เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Chick Chick's Storyminimore
มาทำความรู้จักกับ 14 มาสคอตประจำบอลโลกกัน!
  • ในปี 2018 นี้ เทศกาลบอลโลกก็เวียนกลับมาอีกครั้ง และสิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนนึกถึงก็คือตัว มาสคอต หรือ ตัวนำโชคของฟุตบอลโลก แต่รู้กันมั้ยว่า ถึงแม้ว่าฟุตบอลโลกจะมีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1933 แต่ตัวมาสคอตตัวแรกเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1966 วันนี้ มินิมอร์จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ เจ้ามาสคอตทั้ง 14 ตัว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลย!


     World Cup Willie 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 8 เมื่อปี 1966

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศอังกฤษ
    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    World Cup Willie เป็นมาสคอตตัวแรกของฟุตบอลโลกเมื่อปี 1966 ออกแบบโดย Reg Hoye นักออกแบบโฆษณา เป็นเจ้าสิงโตสวมเสื้อลายธงชาติยูเนียนแจ็ค ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นสัญลักษณ์ของสหราชอาณาจักร


     Juanito 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 9 เมื่อปี 1970

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศเม็กซิโก

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    ในปี 1970 ประเทศเม็กซิโกเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก มาสคอตในปีนี้ เป็นเด็กผู้ชายชื่อว่า Juanito (ฮัวนีโต้) สวมเสื้อฟุตบอลสีเขียวทีมชาติเม็กซิโก พร้อมหมวกซอมเทรโร่ หรือหมวกปีกกว้างสัญลักษณ์ของชาวเม็กซิกัน และยังมีข้อความ MEXICO70 อยู่บนหมวกด้วย


     Tip and Tap 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 10 เมื่อปี 1974

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศเยอรมันตะวันตก

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    มาสคอตในปีนี้ไม่ได้มาคนเดียว แต่มาเป็นคู่เป็นเด็กชายแก้มแดงสองคน สวมเสื้อฟุตบอลทีมชาติเยอรมัน บนเสื้อพิมพ์ตัวอักษร WM ย่อมากจาก Weltmeisterschaft (แปลว่า ฟุตบอลโลก ในภาษาเยอรมัน) และตัวเลข 74 ซึ่งเป็นปีที่จัดฟุตบอลโลกนั่นเอง


     Gauchito 

    ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 11 เมื่อปี1978

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศอาร์เจนติน่า

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    มาสคอตในปีนี้ ยังคงเป็นเด็กชายสวมเสื้อฟุตบอล โดยชื่อของเด็กชาย Gauchito มาจากคำว่า Gaucho ที่แปลว่าคาวบอย ในภาษาเสปน ทำให้เครื่องแต่งกายของมาสคอตมีความเป็นคาวบอยอยู่หน่อยๆ ทั้งพันผ้าพันคอ สวมหมวกปีกกว้าง (บนหมวกมีคำว่า อาร์เจนติน่า78 ด้วยนะ) และถือแส้ที่มือขวา


     Naranjito 

    ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 12 เมื่อปี 1982

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศสเปน

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    จากที่มาสคอตเป็นเด็กผู้ชายมาหลายปี ปีนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของมาสคอตฟุตบอลโลกเลยก็ว่าได้เพราะใช้ส้มเป็นมาสคอต! โดยปีนี้มาสคอตเป็นส้มยิ้มแฉ่งถือลูกฟุตบอล และสวมเสื้อฟุตบอลทีมชาติสเปน สาเหตุที่ใช้ส้ม เพราะว่าส้มเป็นผลไม้ดังของประเทศสเปนนั่นเอง


     Pique 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 13 เมื่อปี 1986

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศเม็กซิโก

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    ประเทศเม็กซิโกกลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง มาสคอตในปีนี้ เป็นพริกฮาลาเปนโญ่ (Jalanpeno) หรือพริกเม็กซิกันรสชาติเผ็ดร้อน ซึ่งชื่อของมาสคอต Pique ก็เพี้ยนมาจากคำว่า Picante ที่แปลว่า เผ็ด ในภาษาสเปน โดยออกแบบให้ตัวมาสคอตมีหนวดเขี้ยวโค้ง และสวมหมวกปีกกว้างที่เป็นสัญลักษณ์ของคนเม็กซิกัน


     Ciao 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 14 เมื่อปี 1990

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศอิตาลี

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    ด้วยความที่ว่าอิตาลีเป็นชาติแห่งศิลปะ แล้วจะให้มาสคอตออกมาธรรมดาๆ ก็คงไม่ได้ มาสคอตของปีนี้จึงไม่ใช่คน สัตว์ หรือผัก ผลไม้ แต่เป็นโมเดลรูปทรงเหลี่ยม สีแดง ขาว เขียว ซึ่งเป็นสีของธงชาติอิตาลี ที่ต่อกันคล้ายรูปคนมีหัวเป็นลูกฟุตบอล ชื่อว่า Ciao (เชา) แปลว่า สวัสดี ในภาษาอิตาลี อาจจะดูเป็นมาสคอตที่น่ากลัวไปหน่อย แต่ดูไปดูมาก็เท่เหมือนกันนะ


     Striker 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 15 เมื่อปี 1994

    ประเทศเจ้าภาพ: สหรัฐอเมริกา

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    ในปี 1994 มาสคอตกลับมาเป็นสัตว์อีกครั้ง เป็นเจ้าหมาหูตูบสีน้ำตาล ชื่อว่า Striker สวมชุดฟุตบอลสีแดงขาว น้ำเงิน โดยมีคำว่า USA 94 อยู่บนเสื้อ ซึ่งคำว่า Striker แปลว่ากองหน้า ในภาษาฟุตบอล เป็นมาสคอตที่เรียบง่ายแต่น่ารักไม่เบาเลย


    Footix

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 16 เมื่อปี 1998

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศฝรั่งเศส

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

     ในปี 1998 ฝรั่งเศสผู้เป็นเจ้าภาพก็เลือกสัตว์มาเป็นมาสคอตเหมือนกัน ชื่อว่า Footix เป็นไก่ตัวผู้สีน้ำเงินเหมือนสีของเสื้อฟุตบอล มีคำว่า France 98 ที่หน้าอก ชื่อ Footix มาจากการผสมคำระหว่าง Football กับ ix จาก Asterix ตัวการ์ตูนดังของฝรั่งเศส 


     The Spheriks (Ato, Kaz, Nik

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 17 เมื่อปี 2002

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่น

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    ฟุตบอลโลกปีนี้ค่อนข้างพิเศษ เพราะนอกจากจะมีเจ้าภาพถึงสองประเทศ คือเกาหลีและญี่ปุ่น แล้ว ยังมีมาสคอตถึงสามตัวด้วยกัน เป็นมนุษย์ต่างดาว ได้แก่ Ato (โค้ชตัวสีเหลืองKaz (นักฟุตบอลตัวสีม่วง) และ Nik (นักฟุตบอลตัวสีน้ำเงิน) ทั้งสามมาจากดาว Atomozone ที่เดินทางมายังโลกเพื่อมาโปรโมทฟุตบอลโลก (เป็นมาสคอตที่หน้าตาน่ากลัวอยู่เหมือนกันนะ...)


     Goleo and Pille 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 18 เมื่อปี 2006

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศเยอรมนี

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    สำหรับมาสคอตฟุตบอลโลกที่เจ้าภาพอย่างเยอรมันเลือกนั้น เป็นเจ้าสิงโตตัวใหญ่ สวมเสื้อฟุตบอลทีมชาติเยอรมันชื่อ Goleo และลูกฟุตบอลพูดได้ชื่อ Pille แต่เห็นมาสคอตดูเท่และน่าเกรงขามแบบนี้ กลับมีประแสวิจารณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก เพราะคนส่วนใหญ่เห็นว่าสิงโตไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเยอรมันเลย (สิงโตเป็นสัญลักษณ์ของทั้งประเทศอังกฤษและเนเธอร์แลนด์)โดยมีความเห็นว่าน่าจะเลือกมาสคอตเป็นอินทรีที่อยู่ในสัญลักษณ์ของชาติมากกว่า


     Zakumi 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 19 เมื่อปี 2010

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศแอฟริกาใต้

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    มาสคอตของฟุตบอลโลกครั้งนี้ เป็นเสือดาวชื่อว่า Zakumi ออกแบบให้เสือดาวมีสีเหลืองและเขียวตามสีของธงชาติ โดยชื่อของมาสคอตมาจากคำว่า Za (รหัสประเทศของแอฟริกาใต้) และ Kumi (แปลว่า 10 ในหลายภาษาของแอฟริกา)


     Fuleo 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 20 เมื่อปี 2014

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศบราซิล

    (เครดิตภาพ: checkinlives.com)

    ในปี 2014 มีมาสคอตประจำฟุตบอลโลกคือ เจ้าตัวนิ่มหน้าตาน่ารัก ชื่อว่า Fuleo ซึ่งมาจากคำว่า Futebol (ฟุตบอล) และ Ecologia (ระบบนิเวศน์) เพื่อกระตุ้นให้คนหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเท่าๆ กับที่สนใจฟุตบอล โดยตัวนิ่มเป็นสัตว์ประจำถิ่นของบราซิลที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ส่วนเปลือกสีน้ำเงินของตัวนิ่ม หมายถึงท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง และแหล่งน้ำของบราซิลนั่นเอง


     Zabivaka 

    ฟุตบอลโลกครั้งที่ 21 เมื่อปี 2018

    ประเทศเจ้าภาพ: ประเทศรัสเซีย

    (เครดิตภาพ: khaosod.co.th)

    และมาสคอตประจำฟุตบอลโลกในปี 2018 นี้ คือ สุนัขลากเลื่อนสุดเท่ชื่อว่า Zabivaka (ซาบิวากา) โดยคำว่า ซาบิวากา มีความหมายว่า พลังแห่งความสนุกสนาน มีเสน่ห์ และความมั่นใจ จากฝีมือการออกแบบของ Ekaterina Bocharova (เอกาเทรินา โบชาโรวา) นักศึกษากราฟิกดีไซน์จากมหาวิทยาลับทอมสก์ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากสุนัขลากเลื่อน หรือ ค็อกกี้วูล์ฟ ซึ่งเป็นสัตว์ประจำประเทศรัสเซียรองจากหมีขาว เพราะรัสเซียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ติดขั้วโลกเหนือ มีอากาศหนาวเย็น และมีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี ดังนั้นสุนัขลากเลื่อนจึงมีความสำคัญมาก

    นอกจากนั้น คำว่า ซาบิวากา ยังหมายถึง The One Who Scores หรือผู้ทำประตู เป็นรากศัพท์ของคำว่า ยิงประตู (Zabivat) อีกด้วย เรียกได้ว่านอกจากหน้าตาจะเท่แล้ว ชื่อยังมีความหมายที่ดีอีกด้วย

     

    ฟุตบอลโลกถือว่าเป็นสีสันที่สี่ปีมีเพียงหนึ่งครั้ง มินิมอร์เองก็อยากให้ทุกคนสนุกไปกับฟุตบอลโลกในปีนี้ด้วย แต่อย่าดูเพลินจนตื่นไปเรียน ไปทำงานกันไม่ไหวนะ มินิมอร์ขอเตือน :>

    ที่มา:

    เรื่องโดย Minimore Trainee: ตัวเล็ก
    ภาพโดย Minimore Trainee : Bewwwwwadee
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in