“มันต้องเป็นแบบนั้นแหละ ใคร ๆ ก็รู้”
“ฉันรู้” ชายคนนั้นเอ่ยขึ้น “ถ้าฉันเดินตรงไปเรื่อย ๆ ฉันก็จะเดินกลับมายังโต๊ะตัวนี้” น.21
“มันต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างสิ มันต้องมีอะไรใหม่ ๆ บ้าง”
“โต๊ะก็เป็นโต๊ะตัวเก่า ไม่เคยเปลี่ยน” แกพูด “เก้าอี้ก็ตัวเก่า เตียงก็ตัวเก่า รูปก็รูปเก่า โต๊ะฉันก็เรียกมันว่าโต๊ะ รูปก็เรียกว่ารูป เตียงก็เรียกว่าเตียง ส่วนเก้าอี้ก็เรียกว่าเก้าอี้ ทำไมต้องเป็นแบบนี้ด้วยนะ” น.33-34
“โต๊ะก็คือโต๊ะ” (Kindergeschichten) รวมเรื่องเล่าสำหรับเด็กของเพเตอร์ บิคเซล (Peter Bichsel) แปลโดย ชลิต ดุรงค์พันธ์
ทำไม ทำไม ทำไม อะไรคือความจริง/ความไม่จริง ความปกติ/ความไม่ปกติ
แน่นอนที่สุดว่า ณ ปัจจุบันเราไม่ได้อยู่ในยุคของการกำหนดเรียก ตั้งชื่อสรรพสิ่งต่าง ๆ อีกแล้ว สิ่งใหม่ ชื่อใหม่แทบนับชิ้นได้ ตรงกันข้ามทุกสิ่งอย่างมีชื่อ มีคำตอบที่เตรียมไว้ให้เราหมดแล้วจนแทบไม่ต้องตั้งคำถามใด ๆ อีกต่อไป ทุก ๆ คำถามมีคำตอบสำเร็จรูป เป็นความจริง เป็นความปกติที่ถูกทำให้เราต้องยอมรับ ปฏิบัติตามอยู่เต็มไปหมด การตั้งคำถาม การคิดแตกต่างจึงเป็นเรื่องที่แปลกแยก บ้า ประหลาด โดดเดี่ยว ผิดปกติ โดยเฉพาะจากคนเล็ก ๆ ในสังคม จะคิดทำไม เพราะมีอยู่แล้ว เขาคิดไว้แล้ว เป็นมานมนานแล้ว ใคร ๆ ก็ทำกัน คิดกันแบบนี้แบบเดียวกันเพราะ“ถ้าฉันเดินตรงไปเรื่อย ๆ ฉันก็จะเดินกลับมายังโต๊ะตัวนี้” แต่นั้นละโลกเป็นแบบนี้แล้วชีวิตของแต่ละคนยังคงต้องดำเนินต่อไป
“เช้าวันนั้นชายชรานอนอยู่นานบนรูป อัลบั้มรูปปลุกตอนเก้าโมงเช้า แกลุกขึ้นยืนบนตู้ จะได้ไม่เย็นเท้า แล้วหยิบเสื้อผ้าออกมาจากหนังสือพิมพ์ ใส่เสื้อผ้าไปส่องดูที่เก้าอี้ซึ่งแขวนอยู่บนผนัง แล้วกลับมานั่งบนนาฬิกาปลุกตรงพรม เปิดกระจกผ่าน ๆ จนเจอโต๊ะของแม่แก ชายชรารู้สึกสนุกสนานเป็นอันมาก” น.35
“ถ้าฉันเดินตรงไปเรื่อย ๆ ฉันก็จะเดินกลับมายังโต๊ะตัวนี้”
เงียบ ๆ และ Go on กันต่อไป
อ่านหมายเลข ๒๑/๒๕๖๐ ลองหาอ่านดูครับ #โต๊ะก็คือโต๊ะ #Kindergeschichten #เพเตอร์บิคเซล #PeterBichsel #ชลิตดุรงค์พันธ์ #สำนักพิมพ์ไรท์เตอร์ #WriterThailand #อ่าน #อ่านแล้วอ่านเล่า #BooksBAR #AtTheReader #กลินท์แลนด์#KlinLand #กลินท์และหนังสือ #KlinAndBooks #Read #InToTheBooks #ณอ่านTheReaderTheKlinLibrary
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in