เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Reflective E- Portfoliosuchadapo
2 กุมภาพันธ์ 2564 - คาบที่สาม
  • 2 กุมภาพันธ์ 2564 

    LAEN 475 English Language Teaching 



          วิชานี้ได้เปิดมาสัปดาห์ที่สามแล้ว สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดคือวิชาจัดเต็มมากขึ้น เนื้อหาหนักขึ้น เหมือนสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น เปิดคาบทุกคนมารอเตรียมพร้อมเข้าเรียนออนไลน์แต่ยังมีบางคนที่ยังไม่เข้า อาจารย์เลยเปิดเพลงรอระหว่างคาบ ซึ่งการเปิดเพลงนี้ยังไม่ถึงเวลาเรียนแต่เป็นการแก้สถานการณ์ไม่ให้เงียบเกินไป และไม่ทำให้คนที่เข้ามาก่อนเวลารู้สึกเบื่อ  


         เมื่อเวลาเเห่งการเรียนมาถึง เนื้อหายังเป็นเนื้อหาต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยต้นคาบมีมอบหมายให้อ่านเนื้อหาล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวสำหรับ classroom observation และจัดทำตาราง observation สำหรับตัวเอง หลังจากนั้นบรรยายเกี่ยวกับการสอนโดยมุ่งไปที่ระดับภาษาของผู้เรียน โดยผู้เรียนอาจมีการใช้ที่ผิด ซึ่งผู้สอนต้องปรับเนื้อหาให้เข้ากับผู้เรียนเสมอ ให้เนื้อหามีความยืดยุ่น ไม่จำกัดเกินไปซึ่งการเรียนภาษานั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องหลักๆคือเรื่อง L1 และ L2  ซึ่งผู้สอนต้องหาตรงกลางให้เจอเพื่อให้เหมาะกับผู้เรียนมากที่สุด นอกจากนี้มีการกล่าวถึงทฤษฎี 3 ทฤษฎีที่เกียวข้องกับ Second Language Acq ได้แก่ 1. The Behaviorist model เป็นทฤษฎีเกี่ยวข้องกับ habits ของมนุษย์ในการเรียนภาษา ซึ่งการจะได้มาซึ่งผลลัพธ์ (response)  ต่อ stimulus นั้นขึ้นอยู่กับ positive หรือ negative reinforcement เช่น การชมเวลาทำได้ดี ถือเป็น positive reinforcement หรือ การลงโทษเวลาทำผิด ถือเป็น negative reinforcement  ทฤษฎีที่สองที่เรียนคือ Innatist Theory เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถในการเรียนภาษามาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีนั้น ผู้สอนมีหน้าที่แค่จัดระเบียบความคิดของผู้เรียน ทฤษฎีที่สามที่เรียนในคาบนี้คือ Interaction (Socio- cultural ) Theory เป็นทฤษฎีที่เน้นการสื่อสารกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกันระหว่างผู้เรียน ผู้สอน คนในชั้นเรียน หรือสภาพแวดล้อมในการเรียน  ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้ไม่มีอันไหนดีกว่าอันไหน แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องเน้นผู้เรียนว่าเหมาะกับแบบไหน หรือจะสอนแบบผสมผสานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็ได้ 

     

           ซึ่งที่ได้เรียนรู้หลักๆจากคาบนี้คือการเนื้อหาที่ได้เรียนนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ผู้เรียนอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากอาจารย์มีการสอบถามหรือติดตามการเรียนนักศึกษาตลอด โดยการใช้วิธีการ scaffold  อธิบายง่ายๆคือการสังเกตผู้เรียนเหมือนนั่งบนนั่งร้าน โดยมองภาพรวมและไม่ตัดสิน เพราะการใช้วิธีนี้จะทำให้เห็นปัญหาที่แท้จริง และเพื่อให้แก้ได้ถูกจุด  


           โดยรวมแล้วเนื้อหาที่ได้เรียนเป็นการเพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหามากขึ้นเรื่อยๆ โดยการบรรยายในคลาสมีสไลด์ชัดเจน อีกทั้งผู้สอนไม่ได้พูดตามสไลด์ แต่เป็นการอธิบายเพิ่มเติมจากสไลด์และเพิ่มเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย เพิ่มเข้าไปอีก จึงทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพระการอธิบายเพิ่มเติมจะทำให้จดตามและตั้งใจฟังมากขึ้น นอกจากนี้มีเทคนิคการกดกระดิ่งเวลาเนื้อหามีความสำคัญ ทำให้ฉุกคิดตาม ที่สำคัญคือมีการให้เนื้อหาอ่านล่วงหน้า ไม่กระชั้นชิดเกินไป ทำให้นักศึกษามีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น


           คาบนี้ผ่านพ้นไปด้วยดี โดยสัปดาห์หน้าน่าจะเป็นอีกสัปดาห์ที่หัวหมุนเป็นพิเศษเพราะต้องเข้าไปสังเกตการณ์การเรียนการสอน โดยหวังว่าตนจะมีสมาธิมากพอและเก็บรายละเอียดห้องที่สังเกตการณ์ได้อย่างครบถ้วน  ซึ่งคิดว่าผลจากการสังเกตการณ์นี้จะช่วยให้ตนได้รับแง่มุมใหม่ๆมากขึ้นและสามารถนำมาปรับใช้ในการสอนของตัวเองได้ 


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in