เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
คำไหน - คำนั้น By BUNBOOK
  • รีวิวเว้ย (297) การเปลี่ยนรูปของคำภาษาต่างประเทศให้กลายมาเป็นคำที่เจียนด้วยภาษาไทย ดูจะเป็นอะไรที่ยากแสนยาก วุ่นแสนวุ่น แล้วยิ่งเมื่อไหร่ที่เปลี่ยนรูปของคำผิด ความหายนะอย่างฝหญ่หลวงอาจเกิดขึ้นได้ทันที หลายครั้งก็เป็นผลมาจากพวกเรากันเองเนี่ยแหละที่คอยจับผิดจับพลาดกันอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งเรื่องพวกนี้ก็ขยายใหญ่กลายเป็นมหาดรามาระดับชาติมาแล้วก็หลายครั้ง ซึ่งนอกจากปัญหาของการเปลี่ยนรูปของคำแล้ว การคิดคำใหม่ก็พร้อมที่จะสร้างหายนะให้กับคนเลือกใช้ได้พอ ๆ กัน อย่างกรณีของคำว่า "ชิมิ" ที่คนหลายภายส่วนออกมาให้ความเห็นประกอบความคิดว่า "ชิมิพ่อมึงสิ" กระทั่งลุกลามใหญ่โตเป็นปัญหาอบู่ช่วงหนึ่ง และมันก็หายเงียบเหมือนลมตดที่เคยซึ่มผ่านออกมาจากรูตูดของวาฬสีน้ำเงิน 

    หนังสือ : คำไหน - คำนั้น

    โดย : BUNBOOK 

    จำนวน : 120 หน้า

    ราคา : 125 บาท 


    ในหลายหนเวลาที่เรนั่งลงและคิดจะพิมพ์ข้อความอะไรสักอย่าง หรือประโยคอะไรสักประโยค ทั้งในโลกจริงและโลกที่เสมือนว่าจะจริง หลายครั้งเราต้องนั่งพิมพ์ ๆ ลบ ๆ เพราะเราไม่แน่ใจและไม่มั่นใจว่าคำคำนั้น ประโยคประโยคนั้นมันถูกต้องรึเปล่า (?) หากผิดไปมันอาจก่อความบรรลัยระดับมหญ่หลวงขึ้นมาก็ได้ใครจะรู้ 


    ครั้นจะวิ่งไปหยิบพจนานุกรมมาเปิดหาความหมายเหมือนสมัยประถมที่ในชั่วโมงถาษาไทยมักถูกบังคับให้ต้องแบกไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งของบางคนเล่มก็โคตรพ่อโคตรแม่ใหญ่ นอกจากเล่มจะใหญ่แล้วมันยังเปิดหาคำยากอีกต่างหาก ยากถึงขนาดที่โรงเรียนเอาการแข่งขันเปิดพจนานุกรมเร็ว มาจัดแข่งได้ (คิดดู) ในสมัยปัจจุบันหลายคนอาจจะไม่รู้จักหน้าตาของพจนานุกรมแบบเล่มกันแล้ว เพราะเราเปิดหาความหมายและการสะกดคำจาก Google ได้ทันที แต่ในหลายครั้ง Google ก็พาเราเข้ารกเข้าพงอยู่บ่อย ๆ เหตุนี้หากเราหาพจนานุกรมคำร่วมสมันเล่มเล็ก ๆ ติดตัวเวลาพกไปไหนมาไหนบ้างก็น่าจะดี เผื่อถึงคราวจำเป็นอย่างน้อยจะได้หยิบขึ้นมาใช้ในเวลาจำเป็น 


    "คำไหน - คำนั้น" เป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการรวบรวมคำเปลี่ยนรูป ที่เปลี่ยนจากภาษาต่างประเทศมาเป็นรูปภาษาไทย หรือที่ใครหลายคนเรียกกันว่า "คำทับศัพท์"  ในปัจจุบันคำทับศัพท์แทบจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเราทุกคน เพราะเวลาทำอะไร หรือมองไปทางไหนก็มักจะเจอคำทับศัพท์อยู่บ่อยครั้ง อย่างกรณีของการพิมพ์คำว่า Facebook ซึ่งในหลายโอกาสเราไม่อาจเลี่ยงการพิมคำว่า "เฟซบุ๊ก" เป็นภาษาไทยได้ (ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้เขียน "เฟซบุ๊ก" แบบนี้เหมือนกัน) 


    ซึ่งเราจะพบว่าการเขียนทับศัพท์ของคำหลายคำนั้น มักสร้างปัญหาและเรื่องปวดหัวอยู่บ่อย ๆ ด้วยเหตุนี้ "คำไหน - คำนั้น" สามารถช่วยเหลือท่านในยามจำเป็นได้เป็นอย่างดี ด้วยความที่มีลักษณะคล้ายกับพจนานุกรมคำทับศัพท์มากกว่าความเป็นหนังสือ หากจะแนะนำให้อ่านเล่นก็คงดูประหลาดอยูาพอควร แต่มันก็เหมาะที่เราจะอ่านเพื่อดูรูปแบบของการเขียนคำทับศัพท์อยู่เหมือนกัน 


    "คำไหน - คำนั้น" อาจจะไม่ใช่หนังสือที่อ่านเพื่อเอาความสนุก แต่สักวันหนึ่งมันจะช่วยให้คุณรอดตายจากเรื่องหายนะของการใช้ภาษาได้อย่างแน่นอน แนะยำว่ามีติดบ้านติดชั้นหนังสือไว้บ้างก็น่าจะดี

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in