เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
AKSORN CHULA REVIEWSporrorchor
รีวิววิชาอักษรฯ จุฬาฯ ปี 4 เทอม 1 #ซี้ภาษา
  • ¡Hola!

    ยินดีต้อนรับทุกคนสู่การรีวิวสารพันวิชาในรั้วอักษรฯ จุฬาฯ ของผมครับ ใจหายมากที่แป๊บเดียวก็ใกล้จะจบปี 4 แล้ว ขณะเดียวกันก็ดีใจที่รู้สึกว่า 4 เดือนแห่งการเรียนหน้าคอมในเทอมนี้ไปเร็วกว่าที่คิด อย่ากระนั้นเลย แทนที่จะลดโหลดภาระให้เรียนเท่าที่ต้องเก็บแล้วเอาเวลาไปพักสายตา ผมกลับหาลงวิชาเรียนจนฟาดไป 4 ภาษาซะงั้น (ทำไมเลข 4 มันถี่จัง) ก็มาดูกันครับว่า เรียนหลายภาษาขนาดนี้ จะทำให้ผมเป็นซี้ภาษา หรือซี้แหงแก๋กันแน่ 


    หมายเหตุ: วัน-เวลา และรายละเอียดต่าง ๆ ของแต่ละวิชาอาจเปลี่ยนแปลงได้ในปีการศึกษาถัด ๆ ไป 


    1) 2222111 CHIN COM 1

    เซค 4 กับ อ.แพรวา ทุกวันศุกร์ 13.00-16.00 

    เรียนอะไร

    - คำศัพท์ในชีวิตประจำวัน เช่น ตัวเลข, ข้าวของเครื่องใช้ และไวยากรณ์ขั้นต้น จากหนังสือภาษาจีนกลางพื้นฐาน 1 บทที่ 1-6

    การเก็บคะแนน

    - ตัด A ที่ 91

    - สอบกลางภาค 40% / สอบปลายภาค 40% / สอบพูดตอนปลายภาค 10% / การเข้าชั้นเรียน 10%


    จริง ๆ ก็เคย 学习汉语 เป็นเวลาพักใหญ่ ๆ แต่ก็ 忘了 ไปสิ้น พอตารางเคลียร์เลยมาลง chin com ตัวนี้ ซึ่งไม่คิดว่าจะติดด้วยเพราะถือว่าเป็นวิชายอดฮิตอีกตัว (บารมีปี 4 มีอยู่จริง สาธุ99) บรรยากาศการเรียนก็สบายมาก ๆๆ แต่ละคาบ เหล่าซือก็จะสอนคำศัพท์แทรกแกรมม่า แล้วให้เราฝึกอ่านและทำแบบฝึกหัดพร้อมกันในห้อง เลยไม่มีภาระงานการบ้านเลย แต่มีภาระใจอยู่ที่การมานั่งจำตัวจีนเนี่ยแหละฮะ 5555 ที่ว่าชิว ๆ ส่วนการสอบออนไลน์ก็ทำใน Google Form เป็นช้อยส์ล้วน* ให้เราจับคู่คำบ้าง เรียงประโยคบ้าง ฯลฯ เพราะฉะนั้นก็ถือว่าไม่โหดร้ายมากนักสำหรับคนที่ชินภาษาตะวันตกอย่างผม แต่งานหนักอยู่ที่ตอนสอบพูดซะมากกว่า เพราะอาจารย์จะสุ่มจับคู่ และต้องคิดบทสนทนาพร้อมเขียนสคริปต์เป็นตัวจีนส่งให้เขาดูภายในเวลา 1 ชม. แล้วบังเอิ๊ญสุด เราโดนสุ่มได้จับกลุ่ม 3 คนพอดี เลยงานยากเข้าไปอีกหน่อย สุดท้ายก็ผ่านไปได้ด้วยดี โดยรวมแล้ว วิชานี้นั้นเหมาะกับคนที่อยากเรียนภาษาที่สามหรือสี่ แบบมีเวลาหายใจหายคอในชีวิตอยู่ (แต่ถ้ามีงานวิชาเอกนี่ ไอ้ที่ว่าชิว ๆ ก็ชักจะไม่ค่อยชิวได้เหมือนกัน) และในความชิวก็มีข้อเสียอยู่ คือจะไม่ค่อย/ขี้เกียจทวนแล้วจะลืมที่เรียนมาเอาดื้อ ๆ เนี่ยแหละฮะ

    *ปล. ไม่แน่ใจว่า ถ้าเรียนที่คณะปกติจะสอบเป็นยังไง ใครทราบก็สามารถคอมเมนต์มาได้นะครับ



    2) 2202314 TRANS T-E I

    เซค 2 กับ อ.ภัคพรรณ ทุกวันอังคาร 8.00-9.30 และวันพฤหัสบดี 11.00-12.30

    เรียนอะไร

    - หลักการแปลข่าว (ทั่วไป-อาชญากรรม, เศรษฐกิจ-ธุรกิจ) / การแปลสารคดีสั้น / การแปลเรื่องแต่ง (นิยาย)

    การเก็บคะแนน

    - ตัด A ที่ 80

    - สอบกลางภาค (ข่าวทั่วไป 1 + ข่าวเศรษฐกิจ 1) 40% / สอบปลายภาค (สารคดี 1 + นิยาย 1) 50% / คะแนนเข้าชั้นเรียน 10%


    วิชาโทอิ้งตัวสุดท้ายของผมที่เพิ่งจะมีโอกาสได้เรียน ให้พูดตามตรง บรรยากาศการเรียนแปลไทย-อิ้งตัวนี้ก็ไม่ต่างจากวิชาบังคับอักษรฯ intro to trans (2202124) ตอนปี 1 สักเท่าไหร่ จะมีก็แต่ตัว text ภ.ไทยต้นทางที่ยากขึ้นไปตามลำดับ ยอมรับว่าตอนเรียนนี่ไม่ค่อยจะตั้งใจเท่าไหร่และสมาธิหลุดบ่อยมากเพราะมัวแต่คิดถึงรายงานวิชาเอก บวกกับช่วงแรก ๆ ยังไม่เก็ทกับความตั้งใจของอ.ภัคพรรณ ที่อยากให้เด็กมาคุยมาแชร์เรื่องข่าวและ sources อิ้งต่าง ๆ ตอนต้นคาบในทุกครั้ง (ซึ่งมักจะกินเวลาสอนแปลไปเยอะอยู่) เลยงง ๆ ว่านี่คลาสอะไรนะฮะ (fun fact: ส่วนตัวเราเข้าใจเจตนารมณ์ของอาจารย์ตอนที่เขาพูดประมาณว่า I’m enthusiastic ก็เลย อ๋อออ I get it now krub ajarn! อยู่ในใจ) แต่สิ่งที่ชอบในเซคนี้คือการทำ cold translation หรือฝึกแปลในห้องสด ๆ นี่ก็สนุกและท้าทายดีเหมือนกัน (+ ไม่ต้องทำเป็นการบ้านมาล่วงหน้า yeahhhhhh) ถึงส่วนมาก จะยังต้องใช้สหัชญาณและบุญเก่าในการเรียนอยู่ดี - ไม่ต่างจากวิชาอิ้งตัวอื่น ๆ - แต่ก็เป็นวิชาที่ทำให้เรา bear in mind ไว้ว่าจะแปลอะไรก็ต้องระวังและเก็บความดั้งเดิมไว้ให้ได้ โดยที่คนต่างชาติมาอ่านแล้วต้องเก็ทด้วย



    3) 2231374 FR JOURNALISM I

    กับ อ. Philippe (อาจารย์พิเศษที่ภาคฯ เชิญมา) ทุกวันพุธ 13.00-16.00

    เรียนอะไร (นั่นสิ เรียนอะไรไปนะ อ๋อ...)

    - ส่วนประกอบต่าง ๆ ในบทความ/วารสารภาษาฝรั่งเศส (chapo - intro - constat - dévéloppement - chute) พร้อมทั้งแนวคิดและวิธีการเขียน

    - แบบฝึกหัดการใช้ภาษาภ.ฝรั่งเศส พ่วง études de cas (case studies) จากบทความจริงใน L’amateur (นิตยสารโดยนิสิตเอกฝรั่งเศสที่เรียนในวิชานี้เมื่อปีก่อน ๆ หน้า)

    การเก็บคะแนน

    - ตัด A ที่ 80

    - คะแนนเข้าชั้นเรียน 5% / การมีส่วนร่วมในคลาส 10% / การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเขียนบทความ 25% / ความสามารถในการใช้เทคนิคการเขียนภาษาฝรั่งเศสด้านวารสารศาสตร์ 35% (ยาวมากก 5555) / Article ฉบับเต็มเพื่อลงในนิตยสาร L’amateur 25%


    ในฐานะที่เคยฝึกงานและทำงานกับนิตยสารมาก่อน เลยค่อนข้างตื่นเต้นตอนที่วิชานี้กลับมาเปิดอีกครั้ง แต่พอมาเรียนจริงกลับไม่ใช่วิชาที่ว้าวหรือชอบที่สุดในเทอมนี้แฮะ สิ่งที่ชอบคือการได้มาเกลาภ.ฝรศของตัวเองให้มันอ่านง่าย/กระชับขึ้น และ intution การเขียนงาน/บทความของตัวเองก็มาถูกท้าทายด้วยสไตล์ฝรั่งเศสที่โคตรจะ organisé/cartésien สุดชีวิต แต่ปัญหาใหญ่ที่ทำให้คลาสนี้ไม่ inspirant สักเท่าไหร่นักก็คือ ปัญหาเน็ต-เสียง-Zoom ที่ อ. Philippe ต้องเผชิญบ่อยครั้ง และการง่วนอยู่กับการทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ เกินพอดี จนทำให้ไม่ได้มีเวลามากพอที่จะคุยถึงและพัฒนาบทความที่นิสิตจะเขียน (en défendant Philippe : ส่วนหนึ่งก็ค่อนข้างเข้าใจ ฟิลิปที่ห่างหายไปจากชีวิตการสอนอยู่นาน และไม่คล่องกับเทคโนโลยี เลยทำให้คลาสเป็นอย่างที่เล่าไป) แต่ก็ภูมิใจนะฮะที่ปั้นบทความของตัวเองเสร็จออกมา และได้ทำประเด็นที่อยากจะทำจริง ๆ (non-violence) เหลืออย่างเดียวคือจะรอดพ้น autocensure จากคณาจารย์แล้วได้ลงใน L’amateur จริง ๆ มั้ย มาเป็นกลจ. และรออ่านกันได้ฮะ 



    4) 2231410 FR RES WRITING

    กับอ. Julie ทุกวันจันทร์ 13.00-16.00

    เรียนอะไร

    - เทคนิคการเขียน rapport หรือรายงานภาษาฝรั่งเศส ตั้งแต่ การเลือกหัวข้อ, การกำหนด problématique, การต่อยอดความคิดในรายงาน, การใช้ภาษา (connecteurs logiques, expressions, etc.)

    - แบบฝึกหัดเก็บคะแนนต่าง ๆ เช่น thème/thèse, débattre 

    - อ้อ มีหนังสืออ่านนอกเวลา 1 เรื่อง (Du Domaine des Murmures ; tw: incest, domestic violence, Crusade) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละเทอมด้วยว่าทางภาคฯ จะกำหนดให้มีหรือไม่มีหนังสืออ่านนอกเวลาในวิชานี้หรือเปล่า - ซึ่งปกติคือไม่มี แหะ ๆ

    การเก็บคะแนน

    - ตัด A ที่ 80

    - แบบฝึกหัดและการบ้าน 40% / รายงานท้ายเทอม 40% / présentation เกี่ยวกับ rapport ที่ทำ 10% / เรียงความเกี่ยวกับนส.นอกเวลา 10%


    วิชาบังคับเอกตัวสุดท้ายของภาคฝรั่งเศสที่ลากเลือดสมคำร่ำลือ และตอกย้ำความบ้าเลข 3 ของ les français เอามาก ๆ (เพราะรายงานต้องมี 3 ส่วนใหญ่ แต่ละส่วนมี 3 หัวข้อใหญ่ หัวข้อใหญ่ล่ะ 3 หัวข้อย่อย รวมแล้วคือต้องเขียน 27 หัวข้อย่อยเพื่อตอบ problématique ของเรา ฮะเฮือกก) กว่า problématique กับ plan รายงานของแต่ละคนจะผ่านนี่ก็เลือดตากระเด็นไปข้าง เพราะต้อง convaincre มาดามให้ซื้อในประเด็นที่เราอยากจะทำ ยังดีที่ limite ของรายงานอยู่ที่ 12-15 หน้า และแต่่ละหัวข้อย่อยให้เขียนแค่พารากราฟเดียว ไม่ต้องฝืนเขียนเยอะให้สีข้างถลอกกันไป จะว่าไปแล้ว วิชานี้คือกีฬาสีของเด็กเอกฝะปี 4 ดี ๆ ก็ว่าได้ เพราะแต่ละคาบต้องช่วยกันทำแบบฝึกหัดในห้อง นับเป็น solidarité sociale ประเภทหนึ่ง ส่วนเรื่องหนังสือนอกเวลานี่ อ.พ่อ พรยด. ให้ไว้ตั้งแต่ตอนปิดเทอม เลยได้อ่านตั้งแต่ตอนนั้นและไม่ต้องมาเสียเวลา rapport มาอ่าน แม้จนถึงตอนนี้ก็ยังงง ๆ ว่าทำไมต้องอ่านเรื่องนี้กันนะ แต่พอได้คะแนนโอเคก็ไม่สงสัยแล้วก็ได้ 555555555 รวม ๆ แล้ววิชา rapport นั้น exigeant (demanding) เอาการ แต่ก็รอดพ้นไปได้ด้วยดี (?)



    5) 2231477 SEL FR AUTHORS

    กับ อ.วณิชชา ทุกวันพฤหัสบดี 13.00-16.00

    เรียนอะไร

    - contes de fée (fairy tales) ที่เลือกสรรพร้อมประวัติคร่าว ๆ ของผู้แต่ง รวมถึงผลงานดัดแปลงที่ตามมาภายหลัง

    - ครึ่งเทอมแรก เรียน contes ของ Charles Perrault 5 เรื่อง เช่น  Le Petit Chaperon rouge (Little Red Riding Hood), Cendrillon (Cinderella)

    - ครึ่งเทอมหลัง เรียน contes ของ Madame d’Aulnoy 5 เรื่อง เช่น Prince Lutin และ Finette Cendron 

    - ทฤษฎีวิเคราะห์และตีมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิทานแต่ละเรื่อง อาทิ psychanalyse, féminisme, nacissisme

    การเก็บคะแนน

    - ตัด A ที่ 80

    - quiz, กิจกรรมในคาบ และการบ้าน 30%  / Bilan oral 10% / exposé 2 ครั้ง (กลางภาค 20%, ปลายภาค 20%) / auto-évaluation 5% / Bilan final écrit 2 ข้อ 15%


    แม้จะไม่ค่อยอินกับเรื่องพวกเทพนิยายเป็นทุนเดิม แต่เราก็เอ็นจอยกับวิชานี้พอสมควร สิ่งที่ชอบที่สุดก็คือ การได้รู้ประวัติความเป็นมาของ contes de fée ในฝรั่งเศสที่มี hidden agenda ท้าทายขนบงานเขียนของพวก Anciens/classiques ในช่วงศตวรรษที่ 17 อีกทั้งภายใต้เรื่องราว ตัวละคร และองค์ประกอบมหัศจรรย์ต่าง ๆ นั้นมีสัญญะและเนื้อหาหนัก ๆ ให้วิเคราะห์เต็มไปหมด (ตอนแรกนึกว่าจะมีแต่ psyanalyse เพียว ๆ ไม่งั้นอ.วณิชชาจะเป็นร่างทรงอ.พ่อล่ะนะ 55555) ระหว่างนักเขียนทั้งสองคนที่ได้ ส่วนตัวชอบ contes ของ Perrault มากกว่า เพราะอ่านง่ายและกระชับ บวกกับถูกนำไปดัดแปลงเป็นหนังเป็นการ์ตูนที่เราเห็น ๆ กัน (ไม่ว่าจะเคนยดูหรือไม่ก็ตาม) เลยรีเลทได้ง่ายกว่า ในขณะที่ contes ของ d’Aulnoy นี่ยาวมากกก ขนาดอจ. ตัดบางตอนมาให้เรียนก็ยังยาวอยู่ดี แม้จะอ่าน contes de fée มา 10 เรื่อง แต่ fée ตัวจริงของวิชานี้คืออ.วณิชชา ที่เพิ่งมาสอนวิชานี้เป็นปีแรก เขาเข้าใจเด็กในคลาสมาก ๆๆๆ ภาระงานสมเหตุสมผล เดดไลน์ยืดหยุ่นได้ encourager เด็กตลอด และมีอะไรสงสัยเขาก็ยินดีตอบเสมอ เลยชักจะรู้สึกผิดขึ้นมาที่สมาธิหลุดในคลาสเขาบ่อย ๆ แต่จะมีเหวอ ๆ กับอาจารย์ก็แต่ bilan oral ที่แกงเด็กกันเกินไปหน่อย นอกนั้นคือ parfait และแฮปปี้มาก ๆ กับวิชานี้



    6) 2233227 SP COMPO CONVER I

    เซค 1 กับ อ. David ทุกวันอังคาร 13.00-16.00 และวันศุกร์ 10.00-12.00

    เรียนอะไร

    - การเขียน texto 4 ประเภท (descriptivo, narrativo, expositivo, argumentativo)

    - ทบทวน errores ที่นิสิตผิดไปตอนทำแบบฝึกหัดการเขียน texto แบบต่าง ๆ 

    - ทบทวนคำศัพท์ การใช้ภาษา และเรื่องไวยากรณ์ต่าง ๆ ที่เคยเรียนมาตั้งแต่สเปน 1 เช่น connectores, subjuntivo, indicativo, adjectivos definitivos/indefinitvos

    - มีแตะประเด็นภาษาศาสตร์อยู่หนึ่งคาบ คือเรื่อง acentuación, สระ diptongo/hiago เพื่อเอาไว้ใช้ฝึกออกเสียง

    - ฝึกพูดในคลาสจากเรี่องที่ได้เรียน ๆ มาดังกล่าว 

    การเก็บคะแนน

    - ตัด A ที่ 85

    - กลางภาค เขียน 3 textos (descriptivo, narrativo, ผสม) 20% / ปลายภาค 2 textos (expositivo, argumentativo) 25% / สอบพูดไฟนอล 8 นาที 15% / คะแนนเข้าคลาส การมีส่วนร่วม และการบ้าน 20% / โปรเจกต์คู่ + คอมเมนต์งานเพื่อน 20%


    นี่เป็นวิชาสเปนตัวที่สามและตัวสุดท้ายของเรา จะว่าไปแล้ว เรากลายเป็นนิสิตผู้เฒ่าไปเลยเพราะ compañeros de clase ที่เหลือเป็นน้องปี 2 หมด 5555 เนื่องจากเคยเรียนวิชาคอมโปอิ้งกับฝรศ. มาก่อน ตัวเนื้อหาของวิชานี้ไม่ได้ใหม่หรือ (personalmente) ยากสำหรับเราสักเท่าไหร่นัก จะไปยากตรงเรื่องการใช้ภาษาและคำศัพท์ที่ไม่ค่อยแม่นและไม่ได้ทวนสักเท่าไหร่ (a causa de muchos deberes) ส่วนบรรยากาศการเรียนก็ถือได้ว่า agradable มากที่สุด เพราะ energía del papa ajarn David คือมาเต็มมาก จ้าง 100 ใส่มา mil doscientos sesenta y cuatro แต่กระนั้นเขาก็ไม่กดดันเด็กเลย แค่ขอให้บอกเขาว่าไม่เข้าใจอะไรตรงไหนเขาก็พร้อมอธิบายให้ (ปล. งงใจดาบิดว่าเอาเวลาที่ไหนไปนอน บางทีตี 1 ยังอัปประกาศลง Classroom อยู่เลย มา 7-8 โมงตรวจงานอีก) ส่วนเรื่องโปรเจกต์คู่นี่ อาจารย์ให้ทำบล็อกสั้น ๆ ถึงสถานที่ที่ชอบ แล้วที่ประหลาดใจก็คือ ทั้ง David และ Mario (el hermano-profresor de otra seccíon) ตื่นเต้นกับ bike lane สุวรรณภูมิของกลุ่มเรามาก (เพราะมันไม่มีที่ปั่นจกย. ดี ๆ ในกรุงเทพฯ เลย แหะ) เอนเนอร์จี้ในการเรียนอย่างนี้เลยทำให้เราตื่นตัว + อินกับการเรียนสุด แม้ความรู้สเปนจะตีกับฝรั่งเศสในหลาย ๆ ครั้ง และวิชานี้กินเวลาชีวิตเราไป 5 ชม./สัปดาห์ แต่เรารู้สึกคิดถูกที่ได้มาลงเรียน ไม่งั้นมันจะกลายเป็น lengua muerta ของเราไปอย่างน่าเสียดาย รู้สึกใจหายเหมือนกันที่สเปนตัวนี้จะเป็นตัวสุดท้ายของเราแล้ว (ครั้นจะไปเรียนสเปน 4 ก็ไม่อยากสละเวลาพัก 2 วันเหมือนเทอมนี้อีก) แต่จะยังคงมีใจให้สเปน por siempre ผ่านเพลงของ Morat, Alvaro Soler, Kurt, etc. (ที่ดาบิดไม่ได้แนะนำ แค่เผอิญเปิดฟังใน YT แล้วโดนมาก)


    ทั้งหมดนี้คือรีวิววิชาอักษรฯ ในเทอมเกือบสุดท้ายของผม แม้จะภาษาเรียนหัวแตกกันไปข้าง จำได้บ้าง มั่วบ้าง ลืมบ้าง แต่ก็ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกที่ได้ aprovechar la facultad ก่อนที่จะลดโหลดการเรียนเหลือแค่วิชาเอก 4 ตัวในเทอมหน้า (เลข 4 อีกแล้ว!) ทั้งนี้ นอกจากเรื่องการเรียนในอักษรแล้ว ตลอดเทอมที่ผ่านมาผมยังไปผ่านสนามรบ IELTS และ DELF B2 ซึ่งก็กินแรงกายแรงใจไปไม่น้อย แต่ขอยกยอดไปเล่าเต็ม ๆ ในบทความแยก คลิกอ่านต่อได้ตรงนี้ฮะ


    หวังว่าจะได้กลับไปเจอกันที่คณะฮะ (เปิดสักทีเถอะ!) แล้วพบกับรีวิววิชาอักษรฯ จุฬาฯ เทอมสุดท้าย พร้อมการแนะนำวิชาในดวงใจของผมในมหา’ลัยนี้ตลอด 4 ปีได้ พฤษภาคม 2565 ครับ


    谢谢 pour la lecture

    ¡Nos veremos!


    ทิ้งท้าย บทความรีวิวเก่า ๆ มีการเพิ่มรหัสวิชาเข้าไปด้วยนะฮะ เผื่อใครสนใจวิชาไหนจะได้ไปหาใน reg chula ง่ายขึ้น


    ทิ้งท้าย2 ขอฝากบทกลอน (?) en español ไว้สักเล็กน้อยจากคลาส sp compo conver พร้อมแกรมมาที่ผิดแน่ ๆ แล้วหนึ่งจุดถ้วน (son ต้องเป็น están ในบรรทัดสุดท้ายของ Novía)


    ภาพปก: ร้าง [ดั่งรักเรา] ถ่ายเมื่อครั้นไปส่ง rapport ที่คณะฯ 22 พฤศจิกายน 2564

    Written by porrorchor l IG: @porrorchor

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
เสิร์ชบทความแล้วเจอ เด็กอักษรจุฬานี่มันเก่งอย่างงี้นี่เอง เหมือนเรียนทุกภาษาเลย ความรู้แน่นดีจริง