"เวลานี้คนที่สามารถอยู่แต่ในบ้านอาจจะ 'โชคดี' แต่ไม่มี 'ความสุข' "
(P. 282)
เมื่อครู่เพิ่งไปแก้คำอธิบายของ booker logger มา.
หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ก็เกิดเข้าใจขึ้นมาได้ว่า การเขียนบันทึกหลังการอ่าน ก็เป็นการบันทึกชีวิตรูปแบบหนึ่งเหมือนกันนี่หน่า อาจเรียกว่าไดอารี่ได้ไม่เต็มปาก แต่ทุกคำกลั่นกรองล้วนตกผลึกจากประสบการณ์และสถานการณ์ ณ ขณะปัจจุบันทั้งสิ้น
จังหวะชีวิตและบริบทแวดล้อมทำให้เราเลือกสนใจใคร่รู้ในประเด็นหนึ่ง
และส่งผลให้เราเลือกหยิบหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาเปิดอ่าน.
วัยวุฒิ องค์ความรู้ และประสบการณ์ ทำให้เราเข้าใจเรื่องที่อ่านไปแบบหนึ่ง
และการเข้าใจจากการอ่านก็ทำให้เราเฉียบคม จุดประกาย เข้าใจ และเติบโตยิ่งขึ้น.
ณ ตอนนั้น เราก็กลายเป็นคนอีกคน ที่ไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไปแล้ว
แถมยังย้อนกลับไปคิดแบบเดิม ด้วยแว่นตาและความรู้เดิมก็ไม่ได้เสียแล้วด้วย.
จึงคิดว่า เราน่าจะเขียนบันทึกการอ่านในรูปแบบคล้าย ๆ บันทึกประสบการณ์ หรือ ไดอารี่เสียเลย.
(แม้ว่าบทก่อน ๆ หน้านี้เคยตั้งใจว่าจะเป็นการเขียนรีวิวหนังสือ แต่กลับไปอ่านใหม่หลายครั้งเข้า ก็รู้ว่าใส่ความเป็นตัวเอง และเวิ้นเว้อไปเยอะอยู่ดี 555)
สำหรับผู้ที่หลงเข้ามาอ่าน หรือตามอ่าน (มีไหมนะ 555)
หากไล่อ่านแต่บทแรกก็คง งง กับเราอยู่ไม่น้อย
หลังจากนี้คงมีเรื่องให้งงอีก แต่ใครได้เข้ามาอ่าน ก็ถือซะว่าเป็นการอ่านบันทึกประสบการณ์การอ่านของคน ๆ หนึ่งไปเล่น ๆ ละกันนะ อย่าหาประโยชน์ด้านการรีวิวมากเลย (= _=;;)
.
เข้าเรื่องหนังสือดีกว่า.
.
หากไม่มีโควิด19 เราจะได้อ่านบันทึกประสบการณ์ประหลาดเช่นนี้หรือไม่ ?
ประสบการณ์ที่เมืองทั้งเมืองถูกปิดลงด้วยคำสั่งล๊อกดาวน์ตามมาตราการทางระบาดวิทยาเพื่อจำกัดการระบาด
.
หากไม่มีโควิด19 ในระดับ pandemic เราผู้อ่านจะเข้าใจการถูกกักขังปิดกั้น ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่ายท้อแท้ ไร้สิ้นหนทางได้หรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น จะสามารถจินตนาการภาพเมืองร้างที่ทุกการเคลื่อนไหวหยุดนิ่งไร้ผู้คนได้หรือ ?
.
ตอบเลยว่า คงไม่สามารถเข้าใจได้
.
โควิด19 เป็นโรคระบาดที่ผู้คนทั่วโลกพบเจอและสัมผัสกันถ้วนหน้า ด้วยบริบทของสถานการณ์อันผิดปกติเช่นนี้เอง เราจึงคิดว่าการได้อ่านไดอารี่ของกัวจิง และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์ของเราได้โดยตรงนั้น เป็นสิ่งที่อัศจรรย์ใจมาก จะผิดแผกไปก็เพียงแค่รายละเอียดด้านวัฒนธรรมเท่านั้น
ซึ่งก็ทำให้หนังสือเล่มนี้น่าสนใจยิ่งขึ้น
.
จากการสั่งล็อกดาวน์กรุงเทพช่วงเดือนเมษายน - พฤกษาคม
และมาตราการอันเข้มข้นอีกหลายประการ
เราก็ต้องถูกจำกัดอยู่แต่ในบ้านเช่นกัน ยิ่งเป็นช่วงเดือนเมษายนช่วงที่ร้อนสุดของปี
การอยู่บ้าน ในสถานะที่บ้านไม่พร้อม เป็นความรู้สึกที่ทรมานมาก
.
ยิ่งไม่ต้องพูดถึงผู้คนอีกหลากหลายในกรุงเทพ ที่ใช่ว่าจะได้อยู่บ้านอย่างสุขสบาย
เปิดแอร์เย็นฉ่ำ นอนดูซีรี่ย สั่งเดลิเวอรี่ และหัดทำอาหาร
ยังมีคนอีกหลายคนที่ต้องทนอยู่ในห้องแคบแสนแออัด ไม่มีรายได้ ไม่มีของกิน และไม่มีเทคโนโลยีเพื่อฆ่าเวลา.
แต่ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะโหดร้ายไปเสียหมด ยังมีคนลุกขึ้นมาเป็นกระบอกเสียง ลุกขึ้นมาบริจาค ตั้งจุดแจกอาหารและของใช้ ยังมีคนที่พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และยังมีคนที่พร้อมทำงานทุกอย่างเพื่อสู้ชีวิต.
.
เรื่องราวในอู่ฮั่นที่กัวจิง (ผู้เขียน) ถ่ายทอดออกมาก็ไม่ต่างไปจากนี้
แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เรื่องเล่าของกัวจิงมีพลัง คือการถ่ายทอดการดำเนินชีวิตของผู้คนทั่วไปที่อาจถูกหลงลืม ผ่านแว่นตาของนักสิทธิสตรีผู้ใฝ่หาความเป็นธรรมในสังคม ขณะเดียวกันก็ดื้นรั้นและแฝงด้วยความขบถต่อกฎเกณฑ์เล็กน้อย ตามสีสันของมนุษย์ผู้ไม่ยอมสยบต่อโครงสร้าง.
.
การอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ทราบว่าอู่ฮั่นมีการจัดการและมีมาตราการอย่างไรในการรับมือ
มีการสื่อสารต่อประชาชนอย่างไร มีการปิดกั้นทางข้อมูลข่าวสารอย่างไร
ได้รู้เรื่องการอยู่อาศัยของคนจีนในเมืองใหญ่ การแบ่งเขตที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมของเมือง
ได้รู้การเล่นโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก และแนวคิดของคนจีนรุ่นใหม่ที่ก็ไม่อาจหนีพ้นความรู้จากฟากตะวันตก
ได้รู้จักความเป็นชุมชนนิยม (communitarianism) จากมาตราการรวมหมู่ต่าง ๆ
(จุดนี้ต่างจากไทย การจัดระบบของจีนดูเหมือนยังมีฐานจากคอมมิวนิสอยู่ ซึ่งในแง่การจัดการวิกฤติเชิงสังคมก็นับว่าเป็นเรื่องดี)
ได้รู้เรื่องราวซุบซิบ ข่าวหน้าเศร้า และการเคลื่อนไหวของกลุ่มเรียกร้องสิทธิด้านความรุนแรงในครอบครัว เรื่องอาสาสมัครและเครือข่ายของความช่วยเหลือ.
.
ท้ายที่สุดได้รู้ว่า
กัวจิงกินข้าวต้มทุกวันเลย!
(หรือนี่สำหรับคนจีนแล้วไม่แปลก ?)
.
.
.
สุดท้ายสุดๆ
ถ้าไม่อ่านหนังสือเล่มนี้ในช่วงที่โควิดยังอยู่นี้ ก็ไม่รู้ว่าจะมีเวลาไหนเหมาะสมไปกว่านี้แล้ว.
日記封城武漢 - ไดอารี่ล็อกดาวน์อู่ฮั่น
writer: Guo Jing
translator: เรืองชัย รักศรีอักษร
สำนักพิมพ์มติชน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in