เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
intern.rotten.tomato
05 : Challenge (again).
  • หลังจากที่คอนเทนต์ well-read ปล่อยออกไปไม่นาน
    งานมอบหมายชิ้นต่อไปของเราก็เริ่มต้นอีกครั้ง

    การคิด content ในครั้งนี้เป็นเหมือนการเก็บตกไอเดียจากครั้งก่อน ๆ ที่ถูกปัดตกไปมาลองใช้ใหม่ดู
    เราสองคนที่ยังไม่(อยาก)ยอมแพ้จากไอเดียชวนคนอ่านมาทำกิจกรรมด้วยกัน ก็เลยอยากลองเอามันนี้มาคิดต่ออีกรอบ

    โดยการเริ่มต้นเอาฟีดแบ็คที่ได้รับจากการประชุมในครั้งก่อนมาลิสต์ดูว่า มีอะไรที่พลาดหรือมีไอเดียอะไรถูกพูดถึงขึ้นมาระหว่างการประชุมในวันนั้นแล้วน่าสนใจ สามารถเอามาใช้ได้บ้าง

    ปรากฏว่ามีหนึ่งคำที่พี่โจ้เป็นคนปิ๊งแว้บไอเดียขึ้นมา คือคำว่า 'ออกกำลังอ่าน'

    เราเลยคิดกันว่างั้นทำคอนเทนต์เกี่ยวกับการชวนคนอ่านให้มาอ่านหนังสือไปพร้อม ๆ กันกับเราดีไหม
    แล้วใช้รูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ให้ออกมาคล้าย ๆ กับตารางออกกำลังกาย ชวนกันขยับกล้ามเนื้อลูกตา ขยับกล้ามเนื้อหัวใจ

    ไอเดียนี้ทุกคนในทีมเห็นตรงกันว่าน่าสนุกดี ให้ลองทำดูเลย
    โดยมีโจทย์อย่างนึงว่ากิจกรรมที่เราจะชวนคนอ่านมาทำเนี่ย จะต้องเป็นกิจกรรมที่เขามี interact กับเราด้วยนะ ไม่ใช่แค่การโพสต์ไปเฉย ๆ อย่างเดียวแล้ว 

    พอเคาะคอนเซปต์เรียบร้อยปุ้บ หน้าที่ของเราสองคนคือต้องมาคิดว่าจะทำยังไงให้กิจกรรมนี้สนุก
    จะทำยังไงให้คนอ่านสนุกได้มากเท่ากับที่พวกเรารู้สึกสนุกกันตอนเสนอไอเดียดีนะ

    เราสองคนเริ่มจากการร่างกิจกรรมที่คิดกันไว้ หาเรฟเฟอร์เรนซ์จากโปรแกรมและ application ออกกำลังกายว่ามีลูกเล่นตรงไหนที่เราสามารถดึงมาปรับใช้กับงานในครั้งนี้ได้บ้าง

    เราได้ gimmick ของ challenge ออกกำลังกายอย่างการเริ่มต้นออกกำลังกายแบบเบา ๆ ก่อน จากนั้นค่อยหนักขึ้น สลับกันไป บวกกับการมี cheat day หรือวันที่ไม่ต้องออกกำลังกายอยู่ด้วย เลยเอาไอเดียนี้มาลองใช้กับคอนเทนต์ 'ออกกำลังอ่าน' ดู

    ตารางการออกกำลังอ่านที่เราคิดกันไว้ มีทั้งหมด 30 วัน
    ไล่ระดับจากกิจกรรมที่ง่าย ไปหากิจกรรมที่เริ่มมีความยากมากขึ้น
    เริ่มต้นวันแรก ๆ ด้วยการชวนคนอ่านให้อ่านหนังสือเบา ๆ เล่มบาง ๆ ก่อน
    หรือล้อเลียนกับตารางการออกกำลังกายของจริงเล็กน้อย ด้วยการใช้คำว่ายืดกล้ามเนื้อ

    แล้วก็อ้างอิงจากกราฟฟิกที่ไม่ใช้ในคร้้งก่อน จนออกมาเป็นดราฟแรกแบบนี้ 


    คือมีทั้งกิจกรรมวอร์มร่างกายด้วยการอ่านหนังสือที่ซื้อเก็บไว้นานแล้ว / อ่านหนังสือเล่มที่บางที่สุดให้จบเล่ม / อ่านมังงะที่ชอบ / Cheat Day พักฟัง readery podcast / เลือกหนังสือหมวด fiction มาอ่าน / บริหารกล้ามเนื้อลูกตาด้วยการมองหาว่าใครคือผู้ร้ายในนิยายสอบสวน / เพิ่มกล้ามเนื้อแขนด้วยการอ่านหนังสือเล่มที่หนาที่สุด 

    ฟีดแบ็คที่ได้รับหลังจากการเสนอดราฟแรกในระหว่างการประชุมคือ
    กิจกรรมบางอย่างที่เราคิดกันไว้ยังใช้ไม่ได้ เพราะบางอย่างก็ยังไม่ชวนให้คนอ่านอยากจะมี interact หรือความอยากร่วมเล่นกับกิจกรรมของเรามากเท่าไหร่ เหมือนแค่โพสไว้เฉย ๆ  

    ส่วนกิจกรรมบางอย่างก็ยากเกินไป
    ยกตัวอย่างเช่นกิจกรรมอ่านวรรณกรรมคลาสสิคให้จบเล่มในหนึ่งวัน 
    พี่โจ้ให้เราลองติ๊งต่าง มองมุมกลับดูว่าถ้าเราเป็นคนเล่น เราจะทำได้ไหม

    เราหัวเราะ แล้วบอกว่าคงทำไม่ได้แน่เลย พี่โจ้เห็นด้วย
    บอกว่าเห็นไหม ถ้าเรายังว่ายาก คนอื่นก็ว่ายากเหมือนกัน เวลาจะคิดกิจกรรมอะไร ให้ลองคิดง่าย ๆ เหมือนกับว่า กิจกรรมพวกนั้นเป็นกิจกรรมที่ทุกคนใน readery ทำได้ ถ้าคิดว่าทุกคนตรงนี้ทำได้ กิจกรรมนั้นก็ใช้ได้

    พี่โจ้กับพี่เน็ทเสนอว่าให้เราลองเพิ่ม creativity ลงไปในกิจกรรมบางอย่างดู
    อย่างกิจกรรม weight day ที่ชวนให้คนอ่านมาโพสรูปหนังสือที่ตัวเองมีอยู่ทั้งหมดแทนการชั่งน้ำหนัก หรือการจับคู่หนังสือกับเพลง พี่โจ้บอกว่าแบบนี้ดี มันน่าสนุก อยากเล่น และเหตุผลที่ทำให้รู้สึกแบบนั้น นั่นเป็นเพราะว่าเต็มไปด้วย creativity ไง

    แล้วก็ต้องแก้เรื่องภาษาด้วย ปรับคำให้สั้นลง เพราะถ้ายาวไปมันอาจจะทำให้ความสนใจลดน้อยลง
    ใช้คำให้สั้น และบอกให้ชัดเจนไปเลยว่ากิจกรรมนี้เราจะให้คนเล่นทำอะไรบ้าง

    รวมถึงระยะเวลาในการทำ challenge ที่ค่อนข้างนานไปนิดหน่อย
    ถ้าลองลดจำนวนวันลงไปหน่อย อาจจะทำให้สนุกขึ้นได้นะ

    และนี่คือบางส่วนของดราฟแรกที่เราต้องแก้ไข


    สำหรับฟีดแบ็คในส่วนของกราฟฟิกเองก็มีส่วนต้องแก้เหมือนกัน
    งานที่ผ่านมา เราสองคนพยายามจะรักษา mood และ tone ของ readery ไว้ให้มากที่สุด
    แต่ตอนประชุมงานในครั้ง พี่โจ้กับพี่เน็ทอยากให้งานชิ้นนี้ทำออกมาเป็นสไตล์งานที่เรากับเนยถนัดเลย
    เพราะเป็นงาน content ชิ้นสุดท้ายก่อนที่เราสองคนจะฝึกงานเสร็จ เพื่อที่ว่าเราสองคนจะได้มีผลงานที่เป็นสไตล์ของตัวเองไปใส่ในพอร์ต

    กราฟฟิกลองร่างไว้ในดราฟแรกก็เลยถูกพับเก็บไว้

    เราสองคนกับเนยกลับมานั่งจุ้มปุ้กใหม่ ครั้งนี้ไอเดียเคาะแล้ว คอนเซปต์เคาะแล้ว
    ติดแค่รูปแบบการนำเสนอและกราฟฟิก 

    ปัญหาที่ตามมาหลังจากนั้นคือการแบ่งงาน
    ด้วยความที่สไตล์งานของเรากับเนยมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก
    ถึงก่อนหน้านี้มีการทำงานด้วนกันมาหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีใครไหนเลยที่จะมีโอกาสได้เอาผลงานของแต่ละคนมารวมกันในงานชิ้นเดียวแบบนี้ ฮ่า 

    เราคิดกันอยู่นาน จนได้ข้อสรุปว่า 
    งั้นให้เนยทำในส่วนของการร่างภาพ ส่วนเรื่องลงสีจะเป็นหน้าที่เราเอง 
    หนึ่งเพราะเนยใช้เวลาทำงานเร็ว ถ้าให้เราซึ่งใช้เวลาทำงานนานกว่าเป็นคนวาด 
    กระบวนการที่เหลือก็จะช้า 

    ดังนั้น การแบ่งแบบนี้ ทำให้ในระหว่างที่เราลงสีภาพแรก 
    เนยก็สามารวาดภาพที่สองได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องรอ

    พอสรุปได้แบบนั้นปุ้บ เราสองนก็เริ่มลงมือทำงานต่อทันที
    จนได้ร่างแรกของภาพประกอบใหม่จากเนยแบบนี้




    เราก็รับมาลงสีต่อคร่าว ๆ และแก้ไขเล็กน้อยหลังจากได้รับฟีดแบ็คครั้งแรก



    จนออกมาเป็นงานไฟนอลแบบนี้




    เราสองคนเอาภาพประกอบและกิจกรรมที่คิดขึ้นมาใหม่ไปเสนอระหว่างประชุมอีกครั้ง
    ฟีดแบ็คที่ได้กลับมาในวันนั้นคือ กิจกรรมดีแล้วนะ แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่ากิจกรรมที่คิดมาเนี่ย
    มันไม่ค่อยเกี่ยวกับการออกกำลังอ่านเท่าไหร่แล้ว

    ( เรากับเนยเตรียมกรี้ดอีกรอบ )

    ทุกคนในทีมเลยมาคุยกันอีกรอบว่าเอายังไงดีนะ จะลองเปลี่ยน wording ดูดีมั้ย
    ทิ้งคำว่าออกกำลังอ่านไปเลย เพราะดูจากภาพประกอบแล้วก็กิจกรรมที่คิดมา
    อาจจะกลายเป็นการทำให้ไอเดียของออกกำลังอ่านไม่ชัดเจนแล้วก็ไม่แข็งแรงแล้ว

    คุยกันอยู่นาน จนได้ข้อสรุปว่า เราอาจจะต้องทิ้งไอเดียออกกำลังอ่านไป 
    แล้วก็ปรับรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ใหม่เล็กน้อย

    เปลี่ยนจากการออกกำลังอ่าน มาเป็นการชวนให้คนอ่านทำ challenge ที่เกี่ยวกับหนังสือเฉย ๆ
    อาจจะไม่ต้องอ่านก็ได้ แต่เป็นการเอาหนังสือมาเล่นสนุกในรูปแบบต่าง ๆ แทน เพื่อทำให้คนรู้สึกว่า
    ความจริงแล้วหนังสือก็ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อนะ 

    ถ้าทำแบบนี้แล้ว นอกจากจะชวนให้คนอ่านที่ชื่นชอบหนังสืออยู่แล้วมาร่วมสนุกด้วยกันได้แล้ว 
    ยังชวนคนที่ไม่ได้ชื่นชอบหนังสือมากนักมาสนใจเพิ่มได้ด้วย

    เรากับเนยลองเสนอไปว่าถ้าอย่างงั้นเราทำเป็นรูปใหญ่ลงไปก่อนในวันแรก เพื่อชวนให้คนอ่านเกิดความสนใจแล้วก็อยากติดตามดูก่อนดีไหม แล้ววันต่อ ๆ มาที่เป็นกิจกรรมในแต่ละวัน ค่อยลงภาพประกอบการทำกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อทำให้คนอ่านเข้าใจมากขึ้นว่าต้องทำอะไรบ้าง

    พี่โจ้กับพี่เน็ทเห็นด้วยกับไอเดียนี้ แล้วก็แนะนำให้เราลองไปหาเรฟเฟอร์เรนซ์จากที่ต่าง ๆ มาเป็นไอเดีย
    ว่าแต่ละที่มีวิธีการนำเสนอยังไงให้คอนเทนต์ที่เราคิดมีความน่าสนใจมากขึ้น

    สรุปจากการประชุมครั้งนั้นคือเรากับเนยต้องวาดภาพประกอบรวมทั้งหมด 11 ภาพในรูปแบบคล้าย ๆ กับการ์ตูนช่อง เพื่อใช้ลงในกิจกรรมแต่ละวันและทำให้คนอ่านเห็นภาพรวมว่าจะกิจกรรมนี้เกี่ยวกับอะไรบ้าง

    นี่คือร่างแรกของภาพประกอบใหญ่ที่เราสองคนทำใหม่ รวมถึงปรับกิจกรรมให้มีความสนุกเพิ่มขึ้น


    และปรับแก้เรื่องการใช้คำให้สั้นลง ปรับชื่อใหม่เป็น '10 day challenge สิบวันสิบกิจกรรม'
    รวมถึงเรียงลำดับกิจกรรมใหม่เล็กน้อย



    จนออกมาเป็นงานไฟนอล (จริง ๆ) แบบนี้



    และออกมาเป็นโพสแรกแบบนี้



    และตัวอย่างของโพสแยกในแต่ละวันแบบนี้



    ฟีดแบ็คหลังจากการปล่อย content นี้ออกไปแล้ว ก็มีทั้งคนอ่านที่เข้ามาส่งการบ้านในแต่ละกิจกรรม และคนอ่านที่เซฟรูฟไปเล่นเองในแท็ก #10daybookchallenge ทั้งทวิตเตอร์และเฟสบุ้คอย่างล้นหลาม

    เรียกได้ว่างานนี้นอกจากจะเป็นคอนเทนต์ที่ challenge คนอ่านให้มาทำกิจกรรมด้วยกันแล้ว
    ยังเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ที่ challenge ทีมคิดกันไม่น้อยเลย ฮ่า


    และสำหรับบทเรียนในครั้งนี้คงหนีไม่พ้น :
    Challenge อะไรไม่เท่า Challenge ตัวเอง
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in