เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บทความ (Article)mary mist
Glory to the city : literary city in the nineteen century
  • Glory to the City : Literary City in the Nineteen and Twenty Century

    By. MARY MIST




     

              การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในวรรณกรรมในยุคศตวรรษที่19 จนถึงยุคศตวรรษที่ 20 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สองของสหราชอาณาจักรสู่ความเป็นเมือง แสดงให้เห็นถึงการกลายสภาพของพื้นที่สู่ความเป็นเมืองในยุคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับความเป็นจริงในประวัติศาสตร์หรือจากหนังสือสงครามที่แท้จริงแล้วสหราชอาณาจักรไม่ได้มีความเจริญรุ่งเรืองโดยแท้จริงตามคำจากประวัติศาสตร์ ติดตามสภาพการกลายเป็นเมืองอย่างลึกซึ้งพร้อมทั้งได้รู้ถึงสภาพความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงจากคนในยุคนั้นของสถานที่ที่รู้จักกันดีและได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งความเจริญรุ่งเรือง “จักรวรรดิอังกฤษ”

     

     

     

              เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการเจริญเติบโตไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจหรือด้านเทคโนโลยี สหราชอาณาจักรได้ถูกสลักไว้ซึ่งชื่อแห่งความรุ่งโรจน์ ไม่เพียงแค่ผู้คนต่างแดนเท่านั้นที่มองเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและเยินยอ แต่ผู้คนในจักรวรรดิอังกฤษก็สรรเสริญไม่แพ้กัน ในยุคแห่งสงครามที่เริ่มจะถึงจุดจบมันยากที่จะลืมความเจ็บปวด เมื่อถึงคราวเจริญก็ปรีดาเป็นธรรมดา หากแต่ว่าผู้คนกลับให้ความสนใจแต่ความรุ่งเรืองมากเกินไป การเกิดโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กลางเมืองหลวงหรือการเกิดห้างสรรพสินค้าขึ้น ราวกับชีวิตใหม่ ผู้คนชื่นชมความสวยหรูจนลืมนึกไปว่าความเจ็บปวดและความยากลำบากยังคงอยู่ ความเจริญในช่วงนั้นอาจเป็นเพียงภาพเปลือกเท่านั้น ทั้งนี้ผู้เขียนต้องการจะแสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิตและสภาพของเมืองที่มีผลต่อผู้คนเหล่านั้น เพื่อให้เห็นถึงความเป็นจริงว่าแท้จริงแล้วการเจริญเติบโตของพื้นที่มาสู่เมืองในยุคนั้นได้สะท้อนสภาพสังคมออกมาอย่างไรบ้าง และจากการศึกษางานวรรณกรรมผู้เขียนพบว่าผู้คนในประเทศอังกฤษไม่ได้มีความสุขสบายจากการกลายเป็นเมืองอย่างที่คนภายนอกมองหรือแม้แต่คนในประเทศเองที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงท่ามกลางการเจริญรุ่งเรือง

     



    ความรุ่งโรจน์


              ความรุ่งโรจน์อาจเรียกได้ว่าเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ในงานชิ้นนี้ผู้เขียนต้องการจะสื่อถึงสภาวะก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังจากเปลี่ยนแปลงโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาสู่ความเจริญเหล่านั้น ความหมายที่แท้จริงของความรุ่งโรจน์อาจไม่ได้หมายถึงความร่ำรวยในทรัพย์สินหรือการทำรายได้จากการค้าขายเพียงอย่างเดียว แต่หากหมายถึงสิ่งที่ช่วยสร้างให้พื้นที่เดิมกลายเป็นอาณาเขตที่กว้างขวางขึ้นจนกลายมาเป็นเมืองและประเทศในที่สุด

                นิยามของความรุ่งโรจน์มีหลายคนให้คำจำกัดความไว้ ผู้เขียนจะขอยกคำจำกัดความของ คาร์ล ดี. คัวล์ลส์ ที่เคยเขียนไว้ในงานของเขา


    “ The process of replanning and rebuilding cities after the devastation of the Second World War was one of many ways that the Soviet party/state attempted to repair its image in the eyes of the population after nearly thirty years of disorientation. The creation of socialist spaces was part of a larger project of creating a new system and a new society, but the process and rationale are still poorly understood.”  Qualls, Karl D., "Accommodation and Agitation in Sevastopol: Rede ning Socialist Space in the Postwar 'City of Glory'" (2002). 

    กระบวนการการสร้างเมืองกลับขึ้นมาหลังจากถูกทำลายในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งการวางแผนในคราวนี้นับเป็นการทำเพื่อสังคมอย่างถ่องแท้ ผู้นำของประเทศเข้าช่วยเหลือในหลาย ๆ ด้าน จากคำอธิบายถึงกระบวนการข้างต้นได้มีใจความตรงตามที่ผู้เขียนสนใจและเกิดกระบวนการเหล่านี้ในช่วงหลังสงครามโลก ซึ่งเพื่อความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความรุ่งโรจน์จะขอยึดเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเมืองจากยุคสงครามโลกเป็นหลัก นอกจากนี้เขายังได้เอ่ยถึงสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นหลังปรากฏการณ์นี้อีก

    “ Many planners wanted a socialist space that met the population’s needs through communal living, eating, childcare, laundry and more

    เขามุ่งประเด็นไปที่สิทธิของประชาชนเป็นหลัก แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ควรเกิดขึ้นหลังจากได้ชื่อว่าเป็นยุคแห่งความรุ่งโรจน์ การเป็นอยู่ที่ดี สุขอานามัยต่าง ๆ และผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับสิทธิเหล่านี้จากการทำงานวิจัยในครั้งนี้เช่นกัน

     

    Chapter 1

    Modern Time of The Modern World

     

    Modernism in World and England


              นับตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้คนต่างพยายามปรับตัวและดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตรอดในยุคใหม่ที่กำลังคืบคลานเข้าใกล้จุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแห่งยุค ทั่วโลกเผชิญสภาวะปัญหาเดียวกัน ต่างดิ้นรนเพื่ออยู่รอดไม่ว่าจะเป็นการเริ่มหางาน ไม่เพียงแต่คนที่อยู่ในเมืองเท่านั้น เมื่อความเจริญและความเป็นยุคสมัยใหม่กำลังเข้ามาผู้คนที่อยู่ไกลออกไปตามเมืองหลวงก็มุ่งเข้ามาเพื่อทำงานเช่นกัน


                ยุคแห่งการผลัดเปลี่ยนเริ่มต้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ความใหม่เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาบางอย่างในตัวของผู้คน พวกเขาต้องการที่จะทำงานในโรงงานที่เกิดขึ้นใหม่ เสมือนเป็นโอกาสอันดีงามหลังสงครามที่ควรไขว้คว้าเอาไว้ พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ตระหนักถึงคำว่า “ยุคสมัยใหม่ได้โดยแท้จริง”  การพัฒนาที่เห็นอย่างชัดเจนคือร้านค้าต่าง ๆ ที่เคยพังลงเพราะพิษร้ายในช่วงสงครามกำลังก่อตัวขึ้นมาอีกครั้งแต่คราวนี้เหลือคราบร้านขายของที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองยุคเก่าเพียงน้อยนิดเพราะได้เจริญขึ้นมาใหม่เป็นห้างสรรพสินค้าที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในปัจจุบัน การจราจรสะดวกมากขึ้น พื้นที่ที่กว้าง ขยายขึ้นตามความเป็นเมืองที่เจริญเติบโตกลายเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่อยู่คู่กับความเจริญที่เข้ามา


                ราวปีคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา โลกได้เข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่ มีทฤษฎีมากมายที่ถูกค้นพบรวมถึงเป็นยุคแห่งการถือกำเนิดนักวิทยาศาสตร์ในยุคใหม่ด้วย ซึ่งในยุคนี้ได้ค้นพบความก้าวหน้าด้านสาขาฟิสิกส์และกลศาสตร์ เคมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์เหล่านี้จะนำโลกเปลี่ยนหมุนเข้าสู่ยุคการพัฒนาอุตสาหกรรม ต่อมาในปีคริสต์ศตวรรษที่ 18 โลกยิ่งโคจรเข้าใกล้ยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์โดยแท้จริง เริ่มจากการนำความเชื่อใหม่ ๆ แนวคิดและปรัชญาต่าง ๆ เข้าแทนที่ความเชื่อทางศาสนา อีกทั้งยังเกิดทฤษฎีใหม่ ๆ จากการนำคณิตศาสตร์มาใช้ศึกษาธรรมชาติอีกด้วย ยกตัวอย่างชื่อนักวิทยาศาสตร์ในยุคสมัยใหม่นี้เช่น เบนจามิน แฟรงคลิน และ เจมส์ วัตต์


                วิทยาศาสตร์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตสาหกรรมมาก หากมองภาพออกไปกว้าง ๆ เราจะเห็นยุคสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยถนนสายใหม่ พื้นที่ที่ถูกเปลี่ยน สร้างหรือต่อเติม และเหล่าไอควันขโมงจากท่อหรือปล่องยาว ๆ ของโรงงานที่ผุดขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาและสร้างเครื่องจักรกลขึ้นมาก ซึ่งแน่นอนว่าเริ่มต้นจากประเทศอังกฤษ การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ช่วยผลักดันให้สหราชอาณาจักรกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เหตุนี้ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมเริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้น มีสัดส่วนในการทำงานมากขึ้นและเป็นเหตุให้เกิดปัญหาด้านสังคมตามมา คือมีผู้คนอพยพเข้ามาทำงานในเมืองกันมากขึ้นจนเมืองอุตสาหกรรมเหล่านั้นเกิดความแออัด ปัญหาต่อมาคือการแย่งงานกันทำจนอาจก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน ผู้คนมากมายมุ่งแต่จะเข้าไปทำงานในเมืองหลวง ซึ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การที่สหราชอาณาจักรเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคใหม่ที่มีความเจริญมากมายไม่อาจบอกได้เลยว่าประเทศมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจนี้รุ่งเรือง เพราะถ้าหากผู้คนอพยพกันเข้ามาทำงานในเมืองเช่นนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากเมืองหลวงแล้วก็ไม่มีพื้นที่ใดอีกเลยที่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับเหล่าประชากรนอกเมืองได้


     

    The Middle Classes


    ผู้เขียนได้ศึกษาและพบว่าในยุคสมัยใหม่นี้ กลุ่มคนชนชั้นกลางมีบทบาทเป็นอย่างมากและเป็นกลุ่มสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในสหราชอาณาจักร เรียกได้เวลาเกิดเป็นยุคแห่งชนชั้นกลางเลยก็ว่าได้ พวกเขาเริ่มจากการทิ้งบ้านเกิดตัวเองและเข้ามาครอบครองพื้นที่ในเมืองหลวง ไม่เพียงแค่มาทำงานเท่านั้นแต่รวมไปถึงการมาหาที่อยู่อาศัยถาวรด้วย ทำให้ชนชั้นกลางเริ่มมีบทบาทและอำนาจมากขึ้นในยุคนี้ ในส่วนของปัญหาสังคมที่ว่านั้นก็คือปัญหาประชากรล้นเมือง เมื่อลอนดอนเป็นเพียงที่เดียวที่สามารถมอบความสะดวกสบายและทำเงินได้ ไม่แปลกที่ผู้คนจะต้องมาแย่งงานกันทำเพื่อความอยู่รอด ทั้งยังทำให้เกิดปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้ามาของชนชั้นกลางทำให้สหราชอาณาจักรเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายนอกเหนือไปจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผู้คนแบกรับความเจ็บปวด ความยากลำบากมากมายเข้ามาและเริ่มปลดปล่อยออกมาจนเกิดการปฏิวัติทางสังคม อิสรภาพเป็นสิ่งพวกเขาเฝ้ารอและถามหามาตลอด ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสได้เข้ามาทำงานแล้วพวกเขาก็ยังพบกับปัญหาเรื่องอิสรภาพและความเหลื่อมล้ำ ที่เห็นได้ชัดที่สุดจากการศึกษามาคือ ความเหลื่อมล้ำทางเพศ 


                แม้ว่าจะมีคนงานมากมายที่มาเป็นลูกจ้างให้กับนายทุนในสมัยนั้นแต่พวกเขาก็เลือกเพียงเพศชายเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการทำงาน และปล่อยปัญหาเหล่านี้ให้กลายเป็นปัญหาด้านอิสรภาพต่อไป ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเจริญเติบโตหรือการผลัดเปลี่ยนของพื้นที่ในยุคโมเดิร์นไม่ได้ช่วยให้ปัญหาในสังคมดั่งเดิมเหล่านี้หายจากไปเลย ทั้งยังทำให้ปัญหาสังคมเหล่านั้นกลับขึ้นมารุนแรงอีกครั้ง 



     Racist


    หลังจากที่กล่าวถึงกลุ่มชนชั้นกลาง ทำให้พบว่าภายใต้ความยากลำบากในการหางานหรือปัญหาการว่างงานนั้นยังมีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางเพศซ่อนอยู่ภายในอีกซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่ง หลังจากที่ได้ศึกษาจะเห็นว่าในยุคสมัยที่ผู้คนแย่งงานกันทำในพื้นที่จำกัดยังมีนายจ้างหรือเหล่านายทุนที่ยังคงต่อต้านการรับคนงานเพศหญิงเข้ามา ในส่วนของงานที่เปิดโอกาสให้ทำนอกจากจะมีน้อยแล้วซ้ำยังถูกบังคับอีก หลายคนอาจคิดว่าในยุคที่ผู้คนต่างหางานกันอย่างบ้าคลั่งไม่มีใครเขาเลือกงานกันหรอก ความปรารถนาเพียงอย่างเดียวคือการอยู่รอด แต่ถ้าหากเรามองลึกลงไปอีกสักนิด จักเห็นได้อย่างถ่องแท้ว่าแท้จริงแล้ว “เพศหญิง” ถูกกดขี่ไว้มากเพียงใด หรือบางทีต้องลองมองอีกมุมหนึ่ง ในเมื่อทุกคนมีโอกาสที่จะหางานแล้วเหตุใดเล่าถึงมีเพียงแค่ผู้ชายที่มีอภิสิทธิ์เหนือกว่า


                ความรุ่งเรืองมิได้ช่วยหล่อหลอมสิ่งเลวร้ายที่เกิดเป็นปัญหาสังคมเหล่านั้นให้ดีขึ้นได้เลยแม้แต่น้อย หากผู้อ่านคิดว่าปัญหานี้สร้างความเจ็บปวดมากพอแล้วก็ขอบอกได้เลยว่าคุณคิดผิดเสียแล้ว ผู้หญิง, เด็ก, คนจน ที่ไม่ใช่คนผิวขาวก็ถูกสังคมบังคับจนแทบไม่มีที่ยืนเพื่อต่อสู้หาหนทางมีชีวิตรอดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ผู้หญิงถูกบังคับให้อยู่บ้านในฐานะแม่บ้าน ไม่มีโอกาสได้ออกมาทำงาน และเมื่อถึงยุคที่ชนชั้นกลางมีบทบาททางสังคมพวกเขาจึงเริ่มที่จะมีแรงบันดาลใจในการลุกขึ้นมาก่อการปฏิวัติ


     

    Chapter 2

    The City


    Becomthe City


    วิวัฒนาการของพื้นที่นั้นเริ่มแสดงให้เห็นเด่นชัดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18 เรียกได้ว่าเป็นช่วงแห่งการปรับปรุงและเจริญเติบโตของพื้นที่อย่างแท้จริง นับเป็นโชคดีที่เริ่มมีวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรมและเครื่องจักรหลังจากที่สิ่งก่อสร้างทั้งหลายถูกพังทลายลงในช่วงสงคราม พื้นที่เริ่มขยับขยายบ้างก็ถูกก่อสร้างตามแบบฉบับเดิม บ้างก็ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้มีขนาดที่ใหญ่และกว้างขึ้น จนอาจเกิดเป็นถนนสายใหม่ขึ้นมา หรืออาจเจริญเติบโตเป็นพื้นที่ใช้สอยสาธารณะที่ใหญ่ขึ้นจนสามารถรองรับผู้คนได้เต็มที่ ไม่เพียงแค่บางพื้นที่เท่านั้นแต่หมายถึงทั้งจักรวรรดิอังกฤษที่กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง ความทันสมัยเริ่มเข้ามามีอิทธิพลแต่ก็ยังมีบางส่วนที่คงความดั่งเดิมเอาไว้

     

    Modern city


    นอกจากคำบอกเล่าปากต่อปาก การจดบันทึกหรือหนังสือประวัติศาสตร์ก็คงเป็นวรรณกรรมนี่แหละที่เป็นตัวบ่งบอกถึงความเป็นยุคสมัยใหม่ได้ดีที่สุด หากลองคิดดูสักนิดจะพอเข้าใจว่าทำไมหนังสือหรืองานเขียนจึงเป็นคำอธิบายที่ดี เพราะผู้เขียนเป็นผู้ที่เติบโตและผ่านยุคเหล่านั้นมาอย่างแท้จริง พวกเขาถ่ายทอดหลายสิ่งหลายอย่างออกมาผ่านหยดหมึกสีเข้ม มีนักเขียนมากมายเกิดขึ้นและหนังสือเกือบทุกเล่มบ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของพื้นที่ไว้หลายแง่ แง่นึงที่เด่นชัดออกมาคือการบอกเล่าเรื่องราวของการกลายเป็นยุคสมัยใหม่ผ่านการเปลี่ยนแปลงสองอย่างอย่างตรงไปตรงมา คือการค้าขายและอุตสาหกรรม ส่วนอีกแง่นึงคือการสร้างโลกจินตนาการขึ้นมา อย่างไรก็ดี งานเขียนทั้งสองรูปแบบก็ทำให้เราเข้าใจและเห็นภาพของความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน 


    Daniel Defoe ได้ให้ภาพของความเป็นเมืองสมัยใหม่โดยนำเสนอในแง่การตอบสนองความต้องการของผู้คนเป็นหลัก เขามองว่าการเข้ามาของอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างความสะดวกสบายและเป็นวิถีชีวิตที่ตอบสนองความต้องการได้ เรียกได้ว่าเป็นเมืองในอุดมคติ Richard Lehen กล่าวถึงแพลนของ Daniel Defoe ไว้ว่า

     

    Daniel Defoe gave us a portrait of this new city, an entity held together by commercial need” (L, Richard. The City in Literature“The City and The Text”, Chapter 1, Page 5)

     

    ซึ่งเขาได้แนวคิดเหล่านี้มาจาก Christopher Wren (The Great Fire, 1666) ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับการสร้างลอนดอน แต่ความคิดของเขาเกี่ยวกับความสมัยใหญ่ที่เข้ามายังไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีนัก หลักจากที่เขาคิดและเริ่มวางแผนการสร้างพื้นที่ให้กลายเป็นเมืองก็มีนักคิดและนักเขียนหลายคน ให้การโต้ตอบความคิดหรือทฤษฎีของเขา ซึ่ง Charles Dickens ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของการกลายเป็นเมืองในแง่ของการตอบสนองความต้องของมนุษย์ อีกทั้งมองว่ามันห่างไกลจากพื้นฐานความเป็นจริงเกี่ยวกับการเข้ามาของอุตสาหกรรมหรือการทำให้พื้นที่ทันสมัยหรือมีวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เขาไม่คิดว่าสิ่งเหล่านั้นจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการมนุษย์เพื่อให้เป็นเมืองสมัยใหม่ที่ตรงตามแบบในอุดมคติ

     

    “Dickens saw how this process had become so materialistic that  it hardened the heart and diminished compassion, altering our sense of human scale, our sense of community” (L, Richard. The City in Literature“The City and The Text”, Chapter 1, p. 5)

     

    เขามองว่ามันทำให้ผู้คนยึดติดกับวัตถุมากเกินไปและหลงไปกับความเจริญที่เกิดขึ้นจนละทิ้งบางสิ่งไป อย่างเช่นในหนังสือ The City in Literature โดย Richard Lehan กล่าวไว้ว่า 

     

    “He also saw the need for new secular-holy places; home life became more unpredictable” (L, Richard. The City in Literature“The City and The Text”, Chapter 1, p. 4)

     

     

    พื้นที่หลายแห่งที่มีความสำคัญมากต่อการมนุษย์ในช่วงก่อนที่พื้นที่เหล่านั้นจะถูกทำลายไม่ได้ถูกต้องการอีกต่อไปและแทนที่ด้วยสถานที่ใหม่ ๆ ที่พวกเขาไม่เคยใช้ชีวิตเช่นนั้นมาก่อน 


    ชีวิตของผู้คนในช่วงนั้นถูกตอบสนองมากเกินไป สภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่เต็มไปด้วยการค้าขายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ นอกจากนี้แล้วยังมีผลเสียที่เกิดขึ้นมากมายจากการก้าวหน้าของพื้นที่สู่ความเป็นเมืองนี้ เนื่องจากมีการเข้ามาของอุตสาหกรรมทำให้เกิดมลภาวะในเมืองหลวง และในยุคสมัยนั้นที่มีคนอพยพเข้ามาทำงานจนประชากรล้นเมืองทำให้เกิดชุมชนแออัด สุดท้ายแล้วสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็คือปัญหาด้านสาธารณสุขและปัญหาสังคมภายในเมือง ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับความก้าวหน้าที่เข้ามาอย่างสิ้นเชิง สิ่งที่ควรจะได้รับหลังจากเกิดการปฏิวัติควรจะเป็นสภาพแวดล้อมที่อุดมไปด้วยความเจริญก้าวหน้าในทุกด้าน หากเกิดเเต่ปัญหาเช่นนี้แล้วควรกลับไปสู่ยุคก่อนสงครามไม่ดีกว่าหรือ


     

    Science with Modernization 


    นอกจากนักเขียนอย่าง Charles Dickens ที่ได้เอ่ยถึงไปบ้างแล้วเล็กน้อย ในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงนักเขียนอีกคนหนึ่งที่เป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยใหม่ได้ดีอีกคน Mary Shelley เธอเเทบจะเป็นนักเขียนหญิงคนเเรกที่เรียนเขียนนิยายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เธอหลงใหลและเริ่มเรียนรู้ด้านนี้ ผลงานที่โด่งดังของเธอคือ Frankenstein (Mary Shelley, 1818) หลังจากที่นิยายเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์กลับมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายและไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร อย่างแรกคือผู้คนไม่เห็นด้วยที่เชลลีย์ฝืนกฎธรรมชาติของมนุษย์ที่ตายแล้วโดยการสร้างให้ตัวละครฟื้นขึ้นมาใหม่ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ จึงถูกตราว่าเป็นนิยายผิดศีลธรรม ไม่เพียงเท่านั้น การใช้วิทยาศาสตร์ในนิยายของเธอยังถูกหาว่าเพ้อฝันทั้งที่ในช่วงศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีวิวัฒนาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีมากเเล้วแต่ผู้คนก็ยังคงไม่หลุดพ้นจากกรอบเดิม ๆ จนมาภายหลังที่นิยายของเธอกลายมาเป็นต้นแบบของนิยายไซไฟในยุคปัจจุบัน


     

    Science and Industrialize


    จากที่ศึกษา ผู้เขียนค้นพบว่าวิทยาศาสตร์เติบโตมาอย่างยาวนานพร้อม ๆ กับการกลายสภาพของพื้นที่ เรียกได้ว่าพัฒนามาพร้อมกัน อีกทั้งมีนักวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นแทบทุกยุคก่อนหน้านี้ (Glory to the City, Chapter 1, Modernism in World and English) ความสัมพันธ์ของสองสิ่งนี้มีความน่าสนใจหากบอกว่าก่อนที่พื้นที่จะเปลี่ยนแปลงได้นั้นต้องมีวิทยาศาตร์เกิดขึ้นก่อนก็ดูสมเหตุสมผลเพราะปัจจัยที่ทำให้จักรวรรดิอังกฤษถูกเรียกว่าเป็นดินแดนแห่งความเจริญรุ่งเรืองก็เพราะวิวัฒนาการด้านวิทยาศาตร์ส่งผลให้เกิดโรงงานขึ้นทั้งนั้น บางคนคงเห็นเพียงชิ้นส่วนของอิฐ ดิน ทรายถูกหล่อรวมกันจนเกิดเป็นกระท่อมไม้ขนาดใหญ่ที่ต่ออิฐสูงขึ้นไปและกลายเป็นที่ปล่อยควันพิษ จนลืมนึกไปว่าคำว่าอุตสาหกรรมกับคำว่าก่อสร้างไม่ได้ใกล้เคียงกันเลยสักนิดเดียว


                หากต้องการจะผลิตวิทยุเพื่อส่งออกขายก็คงไม่ได้ใช้กำลังคนเพียงเจ็ดแปดคนช่วยกันนั่งประกอบ ในยุคแห่งอุตสาหกรรมต้องมีทั้งเครื่องจักรกลมากมาย ระบบไฟฟ้าที่เสถียรพอ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ผ่านกระบวนการการคิดค้นด้านวิทยาศาสตร์มาทั้งนั้น

     

     

     

    Chapter 3

    Urban Fantasie

     

    Destination City


    เจมส์ จอยซ์ (James Joyce, 1882-1941) และ ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ (Charles Dickens, 1812-1970)สะท้อนภาพของความเป็นเมืองออกมาคล้ายกันมาก ทั้งคู่ต้องการจะบอกเล่าความเป็นจริงผ่านการสร้างเรื่องราวบางอย่างขึ้น อย่างในเรื่อง Dubliners (1914) ของเจมส์ จอยซ์ ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่สะท้อนการใช้ชีวิตของผู้คนชาวเมืองดับลิน เขาเขียนขึ้นในปี 1904-1907 ในขณะนั้นได้ถูกครอบครองโดยประเทศอังกฤษ จึงทำให้ผลงานเรื่องนี้สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นระหว่างดับลินและลอนดอน สิ่งที่ผู้เขียนพบจากวรรณกรรมเรื่องนี้คือวิวัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรมของอังกฤษและไอร์แลนด์เกิดขึ้นแทบจะพร้อมกัน ซึ่งสิ่งที่อยู่ในหนังสือนั้นถูกเขียนขึ้นและตีพิมพ์ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 แต่การเข้ามาของยุคอุตสาหกรรมนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 18 

                จอยซ์ได้บรรยายถึงสภาพพื้นที่ที่ค่อนข้างมีความทันสมัยในเรื่องอุตสาหกรรม และมีโรงงานเกิดขึ้นไม่แพ้กัน จากตอน An Encounter 

     

    “I sat up on the coping of the bridge admiring my frail canvas shoes which I had diligently pipeclayed overnight and watching the docile horses pulling a tramload of business people up the hill. All the branches of the tall trees which lined the mall were gay with little light green leaves and the sunlight slanted through them on to the water. The granite stone of the bridge was beginning to be warm and I began to pat it with my hands in time to an air in my headDubliners, J, James. An Encounter, p. 50.  (1914)

     

    ถือเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากจากการที่เมืองหลวงเริ่มมีความเจริญในขณะที่บางพื้นที่ยังคงใช้สัตว์บรรทุกสินค้าหรือใช้เป็นยานพาหนะอยู่ ทั้งลอนดอนและดับลินแม้ว่าจะได้ชื่อว่ามีความทันสมัยแต่ก็ยังไม่ได้เจริญทั่วพื้นที่ เช่นกันกับนิยายของพี่น้องตระกลูบรองเต้ 


                ตระกูลนี้เป็นที่รู้จักกันดีในยุคคลาสสิก พวกเธอเติบโตจากเมืองต่างจังหวัดไร้ซึ่งความเจริญใด ๆ นวนิยายเรื่อง Shirley (1849)  เกิดขึ้นที่ยอร์กชอว์ ชาร์ล็อต บรองเต้ (Charlotte Bronte, 1816-1855)บรรยายการเกิดขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นที่เมืองนี้โดยทั่วบริเวณยังคงไม่ได้รับการวิวัฒนาการของพื้นที่ด้านอื่น ๆ ไม่มีห้างสรรพสินค้า หรือสถานีรับส่ง ผู้เขียนสองท่านนี้กำลังแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางด้านโอกาส ไม่มีความเจริญกระจายออกมาแม้แต่น้อยและยังคงเป็นผู้หญิงที่ไม่มีโอกาสได้ออกไปหางานทำข้างนอก มาถึงตรงนี้การเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ก็ยังไม่ช่วยให้ปัญหาในสังคมหายไปได้ โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงเท่าไหร่นัก เมื่อความรุ่งโรจน์มาถึงเหล่านายจ้างที่เห็นแก่เงินและผลประโยชน์ทั้งหลายต้องการจ้างเพียงผู้ชาย (Chapter 1, Modern time of the modren, Racist) 

     

    ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ นำเสนอแนวทางต่างออกไปเล็กน้อย จากนวนิยายเรื่อง Oliver Twist (1839) เขาเล่าเรื่องโดยอิงจากไทม์ไลน์จริง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษผ่านตัวละครเด็กผู้ชายที่เดินทางเข้ามาในลอนดอน ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงพอดี จากแนวคิดเรื่องการกลายเป็นเมืองของดิกเกนส์ เขาต้องการสร้างความหวังไว้ในนิยายของเขาให้คนทั่วไปได้รับรู้ถึงสภาวะปัญหาต่าง ๆ ที่ยังคงเกิดขึ้นและไม่ถูกแก้ไข รวมทั้งแนวคิดเรื่องการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่อย่างที่เคยพูดไว้ในบทแรก ๆ เขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องตอบสนองต่อผู้คน เขาต้องการการเปลี่ยนแปลงปัญหาสังคมให้เติบโตไปพร้อม ๆ กับการกลายเป็นเมืองของพื้นที่ต่างหาก 


                ดิกเกนส์ ได้ใช้โอกาสนี้บอกเล่าลอนดอนในยุคสมัยใหม่นี้ออกมา ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนวาดฝันเอาไว้เสียเลย พอได้อ่านงานเขียนของเขาทำให้เข้าใจสภาพสังคมในยุคนั้นได้ดี ผู้คนหลงอยู่ในโลกแห่งผลประโยชน์เพราะมีแหล่งให้หาผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ยึดติดกับวัตถุและสิ่งรอบกาย สิ่งที่โอลิเวอร์ ตัวเอกเจอคือผู้ใหญ่เห็นแก่ตัว จ้องที่จะหาผลประโยชน์อย่างไม่เลือก และโอลิเวอร์ก็ถูกขายไปให้ใช้งาน ผู้คนในลอนดอนมีนิสัยที่ไม่มี เอาเปรียบและหาผลประโยชน์อย่างผิด ๆ ทั้งยังก่อให้เกิดอาชญากรเพิ่มมากขึ้น จากที่ดิกเกนส์ไม่เห็นด้วยกับการกลายเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองจนทำให้ผู้คนยึดติดกับวัตถุนิยมอยู่แล้ว ในนิยายเรื่องนี้เขาจึงใส่สิ่งที่เขาคิดลงไปด้วย ท่ามกลางร้านค้าแบบใหม่ ถนนสายใหม่ ห้างสรรพสินค้าหรู ๆ ยังคงควบคู่ไปกับความไม่เจริญในหลาย ๆ ด้าน ผู้เขียนเห็นว่าไม่มีใครไหนเลยที่จะมีความสุขอย่างแท้จริงในยุคแห่งจินตนาการจอมปลอมนี้ คงมีแต่พวกนายทุนเท่านั้นที่ได้เงินจนแทบไม่มีพื้นที่เก็บ

                


    Women’s role


    นอกจากการกล่าวถึงเรื่องความเป็นวัตถุนิยมแล้วผู้เขียนขอเอ่ยถึงบทบาทสตรีที่นักเขียนในยุคคลาสสิกหลายคนเขียนออกมาเพื่อเรียกร้องบางอย่าง จากที่ได้ศึกษามาและรู้จักนักเขียนในยุคนั้นที่เป็นผู้หญิงค่อนข้างเยอะ นักเขียนยุคบุกเบิกในการเขียนเรื่องเกี่ยวกับบทบาทสตรีมีเพียงสองคนเท่านั้นในยุคศตวรรษที่ 18 ซึ่งนั่นก็คือเจน ออสเตน (Jane Austen, 1775-1817) และ เอมิลี บรองเต้ (Emily Bronte, 1818-1848)หากอ่านวรรกรรมอยู่ก่อนแล้วทุกคนคงคุ้นหูกับชื่อพวกเขาเหล่านี้ สำหรับเอมิลีบรองเต้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงในงานของชาร์ล็อต บรองเต้ จึงจะขอพูดถึงผลงานของเจน ออสเตนเล็กน้อย


    Pride and Prejudice (A, Jane. 1813)เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวชนชั้นสูงที่มีเพียงแค่ลูกสาวเท่านั้น และบทบาทของสตรีในเรื่องมีเพียงแค่รับความกดดันจากผู้ใหญ่ในเป็นกุลสตรีที่ดี สมฐานะของผู้ชายและให้แต่งงานออกเรือนกันไป สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในสังคมที่ถูกบนนทัดฐานคร่ำครึกำหนดไว้ว่าผู้หญิงต้องทำอะไร พวกเธอไม่มีแม้แต่สิทธิครองครองสมบัติของครอบครัวด้วยซ้ำ บยังคงต้องเป็นผู้ชายที่ต้องมีฐานะสมกันอีก ไม่มีโอกาสได้ทำงานด้วยตนเอง ซึ่งเจน ออสเตนได้ยืนกรานกับความคิดตัวเองว่า “เป็นผู้หญิงไม่จำเป็นต้องมีสามีก็สุขสบายได้” เธอต้องการที่จะบอกเล่าเรื่องราวที่ผู้หญิงต้องเจอผ่านงานเขียนของเธอและหวังว่าสักวันจะเกิดการเปลี่ยนแปลง


                นวนิยายของเธอยังคงมีอีกหลายเรื่องที่สะท้อนสังคมอย่างเห็นได้ชัด หนึ่งในอีกหลายเรื่องนั่นคือ Emma (A, Jane. 1815)เรื่องนี้เกี่ยวกับหญิงสาวชนชั้นสูงที่คอยจับคู่คนรวยให้กับเพื่อนสนิทของตัวเอง แสดงให้เห็นว่าตัวเอกเองไม่ได้ต่อต้อนความคิดนี้ที่ว่าผู้หญิงต้องแต่งงานกับผู้ชานรวย แต่ออสเตนต้องการจะสื่อว่า เธอถูกอบรมและเลี้ยงดูมาจากผู้ที่ยังติดอยู่ในบรรทัดฐานเหล่านั้น เธอต้องการให้พวกผู้ใหญ่เลิกใช้บรรทัดฐานเหล่านั้นมากดเพศหญิงให้มีคุณค่าลดลงและเริ่มที่จะคิดใหม่


                ตัวละครเอกของเจน ออสเตนได้สร้างต้นแบบของผู้หญิงยุคใหม่ที่ไม่เคยปรากฎในนวนิยายของผู้เขียนอังกฤษคนไหนมาก่อนเลยซึ่งค้านกับประเพณีนิยมบนพื้นฐานทัศนะของนักปรัชญานักคิดรุ่นก่อนและร่วมสมัย เช่น ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau, 1712-1778) นักปรัชญาแห่งยุโรปที่กล่าวว่าผู้ชายมีความสามารถเหนือผู้หญิง ผู้ชายจึงควรดูแลธุกิจนอกบ้าน ส่วนผู้หญิงควรดูแลงานบ้าน การศึกษาของผู้หญิงจึงต้องเป็นไปเพื่อรองรับความต้องการของผู้ชาย ผู้หญิงมีหน้าที่เป็นที่พักพิงใจให้สามีด้วยความอ่อนหวาน ทำตัวให้เป็นที่ยอมรับ ผู้หญิงจึงควรได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัย ส่วน จอห์น รัสกิน (John Ruskin,1819-1900) นักคิดคนสำคัญของอังกฤษบอกว่าผู้ชายเป็นเพศสร้างสรรค์ ผู้หญิงเป็นเพศอ่อนแอ ความดีของพวกเธอจึงวัดได้ที่ความพร้อมยอมเสียสละให้ครอบครัวเป็นหลัก


    Shirley (B. Charlotte, 1849) ตัวเอกเชอร์ลีย์ ชื่อของเธอถูกตั้งมาจากชื่อของผู้ชายเพราะครอบครัวที่แสนร่ำรวยทั้งเงินและอำนาจนั้นอยากได้ลูกชาย เธอเติบโตมาอย่างดีในครอบครัวนั้นต่างกับเพื่อนของเธอ แคโรไลน์ที่เติบโตมากับลุงและไม่มีเงินมากพอที่จะเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง เธอไม่ได้รับอนุญาตให้ชอบพอกับโรเบิร์ตที่บ้านทำฟาร์มนมเพียงเพราะผู้ชายคนนั้นไม่ได้ร่ำรวย นี่คือปัญหาพื้นฐานที่พบเจอได้อย่างง่ายดายในยุคก่อนหรืออาจรวมไปถึงยุคนี้ด้วย เริ่มตั้งแต่ผู้หญิงไม่ได้เป็นเพศที่ใครต่อใครอยากให้เกิดมาเพียงเพราะพวกเธอไม่สามารถช่วยทำงานหนัก ๆ และหาเงินได้ และปัญหาต่อมาที่หนักไม่น้อยไปกว่าคือผู้ชายที่ไม่มีสิทธิ์จน พวกเขาเป็นเหมือนหุ่นยนต์ที่ต้องคอยสร้างเงินอยู่ตลอด 


    เวอร์จิเนีย วูล์ฟ (Virginia Woolf, 1882-1941)ก็เป็นนักเขียนอีกคนในยุคที่ไม่เอ่ยถึงเลยไม่ได้ แม้ว่าบั่นปลายชีวิตของเธอจะจบลงด้วยพิษสงครามในระหว่างที่สงครามโลกครั้งที่สองยังไม่จบลงเสียด้วยซ้ำ เธอเป็นคนนึงที่ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีผ่านงานเขียนของเธอมาตลอดยุค A Room of One’s Own (W, Virginia. 1929 )เล่าถึงชีวิตของผู้หญิงที่ไม่ถูกยอมรับในความสามารถ ถูกจำกัดสิทธิด้านการศึกษา การตั้งชื่อเรื่องที่มีความหมายอย่างลึกซึ่ง เธอสื่อว่าห้องเล็ก ๆ เพียงห้องเดียวกับเงินติดตัวไม่กี่ปอนด์เป็นพื้นที่ที่ให้อิสระกับเธอได้ อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไป แม้ว่าจะเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่ผู้คนเข้าเมืองหลวงเพื่อหางานกันทำแล้วผู้หญิงก็ยังคงไม่ได้รับโอกาสนั้นอยู่ดี

     

    การเปลี่ยนแปลงของเมืองนั้นมีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ความสมัยใหม่หรือความเจริญเกิดพร้อมกับสิ่งหลาย ๆ อย่าง และไม่ได้ช่วยกำจัดสิ่งเลวร้ายที่สร้างสมมาเป็นร้อยเป็นพันปี พื้นที่ที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคและวิถีชีวิตของคนมีความสัมพันธ์กัน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีแต่ความวุ่นวายไม่เห็นภาพของความเจริญแต่อย่างใด หลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างยังคงคร่ำครึและล้าสมัย อุตสาหกรรมเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงเช่นกับกับวิทยาศาสตร์ที่แสดงถึงการพัฒนาภายนอกเท่านั้น แต่ความคิดของคนไม่เปลี่ยนไปตามความสมัยใหม่เหล่านั้นเลย ร้านค้าหรูหรา ท่าเรือขนาดใหญ่ที่ได้โอกาสเรียกเก็บค่าโดยสารราคาแพง ความตื่นตากับรถไฟและการคมนาคมต่าง ๆ เป็นเพียงโหลแก้วที่ครอบคลุมประเทศอังกฤษเอาไว้เท่านั้น มีเพียงไม่มีกี่คนที่ละลายโหลแก้วที่ครอบอยู่และเจาะเข้าไปดูความเป็นจริงข้างใน และก็มีเพียงไม่กี่คนจากข้างในที่จะกล้าเอาไฟมาลนให้โหลแก้วใบนั้นละลาย หรือบางคนอาจจะละลายน้ำแข็งที่ถูกแช่ฝังอยู่ในระบบความคิดไปแล้ว แต่สภาพแวดล้อมรอบข้างก็ไม่เปิดโอกาสให้เขาได้ทำลายโหลแก้วที่ครอบอยู่ให้แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ จนมาถึงตอนนี้คงไม่ได้มองว่าจักรวรรดิอังกฤษเป็นยุคที่รุ่งโรจน์อีกแล้ว เพราะมันทิ้งไว้เพียงแค่ความล้มเหลวที่น่าอับอายเท่านั้น

     

     



     

     


     

     

     

     

     /

     

    Dickens, Charles. Oliver Twist. Harper Press : 1 London Bridge Street, 2010

    Woolf, Virginia. Mrs Dalloway : Wordsworth Editions Limited, 1996

    Bronte, Charlotte. Shirley : Wordsworth Edition Limited, 1993

    Joyce, James. ผู้คนแห่งมหานครดับลิน. Dubliners. วิมล กุณราชา. ตีพิมพ์ครั้งที่ 4 : สำนักพิมพ์นาคร, 2557

    Joyce, James. Dubliners : Oxford University Press, 1914

    Lehan, Richard. The City in Literature An intellectual and cultural history” : University of Califonia Press, 1930

    Pericles, Lewis. Modernism : the United Kingdom at the University Press, Cambridge, 2007

    Kern, Stephen. the culture of Time and Space(1880-1918) : the United state of America, 2003

    Hardind, Desmond. Urban Vision and Literary Modernism : Taylor ans Francis book, 2005

    Marmaras, V. Emmanuel. Planning London for the Post-War Era(1945-1960): Springer International Publishing Switzerland, 2015 

    Wolfreys, Julian. Dickens’s London “Preceptive, Subjective and Phenomenal Urban Multiplicity” : Edinburgh University Press, 2012

    Turner, Nick. Post-War British Women Novelists and the Canon : The Tower Building 11 York Road, 2010

    Champion, Tony. “Testing the Differential Urbanisation Model in Great Britain”(1901-1991), Department of Geography,University of Newcastle, 2001

    Gilbert, Sandra M. and Susan Gubar. The Norton Anthology of Literature by Women : the Traditions in English. New York and Londo n: W.W. Norton & Company, 1985. p. 168.
    Kirkham, Margaret. Jane Austen, Feminism and Fiction. The Harvester Press Limited and Barnes & Noble Books, 1983. p. 34.

    Cecil, David. A Portrait of Jane Austen. London: Constable, 1978. p. 50.

     

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in