เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
something worth watchingnadnnaddy
Everything I Want to Talk About 'Bridgerton'
  • ต้อนรับ Christmas 2020 ด้วยซีรี่ส์เรื่องใหม่จาก Netflix ร่วมกับ Shondaland บริษัทโปรดัคชั่นชื่อดังจาก America (ผู้สร้าง Grey's Anatomy, How to Get Away with Murder) 

    ทางเราเองก็ได้ปั่นดูมาถึงอีพี 5 อย่างรวดเร็วว (มีทั้งหมด 8 อีพี) ด้วยความสงสัยเกี่ยวกับยุค ๆนี้ และความชื่นชอบนิยายโรแมนซ์อยู่แล้ว เราก็เลยหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมเล่น ๆเกี่ยวกับซีรี่ส์เรื่องนี้ และอยากจะมาแชร์สิ่งที่ได้อ่านให้ฟังกัน :-)

    *Disclaimer เราพึ่งดูถึงอีพีห้า เลยไม่สามารถพูดถึงทุกอย่างได้ และนี้เป็นบทความที่เขียนเพื่อความบันเทิงเท่านั้น หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่า 

    Regency Era
    Bridgerton เป็นเรื่องราวในอังกฤษ ปี 1813 ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วง Regency Era Regency Era นับตั้งแต่ 1811-1820 รวมทั้งหมด 9 ปี ซึ่งยุคนีถูกตั้งชื่อตาม Regent หรือคนที่ขึ้นปกครองแทนกษัตริย์เพียงชั่วคราว เนื่องจากความไม่สามารถปกครองของกษัตริย์ณ เวลานั้น ในปี 1810 George III ป่วยหนักและไม่อาจปกครองบ้านเมืองได้ชั่วคราว ทำให้ลูกของท่าน George IV ได้ขึ้นครองราชแทนชั่วคราว ยุค Regency จบลงในปี 1820 เมื่อ George III สวรรคต ทำให้ George IV ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์อย่างถาวร 
    ซึ่ง George IV นั้นเลื่องลือไปด้วยความหล่อเหลาและกิริยาที่งดงาม ทำให้ถูกนามให้เป็น ‘the first gentleman of England’.


    จะเห็นได้ว่าในซีรี่ส์ Bridgerton King George มีอาการป่วยหนักถึงขณะจำการสูญเสียของลูกสาวตนไม่ได้ และ Queen แทบจะไม่สนใจด้วยซ้ำว่า King เป็นตายร้ายดียังไง (หรือแทบจะอยากให้คิงตาย ๆไปซะให้จบเรื่องด้วยซ้ำ) สิ่งที่ดูจะสำคัญกับนางไปมากกว่าสามีของตัวเองนั้นคือ Courting Season (ฤดูกาลเกี้ยวพาราสี) เสียมากกว่า

    (ส่วนเรื่องเชื้อชาติของควีน เราขออนุญาตแปะลิ้งที่สามารถสรุปได้อย่างครบถ้วนไว้อยู่แล้วให้นะคะ

    Courting/ Dating Culture 
    จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าในยุคนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้หญิง (และอาจจะเป็นเพียงสิ่งเดียว) คือการแต่งงาน มีครอบครัว อย่างน้อย ๆสังคมเราได้มาไกลกว่าในยุคนั้นก็เป็นเพราะ ผู้หญิงในยุคนั้นยังไม่ได้รับรู้ความจริงใด ๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งท้องหรือการมีเพศสัมพันธ์ 

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องเดิม ๆในยุคนั้น ก็ไม่ได้จะหายไปทั้งหมด ผู้หญิงในปัจจุบันก็ยังได้รับแรงกดดันให้แต่งงาน มีลูก มีครอบครัวอยู่ ส่วนผู้ชายก็ยังต้องเผชิญกับบรรทัดฐานเดิม ๆ ว่าต้องแข็งแรง เข้มแข็ง ไม่ร้องไห้ และต้องมีความฝัน จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากฉากที่เอโลอีสพูดกับพี่ชายของตนอยู่เสมอและการที่เลดี้เฟทเธอริงตันทำตัวไม่ถูกเมื่อเห็นสามีของตนร้องห่มร้องไห้ 

    แต่สิ่งหนึ่งที่ Regé-Jean Page (รับบทท่านดยุค) ได้กล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ก็คือสิ่งที่ตัวละครตัวนี้พิเศษและแตกต่างจากตัวละครชายอื่น ๆในหนัง period ยุค Regency คือ vulnerability (ความอ่อนไหวและอ่อนโยน) ของตัวละครชายในขณะที่ต้องต่อสู่กับแรงกดดันของผู้ชายในยุคนั้น 

    Page กล่าวว่าเขาต้องการที่จะเล่าเรื่องราวผ่าน 'feminist lens' เพราะในยุค Regency นั้นก็เป็นยุคที่ผู้หญิงมีบทบาททางศิลปะมากขึ้นยกตัวอย่างเช่น Jane Austen ผู้ที่ตีพิมพ์หนังสือจำนวน 6 เล่มในยุคนี้และโด่งดังไปทั่วแม้กระทั่งหลังเธอเสียชีวิต แต่ TV กลายเป็นศิลปะแขนงที่ไร้วี่แววของ feminism และ Page ต้องการจะ blend ความเป็น pop culture ดึงมุมมองต่าง ๆในยุคปัจจุบันมาช่วยเล่าเรื่องราวของ Regency era 



    Songs
    สิ่งที่เราชอบมาก ๆเกี่ยวกับซีรี่ส์เรื่องนี้นอกจากภาพ คอสตูมและบทต่าง ๆนั้นก็คือเพลง!!! เพราะซีรี่ส์เรื่องได้นำเพลง pop ยุคพวกเรามาดัดแปลงให้เป็นเพลงบรรเลงที่เข้ากับยุคในเรื่องอย่างสวยงาม


    Why Bridgerton? 
    ทั้ง ๆที่นิยายโรแมนติก (Romance) ถูกตีพิมพ์กว่าสิบล้านเล่มทุกปี ๆ พร้อมหนังสือที่ออกใหม่มากกว่าหมื่นเล่มในทุก ๆเดือน แต่สิ่งที่ฉงนเหล่าแฟนตัวยงของนิยายรักนั้นก็คือน้อยเรื่องมากที่ถูกทำขึ้นเป็นหนังหรือซี่รี่ส์ หรือแม้กระทั่งเรื่องที่ไปได้สู่จุดนั้น ก็อยู่ได้แค่เพียงช่องที่ไม่ดัง และเป็นหนังที่มีทุนต่ำอยู่เสมอ ๆ มีการถกเถียงกันมากมายถึงเหตุผล บ้างก็กล่าวว่าหนังรักมีเพียงแต่อารมณ์ ไม่มีไอเดียต่าง ๆมากพอที่จะท้าทายคนดูได้ แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่ลึกลงไปมากกว่านั้นก็คือ นิยายรักถูกมองว่า "By Women, For Women and About Women" และสิ่ง ๆนี้ทำให้หนังรักถูกมองว่าไม่หลักแหลมพอที่ผู้ชายจะเข้าถึงได้ ถึงแม้นิยายรักนั้นจะเกิดมาเพื่อผู้หญิงก็จริง แต่นั้นก็เพราะในนิยายรักผู้หญิงถูกให้ค่า ถูกมองว่าฉลาด และสนับสนุน mutual consent ในเรื่องของเพศสัมพันธ์ (แม้สิ่ง ๆนี้จะไม่จริงเสมอไปในนิยายรักยุคแรก เช่น Flames and Flowers) 

    ใน Bridgerton Van Dusen ผู้สร้างและผู้เขียนบท กล่าวไว้ว่า “We wouldn’t have a sex scene in the show that didn’t move the story forward, or that didn’t move our characters forward or didn’t expand on some aspect of what’s happening internally for each character,"

    นั้นก็แปลได้ว่า sex scene ของเขามีไว้เพื่อพัฒนาทั้งตัวละครและเรื่องราว ไม่ได้ถูกใส่มาเพียงเพราะมันเป็นนิยายรักของผู้หญิงแต่อย่างใด

    การที่ Bridgerton ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ทำให้เห็นได้ว่าเป็นไปได้ในอนาคตที่เหล่าผู้สร้างจะให้ค่าหนังรักมากขึ้น และมีผลงานออกมาให้ผู้คนได้เชยชมไม่มากก็น้อย...

    References


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in