เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เป็นจีนเพราะรู้สึก By สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์
  • รีวิวเว้ย (1222) เคยฟังเพลง "เย็บจักร" ของสุเมธ เเอนด์เดอะปั๋งกันไหมครับ เนื้อเพลงท่อนแรกร้องเอาไว้ว่า "อั๊วเปงคนจีนเข้ามาหากิงอยุ่นัยเมืองไทย
    อั๊วมีเมียรักไชไล ลูกสาวล้วยกัน 2 คง" (https://youtu.be/6FY9FQLwKP0) จะบอกว่าเนื้อหาของเพลงไม่เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ใช่ เพราะเอาเข้าจริงเนื้อหาของเพลงนี้ได้มีการพูดถึงการเข้ามาทำมาหากินของคนจีนในไทย หรือในความเป็นจริงเราสามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงยุคก่อนกรุงรัตนโกสินทร์เสียอีกที่คนจีนเข้ามาทำมาหากินในพื้นที่บริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน และคนจีนที่อพยพเข้ามานี่แหละที่ได้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ แน่นอนว่าการเข้ามาของแรงงานจีนและคนจีนในดินแดนแถบนี้ย่อมมีพัฒนาการความเปลี่ยนแปลง "ความเป็นจีน" ให้กล้ายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งไม่ใช่แค่คนจีนที่มีความเปบี่ยนแปลงหากแต่คนที่หลากหลายกลุ่มที่เดินทางเข้ามาตั้งรกรากในบริเวณนี้ต่างการมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคมเสมอไม่ใช่แค่ในอดีตหากแต่ในปัจจุบันกระบวนการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ยังคงมีอยู่และความเปลี่ยนแปลงยังคงเกิดขึ้นภายใต้บริบทของสังคมและวัฒนธรรมที่มีพลวัตอยู่ตลอดเวลา
    หนังสือ : เป็นจีนเพราะรู้สึก ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่เพิ่งสร้าง
    โดย : สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์
    จำนวน : 296 หน้า

    "เป็นจีนเพราะรู้สึก ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่เพิ่งสร้าง" หนังสือที่ปรับปรุงมาจากงานวิจัยเรื่อง "ความคิด ระบบคุณค่า และระบอบอารมณ์ความรู้สึกของชนชั้นกลางไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ กับการสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับชาติและสังคมไทยทศวรรษ 2500-2550" ซึ่งเนื้อหาของทั้งหนังสือและงานวิจัยจะว่าด้วยเรื่องของการศึกษาประวัติศาสตร์ "อารมณ์ความรู้สึก" ของคนจีนที่เข้ามาอยู่ในสยาม-ไทยในช่วงก่อน 2500 กระทั่งถึง 2550 ซึ่งช่วงเวลากว่า 50 ปีของการเข้ามาในสยาม-ไทย ของคนจีนรุ่นเสื่อผืนหมอนใบรัฐไทยได้อาศัยกลไหมนการควบคุมคนจีนยุคแรกที่เข้ามาในไทยด้วยระบอบอารมณ์ความรู้สึกในหลากหลายรูปแบบทั้งการสร้างอารมณ์ยำเกรง การยั่วล้อ หรือกระทั่งการพยายามสร้างการกลืนกลายให้จีนกลาบเป็นไทยผ่านนโยบายหลายรูปแบบ

    ซึ่ง "เป็นจีนเพราะรู้สึก ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่เพิ่งสร้าง" ได้นำเสนอเรื่องราวและพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ความรู้สึกที่ยึดโยงความเป็นจีนในสังคมสยาม-ไทย เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยที่เนื้อหาของ "เป็นจีนเพราะรู้สึก ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่เพิ่งสร้าง" แบ่งออกเป็น 6 บท ดังนี้

    1 เป็นจีนเพราะรู้สึก

    2 ระบอบอารมณ์ความรู้สึกที่ถูกสร้าง : การก่อตัวและสมดุลที่พังทลาย

    3 ชนชั้นกลางไทยเชื้อสายจีน วรรณกรรมจีนแปลงไทยและทุนนิยมอารมณ์ความรู้สึกไทย

    4 เสื่อผืนหมอนใบใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร และทุนนิยมอารมณ์ความรู้สึกไทยของลูกจีน

    5 การกลับคืนและรอยปริแตกของระบอบอารมณ์ความรู้สึก

    6 ระบอบอารมณ์ความรู้สึกในวันที่ไม่หวนกลับ

    เมื่ออ่าน "เป็นจีนเพราะรู้สึก ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่เพิ่งสร้าง" จบลง เราพบว่าในส่วนสุดท้ายที่ว่าด้วยเรื่องของ "ระบอบอารมณ์ความรู้สึกในวันที่ไม่หวนกลับ" ตั้งคำถามได้อย่างน่าสนใจถึงเรื่องของ อารมณ์ความรู้สึกของความเป็นจีนในยุคใหม่ (2560) มันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและถูกท้าทายอย่างไรต่อความรู้สึกของความเป็นจีน

    และน่าสนใจไปกว่านั้นหาก "เป็นจีนเพราะรู้สึก ประวัติศาสตร์เสื่อผืนหมอนใบที่เพิ่งสร้าง" ยังเขียนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (2566) น่าสนใจว่าบทบาทของ "ความเป็นจีน" ทั้งการเข้ามาของทุนจีนในไทย (ทั้งจีนขาว จีนเทา จีนดำ) รวมถึงซีรีย์จีนที่เข้ามามีอิทธิพลในไทยในปัจจุบัน (ปรมาจารย์ลัทธิมาร ฯลฯ) จะถูกอธิบายอย่างไรในมิติของระบอบอารมณ์ความรู้สึก และสิ่งที่เกิดขึ้นใน 2566 นั้นจะเปลี่ยนระบอบอารมณ์ความรู้สึกของความเป็นจีนไปอย่างไรกัน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in