหมายว่าไปเข้าห้องน้ำ (ภาพรวม) ได้ด้วย เช่น ちょっとお手洗いに行ってきます。(ขอไปทำธุระสักครู่)

    1.4 化粧室

    • แปลเป็นภาษาไทยแบบตรงตัวว่า "ห้องแต่งหน้า" นิยมใช้ในหมู่สาว ๆ ที่ไม่ต้องการพูดตรง ๆ ว่าจะไปเข้าห้องน้ำ ก็จะพูดอ้อม ๆ แทนว่าจะไปเติมเครื่องสำอางค์ (แน่นอนว่าคำนี้ผู้ชายไม่ใช้นะ) เช่น ちょっと化粧直しに行ってくるね。(ไปเติมหน้าแปปนะ)

              นอกจากสี่คำข้างบนที่นิยมใช้กันแล้วก็ยังมีการนำภาษาอังกฤษ (カタカナ語) มาใช้ด้วย เช่น
    • レストルーム:restroom
    • バスルーム:bathroom
    • WC (ウォータークローゼット):water closet
    • パウダールーム:powder room
    • ラヴァトリー:lavatory
              แล้วก็ไปนั่งหามาเพิ่มเติมก็ไปเจอคำที่น่าสนใจอื่น ๆ ด้วย เช่น
    • スイッチルーム:switch room (ประมาณว่าเป็นที่ที่มาเพื่อ "เปลี่ยนบรรยากาศ") ดูเหมือนว่าคำนี้จะเป็นที่นิยมใช้กันอย่าง casually อยู่ช่วงนึงด้วย
    • ハッピールーム:happy room 55555555555 อันนี้คิดว่าไม่น่าจะมีคนที่ใช้ในชีวิตประจำวันจริง ๆ แต่เหมือนคนก็คิดค้นคำน่ารัก ๆ ขึ้นมาใช้เล่น ๆ กันเอง ก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีเลยเอามาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันด้วย คิดว่า concept ของคำนี้ก็น่าจะให้ความรู้สึกเดียวกับ "ห้องสุขา" ในภาษาไทยล่ะมั้ง

              * ขอเม้าท์หน่อยแก *  

              ตอนเราไปอยู่ที่ญี่ปุ่น มีอาจารย์คนญี่ปุ่นท่านหนึ่งของเราได้ให้ความเห็นและข้อสังเกตที่น่าสนใจมากว่า ปัจจุบันนี้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็นิยมเรียก "ห้องน้ำ" ว่า お手洗い (ที่ล้างมือ) กันเป็นปกติ ทำให้พอพูดว่า お手洗い การรับรู้หรือภาพที่ได้ก็จะเป็น お手洗い (ที่ล้างมือ) = トイレ (ห้องน้ำ) ทันที หมายความว่า เมื่อก่อนอาจมีการเลี่ยงคำว่า 便所、トイレ เปลี่ยนมาพูดอ้อม ๆ ให้ฟังดูสุภาพขึ้นว่า お手洗い  แต่พอเวลาผ่านไป คำว่า お手洗い ในการรับรู้ของคนญี่ปุ่นก็กลายเป็นมาแปลตรงตัวว่า "ห้องน้ำ" ไปแล้ว ทำให้หลัง ๆ มานี้ก็อาจจะเห็นแนวโน้มการใช้คำว่า 化粧室 มากขึ้น
              ส่วนตัวเราคิดว่านี่เป็นปรากฏการณ์ทางภาษาที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา คำที่วันนี้เราใช้เพื่อความสุภาพ ในอนาคตความสุภาพอาจจะค่อย ๆ เบาบางลงจนวันนึงกลายเป็นคำที่ไม่สุภาพและไม่ใช้ในชีวิตประจำวันแล้วก็ได้ อย่างเช่นคำว่า 貴様、お前

    2. เวลาที่จะพูดแล้วทำให้คนอื่นดูไม่ดี/รู้สึกไม่ดี
              คำที่จะทำให้คนอื่นดูไม่ดี/รู้สึกไม่ดี ก็อย่างเช่นคำที่ใช้ตำหนิ เช่น อ้วน เตี้ย ขี้งก หัวโล้น หัวรั้น เราสามารถพูดอ้อม ๆ หรือเลี่ยงคำให้มันฟังดู positive ขึ้นและไม่หยาบคายได้ เช่นเดียวกับในภาษาไทยเลย เช่น 
    • デブ (ไออ้วน)     →     大柄な、たくましい、貫禄がある、恰幅が良い  (ดูตัวใหญ่ สมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง)
    • チビ (ไอเตี้ย)     →     小柄な、ミニ  (ตัวเร้กกกกก)

    3. เวลาที่จะรบกวนคนอื่น (ขอร้องไหว้วาน ปฏิเสธ ขอโทษ)
              การจะไปรบกวนคนอื่น หมายถึง การไปขอร้องไหว้วานให้คนอื่นทำอะไรให้เรา การปฏิเสธคำชวน การปฏิเสธที่จะไม่ช่วยเหลือ/ไม่ตอบรับข้อเสนอ รวมไปถึงการปฏิเสธอื่น ๆ และการขอโทษ การให้เหตุผล และการแก้ตัว
              คิดว่ารูปประโยคแบบนี้เพื่อน ๆ ที่เรียนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นมาน่าจะพอนึกออกได้ไม่ยากนะคะว่ากว่าเราจะเอ่ยปากขอร้องใครได้ต้องเกริ่นเลียบ ๆ เคียง ๆ มาก่อนยาววววววววมากกว่าจะเข้าใจความหลักได้
              ในการปฏิเสธก็มักจะลดเสียงให้เบาลงเอื่อยลงแล้วตัดจบประโยคไปเลย เหมือนกับว่าละการปฏิเสธนั้นไว้ในฐานที่เข้าใจ หรือไม่ก็อาจจะมีสำนวนอ้อม ๆ ประมาณว่า 行けたら行くね。 (ถ้าไปได้ก็จะไปนะ) หรือ  考えさせてください。 (ขอคิดดูก่อน) ซึ่งแปลว่า "ชั้นปฏิเสธนะจ๊ะ"

    4. เวลาที่จะพูดถึงเรื่องส่วนตัว (เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว)

              แน่นอนว่าเวลาที่เราจำเป็นจะต้องพูดเรื่องส่วนตัว แต่ก็ไม่อยากจะลงดีเทลอะไรมากมายเพราะอยากรักษาความเป็นส่วนตัว เราก็สามารถพูดอ้อม ๆ หรือเลี่ยงคำได้เพื่อไม่ให้มันฟังดูตรง ดูชัดเจน และรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวของเรามากเกินไป เช่น


    • 下痢 (ท้องเสีย)     →     体の調子が悪い、体調不良  (condition ร่างกายไม่ค่อยโอเค)
    • เวลาที่ต้องเขียนเหตุผลในการลาออกลงในจดหมายลาออก คนญี่ปุ่นก็นิยมเขียนไปสั้น ๆ ง่าย ๆ ได้ใจความเลยว่า 一身上の都合  (เหตุผลส่วนตัว)



    โอ้โห นึกว่าจะสั้น ๆ มันยาวกว่าที่คิดมาก55555 เอาเป็นว่า คำบางคำหรือเรื่องบางเรื่องเราอาจจะพูดกันเป็นปกติในภาษาไทย แต่พอมาพูดภาษาญี่ปุ่นแล้ว ผู้ฟังคนญี่ปุ่นอาจจะมองว่าเราพูดตรงเกินไปแม้ในหลาย ๆ ครั้งเราก็ไม่ได้ตั้งใจให้คำพูดมันออกไปแรงหรือตรงแบบนั้น ดังนั้น การจะพูดภาษาอะไรก็ตามให้ดูฉลาด คลังคำศัพท์เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในภาษาญี่ปุ่นอาจจะต้องระมัดระวังในเรื่องบริบทรอบข้างด้วย และขอสรุปสั้น ๆ ว่าใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือถ้าเราเลือกใช้คำศัพท์ใด้ถูกต้องตามความหมาย ตามกาลเทศะและสถานการณ์ เราก็จะดูฉลาดอย่างเป็นธรรมชาติแน่นอนค่ะ


    #kikinonikki

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
k.l.k (@k.l.k)
ห้องน้ำมีคำเยอะมากๆเลย พอใช้คำ カタカナเช่น バスルーム แล้ว นอกจากจะเลี่ยงไม่พูดทำให้เกิดความสุภาพแล้ว ยังรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นห้องน้ำที่ทันสมัยด้วย คำว่า ハッピールーム ขำดี ไม่เคยได้ยินเลย