เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การเมืองเกาหลีก่อนสมัยใหม่ By สุพลธัช เตชะบูรณะ
  • รีวิวเว้ย (1223) "หากในปี 1950 เกาหลีเหนือได้รับชัยชนะ ในทุกวันนี้เราอาจจะได้ดูซีรีย์เกาหลีฉบับท่านคิม" (สุรชาติ บำรงสุข//ในงานสัมมนาจากเครมลินถึงเคียฟ: ตรวจแนวรบ 1 ปี สงครามรัสเซีย - ยูเครน) ข้อความดังกล่าวของอาจารย์สุรชาติ เป็นหนึ่งในข้อความที่ย้ำเตือนถึงผลของ "สงครามเกาหลี" ที่เคยเกิดขึ้นในปี 1950-1953 ที่ส่งผลให้คาบสมุทรเกาหลีแบ่งออกเป็น (1) เกาหลีเหนือ และ (2) เกาหลีใต้ และหลายคนน่าจะได้ยินชื่อของเส้นขนานที่ 38 ในฐานะของเส้นแบ่งพื้นที่ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ซึ่งเส้นแบ่งดังกล่าวเป็นผลมาจากสงครามในครั้งกระโน้น ซึ่งหากพิจาณาประวัติศาสตร์ของเกาหลีตลอดห่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเราจะพบว่าพื้นที่ของ "คาบสมุทรเกาหลี" เป็นพื้นที่ที่ถูกขนาบด้วยมหาอำนาจทั้งในยุคโบราณและในยุคปัจจุบัน นั่นทำให้พื้นที้บริเวณคาบสมุทรเกาหลีจึงมีหลากเหตุการณ์เกิดขึ้นตลอดช่วงประวัติศาสตร์ทั้งจากยุคโบราณที่จีน-ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในพื้นที่ และในยุคใหม่ที่คาบสมุทรเกาหลีกลายเป็นพื้นที่ปะทะขอบอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันของ 2 ค่ายความคิดในช่วงสงครามเย็น
    หนังสือ : การเมืองเกาหลีก่อนสมัยใหม่
    โดย : สุพลธัช เตชะบูรณะ
    จำนวน : 238 หน้า

    "การเมืองเกาหลีก่อนสมัยใหม่" ในชื่อเต็ม ๆ ว่า "การเมืองเกาหลีก่อนสมัยใหม่: ประวัติศาสตร์การเมืองเกาหลีตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19" เป็นหนังสือที่ผู้เขียนตั้งใจบอกเล่าเรื่องราวของ "เกาหลี" ในยุคก่อนสมัยใหม่ โดยช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้ใน "การเมืองเกาหลีก่อนสมัยใหม่" จะเป็นการพูดถึงเกาหลีในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยโลหะ) ด้วยการอาศัยหลักฐานและตำนานที่บอกเล่าเรื่องของการตั้งชุมชนยุคแรกในคาบสมุทรเกาหลี กระทั่งถึงช่วงการทำสนธิสัญญาคังฮวาในปี 1876 ที่ญี่ปุ่นใช้กำลังในการบังคับให้โชซอนเปิดประเทศ

    โดยเนื้อหาของ "การเมืองเกาหลีก่อนสมัยใหม่" แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็น 4 บท ที่แต่ละบทของหนังสือจะบอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์เกาหลีแบบ Time Line ผ่านการวางกรอบของเนื้อหาในแต่ละบท ดังต่อไปนี้

    บทนำ

    บทที่ 1 การกำเนิดและความเปลี่ยนแปลงของรัฐในคาบสมุทรเกาหลีก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 10

    บทที่ 2 พัฒนาการทางการเมืองการปกครองในสมัยราชวงศ์โครยอ

    บทที่ 3 รัฐขงจื่อใหม่: การเมืองในสมัยราชวงศ์โชซ็อน

    บทที่ 4 การเมืองในอดีตกับการเข้าใจปัจจุบัน: ความขัดแย้ง ความสืบเนื่อง และวัฒนธรรมความบันเทิง

    บทส่งท้าย

    เมื่ออ่าน "การเมืองเกาหลีก่อนสมัยใหม่" จบลง สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในหัวคือความคิดว่าอยากกลับไปนั่งดูซีรีย์เกาหลีที่ว่าดกี่ยวกับเรื่องของช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของเกาหลีที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ เพราะว่าผู้เขียนได้มีการพูดถึงเรื่องของ "ซากึก" เอาไว้ในบทที่ 4 ได้อย่างน่าสนใจโดยเฉพาะเรื่องที่ประวัติศาสตร์ของช่วงเวลาดังกล่าวที่คนไทยส่วนใหญ่รับรู้นั้น ล้วนถูกถ่ายทอดผ่านซากึกเป็นหลักมากกว่าการเรียนรู้ผ่านหนังสือหรือตำราประวัติศาสตร์ที่ตำราต่าง ๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์เกาหลีก่อนสมัยใหม่ก็มีอยู่น้อยเต็มที่ ทำให้ซากึกกลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือชิ้นสำคัญของรัฐบาลเกาหลีใต้ทั้งเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของช่วงเวลา และเพื่อสนับสนุนกระตุ้นให้คนรู้จักกับประวัติศาสตร์เกาหลีมากขึ้นอีกทั้งยังเป็น soft power สำคัญอันหนึ่งของเกาหบีใต้ในยุคปัจจุบัน (ไม่ใช่ soft power ในแบบที่รัฐบาลประยุทธ์เข้าใจ) 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in