เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Reflective E- Portfoliosuchadapo
26 มกราคม 2564- คาบที่สอง
  • 26 มกราคม 2564 


    LAEN 475 English Language Teaching


              และแล้วสัปดาห์ที่สองของการเรียนวิชานี้ก็มาถึง  ต้นคาบอาจารย์พูดถึงการเกริ่นว่าควรเกริ่นอย่างไรเวลาสอนนักเรียน ซึ่งการเกริ่งนั้นมีหลายแบบและมีวิธีที่แตกต่างออกไป ทั้งนี้ต้องดูว่าเหมาะสมกับผู้เรียนหรือไม่ นอกจากนี้การจะทำให้นักเรียนรู้สึก engage ไปกับเนื้อหานั้นทำได้หลายวิธีแต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น การเรียกชื่อ ซึ่งวิธีการนี้ช่วยให้นักเรียนตื่นตัวในการเรียน แต่วิธีการนี้อาจจะส่วนตัวเพราะอาจทำให้เกิดการ bias ได้ว่าทำไมถึงเรียกแต่คนนี้ ซึ่งต้องดูเป็นกรณีๆไป  


                  ในคาบนี้เริ่มเรียนถึงความแตกต่างระหว่าง Learning language  และ Acquiring language  ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร โดย acquiring language คือการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ เกิดขึ้นกับเด็กที่ใช้กระบวนการ subconscious process ในการเรียนรู้ภาษามเช่นการสอนเด็กเล็ก เราอาจพูดให้เข้าฟังเลยแทนที่จะบอกให้เขาพูดตาม เพราะเขาอาจไม่เข้าใจ เป็นการเรียนรู้ภาษาผ่านผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ในขณะที่ learning language จะเกิดจากเรียนรู้กฎของภาษา ซึ่งเมื่อเรียนแล้วสามารถพูดถึงความรู้ตรงนั้นนั้นได้  โดยการสอนภาษาอังกฤษนั้นมีหลายแบบเช่น การสอนแบบ explicit learning คือการสอนแบบบอกหมด ผู้เรียนไม่ต้องนึกภาพตาม สอนแบบป้อนคำต่อคำ ส่วน implicit learning เป็นการสอนโดยให้ผู้เรียนสังเกตและคิดตาม ซึ่งทั้งสองวิธีไม่มีวิธีไหนดีไปกว่ากันแต่ผู้สอนต้องเลือกให้ถูกแค่นั้นเอง  อีกทั้งยังมีการโยงถึงต้นตอของภาษาอังกฤษโดยทีเดียวว่าบทบาทของภาษาอังกฤษเกี่ยวข้อ อย่างไรกับคนไทย ว่าเหตุใดเรียนภาษาอังกฤษมาหลายปีแต่ใช้การได้น้อย นอกจากนี้อาจาย์ยังเสริมอีกว่าการเรียนภาษาอังกฤษนั้นต้องเริ่มเรียนจาก standard English เสียก่อนเพราะเมื่อเรารู้มาตรฐานแล้วจะทำให้ประยุกต์ใช่กับด้านอื่นๆได้อีกด้วย   ซึ่งทั้งสองคำมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง  สิ่งที่น่าเศร้าคือการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็น foreign language ทำได้ยากเพราะ เพราะขาดโอกาสในการฝึกใช้ในสถานการณ์จริง หมดเวลาไปกับการท่องจำทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นที่พอใจนัก 


           สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคาบนี้คือการให้ feedback ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสอน แต่การให้ feedback แก่ผู้เรียนนั้นเป็นศาสตร์ที่สำคัญมาก เพระาไม่ใช่ทักคนจะยอบรับ negative feedback ได้ ซึ่ง negative feedback อาจสร้างบาดแผลแก่ผู้เรียนจนไม่อยากเรียนวิชานั้นหรือฝังใจต่อการเรียนรู้วิชานั้นไปเลยก็ได้ ซึ่ง positive feedback จะช่วยให้ผู้เรียนมีกำลังใจในการเรียนมากขค้นควรให้คำแนะนำที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและอยากพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยส่วนตัวชอบที่อาจารย์สอนเรื่องการให้ feedback กับนักเรียนมากเพราะดูเหมือนจะเป็นจุดเล็กๆน้อยๆแต่คำแนะนำเหล่านี้สามารถสร้างแรงขับเคลื่อนของผู้เรียน ซึ่งจะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพสูงสุด 

     

                    โดยรวมแล้วเนื้อหาที่ได้เรียนมีความเหมาะสม ไม่อัดแน่นจนตามไม่ทัน อีกทั้งเวลาเรียนได้คิดตามไปด้วย ไม่รู้สึกกดดันหรือเครียดเกินไป อีกทั้งได้เรียนรู้เนื้อหาต่างๆ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในด้านต่างๆได้อีกด้วย ซึ่งมีการพูดถึงการ engage กับนักเรียน คือการที่นักเรียนสามารถเชื่อมประสบการณ์ของตัวเองเข้ากับบทเรียนได้ โดยส่วนตัวถือว่ายากและท้าทายมากเพราะการทำให้ผู้เรียนเชื่อมโยงต่างๆเข้ากับประสบการณ์ส่วนตัวนั้น ผู้เรียนต้องรู้สึก engage จริงๆถึงจะเกิดการเชื่อมขึ้น โดยส่วนตัวแล้วอยากพัฒนาตัวเองให้ทำแบบนั้นได้


                 โดยสรุปแล้วชอบภาพรวมของคาบนี้ ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป ทำให้ตามทำเนื้อหา อีกทั้งมีวิดีโอย้อนหลังให้ทบทวน สิ่งที่คาดหวังในคาบถัดไปคือการสอนที่ไม่ช้าหรือเร็วเกินไปเหมือนคาบนี้ รวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการสังเกตการณ์สอนในคาบหน้า  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกขั้น 





Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in