เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Sleeveless Loverainbowflick17☂️
นอนไบนารีในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ และเลสเบี้ยนที่ผู้นำปลาบปลิ้ม

  • หัวข้อ : นอนไบนารีในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ เลสเบี้ยนที่ผู้นำนิยมชมชอบ ? เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศในอินคา

    สองสัปดาห์ที่แล้วได้เล่าเรื่อง โอเมกิด โลกสามเพศของชาวพื้นเมืองไป และทิ้งคำถามเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงไว้ด้วย สัปดาห์นี้จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับชนพื้นเมืองต่ออีกเล็ก ๆ น้อย ๆ แค่พอรู้ ไม่ลึกมาก
    ครั้งนี้เป็นสังคมที่ไม่ใช่แค่ยอมรับธรรมดา แต่เรื่อยไปถึงนัยยะการให้ความสำคัญบางอย่างกับทั้งเกย์ทั้งเลสเบี้ยนกันบ้าง โดยเป็นเรื่องในอาณาจักรอินคา

    พูดถึงอาณาจักรอินคาหลายคนน่าจะคุ้นเคยดีจึงไม่ขอท้าวความอะไรมาก 

    กล่าวโดยสรุป อินคาเป็นหนึ่งในอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดและนักวิชาการหลายคนเห็นว่าพัฒนามากที่สุดในทวีปอเมริกายุคก่อนโคลัมเบีย คือก่อนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสจะล่องเรือมาเจอ อินคาเก่งเรื่องการเกษตร ฉลาด มีการจัดการชลประทานที่ยอดเยี่ยม มีถนนที่ดีเลิศ ภาษาทางการ (Offivial Langauge) คือภาษาเกชวา (Quechua) 

    ในปัจจุบันพื้นที่แรก ๆ  ที่เคยเป็นอาณาจักรอินคามาก่อนอยู่ที่บริเวณตะวันออกเฉัยงใต้ของเปรู ส่วนพื้นที่ทั้งหมดนอกจากกินอาณาเขตของเปรูแล้ว ก็ยังมีพื้นทีอยู่ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเอกวาดอร์ 
    ตะวันตกและภาคใต้ของโบลิเวีย, ตะวันตกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา ชิลีส่วนใหญ่และบางส่วนของโคลอมเบียตะวันตกเฉียงใต้

    เรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในอินคายังมีการถกเถียงกันอยู่มาก* ในหนังสือ Homosexualismo กล่าวเอาไว้ว่าในบริเวณที่เป็นเทือกเขาทางตอนใต้ รักเพศเดียวกันไม่ได้รับการยอมรับเลย ขณะที่ในตอนกลางและตอนเหนือเป็นเรื่องปกติ (Navarro,P90, 2010) บางแหล่งก็บอกว่าพื้นที่ตอนกลางบางส่วนก็ไม่ยอมรับเช่นกัน การไม่ยอมรับนี้ก็รุนแรงถึงขั้นมีบทลงโทษถึงตายคล้าย ๆ กับวัฒนธรรมอื่น ๆ จะมาเล่าถึงมุมมองด้านที่ยอมรับกันบ้างว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง


    *หนังสือก็ดูนูกูเซโย(ดูโนเนม ดูไม่มั่นใจว่ามาจากไหน) นิดนึงนะคะ
    *อย่างที่บอกว่าข้อมูลยังคลุมเคลือในบางส่วน ถ้าเข้าใจไม่ผิดอินคาไม่มี/แทบจะไม่มีเรื่องหลักญานที่เป็นลายลักษณ์แักษรเท่าไหร่ อาจจะดูเอาจากหลักฐานอื่น ๆ ที่เป็นวัตถุ อยากให้อ่านเอาประมาณว่าอ๋อ มีคนเชื่อกันแบบนี้นะ มากกว่ามองว่ามันเป็นข้อเท็จจริงทั้งหมดนะคะ 

     ภาพมาชูปิชูโดย Jeremiah Berman จาก Unsplash

    consideraba el homosexualismo como una conexión divina que les daba sabiduría
    คนมองว่าการรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งเชื่อมโยงอันศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาซึ่งภูมิปัญญา


    Almischu - Holjoshta

    ชาวอินคาเรียกผู้ชายที่เป็นเกย์ว่า almishcu และเรียกผู้หญิงที่เป็นเลสเบี้ยน ว่า holjoshta

    ดูเหมือนว่าทางด้านของเลสเบี้ยนจะเป็นที่รู้จักมากกว่า ในบันทึกของ เฟลิเป กูซมัน โปมา เด อายาลา (Felipe Guzmán Poma de Ayala) ซึ่งเป็นชนชั้นสูงชาวเกชวาที่ออกมาสู้เรื่องความเป็นธรรมของชาวพื้นเมืองและอยู่ร่วมสมัยในเวลานั้นเล่าเอาไว้ว่าผู้นำคนที่ห้า Kapak Yupanqui มีความรู้สึกชื่นชอบ holjoshta ในแบบที่พิเศษมาก*


    Kapak Yupanqui    เข้าถึงจาก wikipedia อัปโหลดโดย Broklyn museum(Public domain)

    * ต้นฉบับใช้คำว่า  tenía “un cariño muy especial por ellas” แปลว่าชอบอาจจะน้อยไปด้วยซ้ำ ออกแนว deary, darling หรือจะบอกว่าเป็น special love แต่ไม่ใช่รักแบบฉันรักเธอ แต่งงานกับฉันไหมอะค่ะ

    ตรงนี้ก็น่าสนใจตรงที่ถ้ามองผู้หญิงในวัฒนธรรมช่วงนั้นในอินคา มีที่ยืนมากพอควร ผู้หญิงมีความสะดวกสบายมาก มีอิสระในสังคม ไปจนถึงกระทั่งได้รับสิทธิพิเศษ สามารถมีส่วนร่วมในการต่อสู้เมื่อมีสงคราม จะมีความหลากหลายทางเพศก็มีไป และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่าง ๆ ด้วย  (Won, 2007)

    คนเดิม จาก wikipedia เป็นรูปหนังสือของ เฟลิเป กูซมัน 

  • Quariwarmi


    Quariwami เป็นภาษาเกชวา  Quari แปลว่า ผู้ชาย Warmi แปลว่า ผู้หญิง ศัพท์คำนี้จึงแปลตรงตัวออกมาได้ว่า ผู้ชาย-ผู้หญิง ใช้เรียกคนที่มีทั้งความเป็นผู้หญิงและผู้ชายอยู่ในตัว ส่วนนี้บางที่ก็บอกว่าเป็นคนที่มีเพศกำเนิดเป็นผู้ชายแล้วมีความเป็นแอนโดรจีนัสมากกว่า หรือมีเพศกำเนิดเป็นผู้ชาย แต่มีความเป็นผู้หญิง
    *Warmi = women น่ะเอง 
    ตามธรรมเนียมแล้ว คนที่จะเป็นชาแมน (shaman) หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ประมาณว่า 'หมอผี' จะต้องเป็น Quarimawi หรือไม่ก็เป็นคนที่รักเพศเดียวกัน โดยเชื่อกันตามตำนานว่า Quarimarwi เป็นสื่อกลางระหว่างความสมดุลของจักรวาลแอนดีสกับวิถีชีวิตประจำวัน โดยอาจจะมีการทำพิธีที่ใช้เรื่องเพศร่วมด้วย นอกจากนั้น ลักษณะและวิธีการแต่งตัวของ Quarimarwi เป็นการสร้าง "พื้นที่ที่สาม" ต่อรองระหว่างความเป็นหญิงและความเป็นชาย ระหว่างอดีตกับปัจจุบัน และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งที่ตายไปแล้วด้วย

    Quariwarmi ยังเป็นเพศที่มีส่วนร่วมสำคัญในพิธีเกี่ยวกับchuquichinchay ซึ่งเป็นพิธีบูชา่เทพเจ้าที่มีลักษณะเป็นเสือจาร์กัวร์ เป็นเทพเจ้าสำคัญองค์หนึ่ง

    Chuqui มาจาก choque ที่แปลว่าทอง Chinchay แปลตรงตัวคือเสือจาร์กัวร์ รวมๆแล้วจึงหมายถึงเสือจากัวร์สีทองนั่นแหละ โดยเทพเจ้าเสือจาร์กัวสีทององค์นี้ก็เป็นเทพเจ้าที่มีความลื่นไหลทางเพศด้วย (น่าจะเป็นสาเหตุว่าทำไม Quariwarmi ถึงมีส่วนสำคัญในพิธี)

    ไม่ใช่แค่เสือองค์นี้นะ เขามองว่าพระเจ้าหลาย ๆ องค์ของตัวเองไม่ว่าจะเป็นพระอาทิตย์ พระจันทร์ เทพเจ้าของพื้นเดิน ภูเขาไฟ มีความเป็นทั้งสองเพศอยู่ในตัว 

    ในด้านความเชื่อเรื่องหมอผีก็ถือว่าไม่แปลกอีกเช่นกัน เพราะไม่ใช่แค่ในอินคาแต่ในชนพื้นเมืองหลาย ๆ ที่ก็เชื่อกันว่า ความเป็นหญิง เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ติดต่อกับเรื่องเหนือธรรมชาติได้ โดยไม่จำเป็นว่าความเป็นหญิงจะต้องอยู่ในร่างกายเพศหญิงก็ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง กะเทย แอนโดรจีนัส ถ้ามีความเป็นหญิงอยู่แล้วก็มีสิทธิ์จะทำหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ได้


    เสริมนิดหน่อย
    วัฒนธรรมเรื่องธรรมชาติกับผู้หญิงก็ดูแพร่หลายในหลายที่นะ บ้านเราเองก็เรียกพระแม่โพสพ พระแม่ธรณี ทางสากลก็เรียก Mother Nature อาจจะไม่แปลกที่ความเป็นหญิงเอื้อมไปแตะเรื่องเหนือธรรมชาติได้ เพราะเดิมทีก็ใกล้ชิดกับธรรมชาติอยู่แล้ว


    แน่นอนว่าเป็นเทปม้วนเดียวกันกับตอนที่แล้ว เมื่อชาวยุโรปเข้ามา เนื่องด้วยความเชื่อทางศาสนาในขณะนั้น กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศก็ถูกลบล้างไปตามระเบียบ


  • Notes/Personal Takes/Related Topics

    ตรงนี้ก็ทำให้รู้สึกว่า เพศมันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมด้วยจริง ๆ อย่างยิ่งยวด  

    - เป็นฉบับไม่สมบูรณ์เท่าไหร่ ไว้ว่าง ๆ ไม่หูดับเวลาฟังจะมาเพิ่มนะคะ 555



    - นกที่อยู่ในมือนั่นนกไรอะ 5555 มีใครรู้บ้างไหมคะ บอกหน่อยค่ะใจจะขาด ที่โพสช้าเพราะมัวแต่หาอยู่ จริง ๆ น่าจะเป็นนกโบราณสูญพันธ์ไปแล้วปะ แต่ว่าเธอเขาดูคุ้นมาก ๆ เหมือนนกอะไรซักอย่าง ที่มีแต้มหัว แต้มปีก หางยาว ปากหนา มันไม่น่าจะหายากแต่หาไม่เจออะ 555 

    อันนี้คืออินคาใช่ปะ แต่ว่า ไหนๆก็พูดเรื่องชนพื้นเมืองมาสองตอนติดแล้วเนอะ ชนพื้นเมืองคือคนที่อยู่มาก่อน แต่ต้องประสบปัญหาหลาย ๆ อย่างจากการเข้ามายึดพื้นที่ของชนกลุ่มอื่น บางชนเผ่าถูกล้างหายไปเลย ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ยังเป็นชนพื้นเมืองอยู่นะ (ที่แน่นอนว่ายังได้รับผลกระทบ) ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนสนใจเรื่องเกี่ยวกับชนพื้นเมือง ปัญหาของเขาต่าง ๆ สามารถลองอ่านได้ที่ลิ้งก์ต่าง ๆ ด้านล่างนี้เลย


    บทความภาษาไทย
  • References - Bibliography 

    Castro, L. (2015, February 23). La homosexualidad en las culturas antiguas. Retrieved from https://sinetiquetas.org/2015/02/23/la-homosexualidad-en-las-culturas-antiguas/

    Dualidad -Warmi Kari-. (2016, May 16). Retrieved from https://cesarguanolema.wordpress.com/2016/05/16/dualidad-warmi-kari/

    Inca Shamanic Glossary - Ch, Ch', Chh. (n.d.). Retrieved from http://www.incaglossary.org/chextra.html  ---- TW: เอ่อ ถ้าใครจะดู รูปล่างๆน่ากลัวนิดนึง TT 

    la homosexualidad en la Cultura Peruana. (n.d.). Retrieved from https://prezi.com/ztnewspa-89a/la-homosexualidad-en-la-cultura-peruana/

    Lira, M. (2018, April 19). Diosas y cabras de Chuquichinchay — No Tengo Miedo. Retrieved from https://www.notengomiedo.pe/blog/diosascabraschuquichinchay

    Navarro, G. S. (2010). Homosexualismo. Retrieved from http://books.google.co.th/books?id=EcItWKd6XHwC&printsec=frontcover&hl=es#v=onepage&q&f=false

    Won. (2007, September 3). La homosexualidad en la época precolombina. Retrieved from https://maravillosisimo.wordpress.com/2007/09/03/la-homosexualidad-en-la-epoca-precolombina/

    เหมือนเดิมค่า ถ้าพบเห็นข้อผิดพลาด คลาดเคลื่อนประการใดรบกวนสะกิดผ่านช่องทางข้างล่าง
    หรือถ้าอยากติดต่อเราสามารถติดต่อได้ที่ช่องทางเดียวกัน

    DM Twt : @rainbowflick17
    E- mail : [email protected]
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in