เราเดินถ่ายรูปก๊อกแก๊กมาตามทาง พักสมองจากเรื่องราวประวัติศาสตร์และเติมพลังกันที่ร้าน
Mary's Milk Bar ร้านไอติมชื่อดังที่คนต่อแถวยาวเป็นหางว่าว
ระหว่างที่ยืนๆรอๆอยู่นั้นก็สังเกตเห็นว่าเรายืนอยู่บนแนวกำแพงเมืองเก่าจ้า มีประวัติศาสตร์ซ่อนอยู่ทุกมุมเมืองจริงๆ :D
ภายในร้านน่ารักมาก มีโต๊ะเก้าอี้ให้นั่งสองสามตัว คนขายแต่งชุดวินเทจมาก ชอบเหลือเกิน ไอติมโฮมเมดมีให้เลือกหลายรส เช่น กุหลาบ หรือ ลาเวนเดอร์ แต่เราก็ลองวานิลลาธรรมดานี่แหละ อร่อยดี :)
เราเดินต่อไปตรง
Grassmarket เป็นหนึ่งในตลาดในใจกลางเมือง ความสำคัญของโซนนี้คือเป็นจุดประหารชีวิตนักโทษโดยการแขวนคอ ศพสุดท้ายที่ถูกแขวนคอที่นี่คือเมื่อราวปี 1784
ที่นี่ในอดีตจึงเป็นเรื่องราวที่หดหู่ สยดสยอง ครั้งหนึ่งเคยมีการประหารพวก
Convenanters นับร้อยภายในตลาด ผู้คนตราไว้ว่าพวก
Convenanters คือกลุ่มคนที่ต่อต้านการแทรกแซงทางศาสนาของกษัตริย์อังกฤษ คนเหล่านี้จำนวนหนึ่งถูกเนรเทศไปยังอาณานิคมใหม่คือ ทวีปอเมริกาและนิวซีแลนด์นั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ที่ยังถกเถียงกันว่าจริงหรือไม่คือ การฟื้นคินชีพของ
Maggie Dickson จากการแขวนคอ เธอถูกลงโทษข้อหาปกปิดการตั้งครรภ์ของตัวแล้วเองคลอดก่อนกำหนด เล่ากันว่าเธอถูกแขวนคอแต่กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมา ผู้ตัดสินถกเถียงกันว่าสมควรประหารเธอหรือไม่ ฝ่ายนึงมองว่าควรจะประหารอีก เพราะโทษของเธอคือต้องตาย ถึงฟื้นแล้วก็ต้องตายอีกอยู่ดี ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งแย้งว่านี่อาจเป็นลิขิตของพระเจ้าที่เธอฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง ไม่ควรจะไปประหารชีวิตเธออีก สุดท้ายเคราะห์ดี ในช่วงประหารชีวิตเธอมีนักกฎหมายคนหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ ร้องขึ้นว่า
"ตามหลักกฎหมายอาญา ห้ามลงโทษผู้กระทำผิดซ้ำสอง
(Double Jeopardy)"
เธอจึงใช้ชีวิตอย่าสงบสุขมาอีก 40 ปี และนี่คือหนึ่งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั่นเอง (ซึ่งพอเราได้ฟังก็หวีดอยู่ในใจตามประสาคนจบกฎหมายนั่นแหละ เชี่ย... ที่นี่นี่เอง!)
ปัจจุบันที่นี่มีผับดังๆอยู่สองผับที่ทิ้งร่องรอยประวัติศาสตร์อันน่าสยดสยองของ
Grassmarket คือ
The last Drop และ
Maggie Dickson's Pub ซึ่งผับในอังกฤษส่วนใหญ่มีเสนห์คือ เชื่อมโยงเรื่องราวของประวัติสาสตร์บุคคลกับสถานที่ได้อย่างน่าทึ่ง ใจจริงอยากมาเที่ยวไปตามผับต่างๆ จิบเบียร์ และซึมซับประวัติศาสตร์ ต้องฟินและต่อนยอนมากแน่ๆ
และแน่นอน ความติ่งแฮร์รี่ของข้าพเจ้าคืออนันต์อันไม่มีที่สิ้นสุด เราไม่ลืมที่จะแวะร้าน
The Elephant House ซึ่งเป็นร้านที่
J.K. Rowing มานั่งเขียนแฮร์รี่เล่ม 1 และเล่ม 7 นั่นเองงงงง
จากนั้นเราไปติ่งแฮร์รี่กันต่อที่
Greyfrairs Kirkคำว่า
Kirk เป็นภาษาสก็อตแปลว่า
Church นั่นเอง เดิมที
Greyfrairs Kirk เป็นที่ดินของบาทหลวงคาทอลิกฝรั่งเศส แต่ภายหลังถูกตั้งเป็นศาสนจักรของพวก
Presbyterianความสำคัญของโบสถ์แห่งนี้คือเป็นที่ลงนาม
National Convenant เป็นเอกสารทางการเมืองและศาสนาเพื่อประกาศว่า ศาสนาคริสต์ไม่ขึ้นกับราชบัลลังก์และสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ควรได้รับความคุ้มครอง เอกสารฉบับนี้เกิดขึ้นเมื่อพระเจ้า
Charles I สังคายนาพระคัมภีร์ให้กษัตริย์มีอำนาจเหนือศาสนจักร เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตยเล็กๆที่ไม่ถูกกล่าวถึงมากนักในประวัติศาสตร์ยุโรป
ร่องรอยของกำแพงเมืองเก่านะฮะ
ภายในบริเวณโบสถ์ยังเคยเปนที่คุมขังพวก
Convenanters ในสมัย
Charles II โดยนักโทษถูกปล่อยให้อดตายภายในนั้นจำนวนมาก ยังดีที่มีพลเมืองดีที่เอาอาหารมาให้นักโทษเหล่านั้น
และนอกจากนี้ตรงสุสานด้านหลังโบสถ์ยังเปนที่ที่
J.K. Rowing ชอบมาเดินเล่นและชื่อของ
ศาสตราจารย์มักกอนนากัล และ
ทอม มาโวลโล่ ริดเดิ้ล ยังมาจากหลุมศพภายในสุสานที่นี่อีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าภารกิจของเราคือการตามหาหลุมศพทั้งสองนั่นแหละ! ติ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
เจอแต่ของศาสตราจารย์มักกอนนากัล ไม่เจอของจอมมารแหะ เสียดาย
ติดๆกันนั้นเป็นที่ตั้งโรงเรียน
George Heriot Watt ตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 17 สำหรับเด็กกำพร้า ซึ่งมีลักษณะการบริหารกิจการนักเรียนคล้าย
Hogwarts เลยล่ะ โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นเป็นบ้านและชิงถ้วยบ้านประจำปี
เดินเรื่อยเปื่อยฟังเรื่องราวมาเรื่อยๆจนเกือบๆจะหกโมงเย็น คุณคงสัจเลยพาเราขึ้นบัสไปทานอาหารเย็นที่บ้าน เราได้เจอคุณแม่โฮสต์และญาติๆรวมถึงเพื่อนชาวญี่ปุ่นอีกคนนึงชื่อว่า
โทโมมิ นั่งเล่น จิบชา ชิมชีส จนกระทั่งสองทุ่มนิดๆ ฟ้าเริ่มมืดเราก็ออกมาจากบ้านเพื่อกลับไป
Glasgowระหว่างทางหมอกลงจัดมากๆจ้า
ไหนๆก็มาแล้ว เลยเดินไปดูเมืองฝั่ง
New Town ด้วยเลยก็ได้ ระหว่างทางก็แวะที่สวน
The Meadows ซึ่งเป็นลานเขียวขนาดใหญ่ ตอนนั้นอากาศกลับมาเย็นมากแต่เย็นชื้นๆแบบสดชื่น หมอกลง ได้เห็นเมืองครบทุกสภาพอากาศแล้วนะเนี่ย
เราเดินตัดเข้ามาย่านเมืองเก่านิดหน่อย เดินอ่อยอิ่งชมบรรยากาศเมืองเก่าในม่านหมอกแถวๆ
Victoria Street ซึ่งแต่เดิมชื่อว่า
Bow Street เป็นถนนที่สูงชันยากสำหรับการเข็นรถเข็นในสมัยก่อน แต่ก็เป็นเส้นทางเดียวที่จะขึ้นไปสู่กลางเมือง จากทางตะวันตกในอดีต
มาจนศตวรรษที่ 19 มีการปรับพื้นที่ถนนให้น่าดึงดูดและเดินทางสะดวกมากขึ้น พร้อมกับการตั้งชื่อถนนให้พ้องกับสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษที่เพิ่งสืบบัลลังก์ในต้นศตวรรษคือ วิกตอเรีย
เอกลักษณ์ของถนนเส้นนี้คือทางชันขึ้นเป็นตัว Z ให้มุมมองที่สวยงาม และอาคารบ้านเรือนที่หลังคาสูงติดกันมาก จนเกิดเป็นคำกล่าวต่อกันมาว่าเพื่อนบ้านแทบจะดื่มชาคุยกันข้ามหลังคาได้
ส่วนย่าน
New Town เกิดขึ้นหลังการปราบปรามกบฏ
Jacobite คือกลุ่มผู้สนับสนุนรัชทยาทสายสจ๊วต ต่อต้านกษัตริย์
George จาก Hanover
สถาปัตยกรรมในย่านนี้จะเป็นแบบ
Georgian คือยุคกษัตริย์จอร์จสี่พระองค์ (นักประวัติศาสตร์บางท่านได้รวมวิลเลียมที่สี่ไปด้วยเพราะนิสัยที่น่าเบื่อของกษัตริย์เหล่านั้น เลยเอามารวมๆไว้ในยุคเดียวกันเสียเลย)
สถาปนิกที่ออกแบบย่านนี้คือ
James Craig เดิมทีตั้งใจออกแบบให้นิวทาวน์มีรูปร่างแบบธง
Union Jack แต่ภายหลังก็ลดความท่าเยอะลง ส่วนชื่อบ้านนามเมืองในเขตนี้แสดงถึงความเป็นเจ้าอธิราชเหนือสก็อตของกษัตริย์สาย
Hanoverian ดังเช่น
Princes Street, Hanover Queen Street, Federick Street และ
George Street เป็นต้น
แน่นอนเมื่อมีการตั้งย่านเมืองใหม่ขึ้น บุคคลกลุ่มแรกที่ย้ายจากเมืองเก่าคือ ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง เพราะในสมัยก่อนตึกแถวตึกหนึ่งจะอยู่กันหลายครอบครัว ถ้าไม่ใช่ชนชั้นสูง แบ่งพื้นที่เป็นชั้นๆ คนจนจะอยู่ชั้นล่างสุดและบนสุดเพราะอุณหภูมิต่ำที่สุดในตัวตึก
ส่วนในเมืองเก่านั้นความเป็นอยู่เลวร้ายกว่านั้นมาก คนจนจะอยู่ในตรอกมืดๆลาดลงไปสู่ที่ต่ำ ที่เรียกว่า
Close อยู่ในห้องแคบๆ ราว 15-30 คนต่อห้อง ไม่มีส้วม (ห้องน้ำส่วนตัวเริ่มเกิดขึ้นในสมัย Victorian นอกนั้นอย่างดีที่สุกคือนั่งกระโถน) มีแต่ถังเล็กบรรจุสิ่งปฏิกูลโดยคนที่เด็กสุดในห้องมีหน้าที่นำไปเท หน้าบ้าน ซึ่งก่อนเท เขาก็จะตะโกนเตือนคนที่เดินผ่านไปมาว่า
Gardyloo!!!! (Mind the water) เพราะฉะนั้น
Edinburgh จึงมีฉายาในอดีตว่า
Auld Reekie (Old Reek) แปลว่ากลิ่นคาวปลาเก่าๆ
นอกนั้นแสงสว่างก็เป็นเรื่องลำบากของคนสมันก่อน ก่อนการกำเนิดของหลอดไฟ คนสมัยก่อนใช้ขี้ผึ้งและไขมันสัตว์เป็นเทียนให้แสงสว่าง แต่ขี้ผึ้งเป้นของแพงเพราะให้แสงสว่างมาก คนทั่วไปจึงใช้ ไขมันสัตว์ ซึ่งให้แสงมัว แสงสว่างในอดีตเป็นตัวแปรที่กำหนดวิถีชีวิต เพราะเขาจะนอนกันเมื่อไม่มีแสงสว่างแล้ว เพราะสมัยก่อนไม่มีกิจกรรมให้ทำมากเหมือนปัจจุบัน
อันนี้ไม่เกี่ยวกับแสงสว่าง แต่ผ่านหน้าบ้านอเล็กซานเดอร์ เกรย์แฮม เบล เฉยๆเลยถ่ายรูปมา
โอ้ย เดินที่นี่คือพีคมาก สถานที่สำคัญเต็มไปหมด ฟินนนนนนน
เราจับรถไฟกลับไปเวลาประมาณห้าทุ่มนิดๆ ไปถึงก็เที่ยงคืนกว่า เดินสั่นๆกลับไปโรงแรมและไข้ขึ้นจ้า ระหว่างทางกลับมาดูไบนี่คิดในใจตลอดเวลาว่าจะรอดไหมหว่า แต่ก็ถึงโดยสวัสดิภาพไม่เป็นอะไรไปเสียก่อน :)
สำหรับการเยี่ยมเยือนนครเอดินบะระห์ก็จบลงเท่านี้ ถ้ามีเงินมีเวลาก็อยากมาเที่ยวใหม่นะ รู้สึกว่ายังไม่จุใจ ต้องใช้ความละเลียดเดินเล่นซึมซับบรรยากาศมากกว่านี้ เอาจริงๆเราอยากมาเรียนป.โทที่นี่นะ เป็นหนึ่งในความใฝ่ฝันของเราเลย แต่ถ้าจะเรียนก็คงไม่เรียนต่อด้านกฎหมายแล้วแหละมั๊ง อยากเรียนเพราะอยากรู้ เพราะอยากยกระดับความคิดและจิตวิญญาณ ไม่ใช่เรียนเพื่อเอาไปประกอบอาชีพนั่นแหละ สนองความเนิร์ดของตัวเองล้วนๆ
สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณคุณคงสัจสำหรับการต้อนรับและการนำเที่ยวต่อนยอนชมเมือง ตลอดจนพาไปรับประทานอาหารค่ำที่บ้าน และที่สำคัญคือเกร็ดความรู้ต่างๆมากมายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอังกฤษและสก็อตแลนด์
ไฟล์ทหน้าจะพาไปเที่ยวไหน ติดตามด้วยนะจ๊ะ :)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in