ข้อที่ 1: สูญเสียคือสามัญ จากลานั้นธรรมดา
เปิดมาต้นปี น้องสาวของยายเราเสีย
ฟังดูจะห่างไกล แต่จริง ๆ คุณยายคนนี้คือญาติใกล้มาก ๆ ของบ้านเราคนนึง
ใกล้ชนิดที่ว่าทุกครั้งที่เชงเม้ง เราจะใช้เวลากับบ้านน้องสาวยายเยอะมาก ๆ
แน่นอน พอรู้ข่าว สิ่งที่เราคิดแทบจะทันทีต่อจากความเศร้าเสียใจ
คือ จะพายายขึ้นไปที่นั่น (นครสวรรค์) ยังไง และปัญหานี้จบลงอย่างรวดเร็ว
เราไปนอนที่ปากน้ำโพ แล้วขับรถขึ้นไปที่บ้านเกิดยาย
ในงานวันนั้น ยายไปนั่งคุยกับตา ๆ (พี่น้องของยาย) ที่เหลืออยู่ บอกว่าเราเหลือกันแค่นี้แล้วเนอะ
บทสนทนาเต็มไปด้วยการทบทวนความหลัง ญาติฝั่งยายกี่คนต่อกี่คนก็มากันทั้งนั้น
แม้กระทั่งป้าสะใภ้ที่หย่ากับลุงคนโต และเลี้ยงลูกของลุงทั้งสามคนก็มา
รวมถึงเพื่อน ๆ วัยเด็กของยาย
ด้วยความที่ยายเป็นคนเดียวในครอบครัวที่ย้ายลงไปกรุงเทพ เพื่อน ๆ จึงคิดถึงยายเป็นพิเศษ
หลายคนสวมกอดยาย หลายคนถามยายว่าจำฉันได้มั้ย
ยังมิพักถึงผู้มีพระคุณ หรือคนคุ้นเคยที่ล้มหายตายจากราวกับใบไม้ร่วงในปีนี้
แม้ยากจะทำใจ แต่การสูญเสียคือเรื่องสามัญธรรมดา
การจากลาก็สามัญมิแพ้กัน
คำว่า "มีพบก็มีจาก" เป็นคำที่ได้ยินมานานแสนนาน
แต่เมื่อเกิดขึ้นจริง เรา hold มันแทบจะไม่ไหว
ในขณะเดียวกัน การสูญเสียและจากลามีฟังก์ชันอีกอย่างคือ "การทบทวน"
ให้เห็นว่าเราทำอะไรผิดพลาดต่อผู้ที่จากไปรึเปล่า - ทั้งจากเป็นและจากตาย
หากเราทำทุกสิ่งเต็มที่ที่สุดแล้ว ก็ไม่มีอะไรที่จะติดค้าง หรือเสียดาย
หากทำอะไรผิดพลั้งไป คือบทเรียนที่เราจะไม่ไปทำสิ่งเหล่านั้นกับใครอีก
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in