Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น By สิริวรรณ สิรวณิชย์
รีวิวเว้ย (1199)
รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เราเรียนประวัติศาสตร์ไปทำไม ? คำถามนี้ดูจะเป็นที่ถกเถียงและถามถึงมาหลายยุคสมัย โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่กระทรวงศึกษาได้พยายามจะสร้างหลักสูตรประวัติศาสตร์ของกระทรวงขึ้นมา และกระทรวงมหาดไทยเองก็ออกมาขยับเรื่องนี้โดยมีการทำหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย ฉบับกระทรวงมหาดไทยแจกจ่ายให้กับหลากหลายโรงเรียนในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย แต่เมื่อพิจารณาจากขอบเขตเนื้อหาของ "วิชาประวัติศาสตร์" และ "หนังาอประวัติศาสตร์" ของรัฐและของทางราชการแล้ว เราจะพบว่าหนังสือและหลักสูตรต่าง ๆ เหล่านั้นล้วนแต่เป็นความพยายามบอกเล่าประวัติศาสตร์ของรัฐในภาพใหญ่ อาทิ การกู้ชาติ การกู้ชาติ และการกู้ชาติ หากแต่ประวัติศาสตร์ของชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่ บุคคลทั่วไป ต่างก็เป็นประวัติศาสตร์เบื้องหลังที่ประกอบสร้างขึ้นเป็นรัฐหรือประเทศหนึ่ง ๆ ที่มักโดนละเลยจากรัฐและระบบราชการเสมอ
หนังสือ : แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
โดย : สิริวรรณ สิรวณิชย์
จำนวน : 327 หน้า
"
แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" ในหน้าคำนำของตำราเล่มนี้เขียนเอาไว้ว่านอกจากวัตถุประสงค์ในเรื่องของการประกอบการเรียนการสอนแล้ว
"
แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้ผู้เรียนสามารเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องของพัฒนาการ แนวคิด-ทฤษฎี วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และ (2) เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลงของชุมชน โดยเป้าหมายหลักของ
"
แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" ก็เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเอาองค์ความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไปปรับใช้ทั้งในเรื่องของการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ อนุรักษ์ พัฒนา พื้นที่หนึ่ง ๆ โดยไม่ละเลยประวัติศาสตร์ของพื้นที่นั้น ๆ
สำหรับเนื้อหาของ
"
แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" แบ่งออกเป็น 6 บท พร้อมทั้ง 1 ภาคผนวกที่รวบรวมเอารายชื่อของงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ทำเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น นับตั้งแต่ พ.ศ. 2540 - 2564 มารวมไว้ในส่วนของภาคผนวกของ
"
แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" โดยเนื้อหาในแต่ละบทสามารถแบ่งได้ดังนี้
บทที่ 1 ภูมิหลังของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
บทที่ 2 พัฒนาการการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย
บทที่ 3 หลักฐาน และแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
บทที่ 4 วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
บทที่ 5 ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน
บทที่ 6 บทสรุป
เมื่ออ่าน
"
แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" จบลง และย้อนกลับไปดูในคำนำของตำราเล่มนี้ที่ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้ เราจะพบว่าด้วยความที่
"
แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" ถูกเขียนขึ้นในฐานะของตำราวำหรับใช้ประกอบการสอน ทำให้เนื้อหาในแต่ละบทของ
"
แนวคิดและวิธีการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" สามารถทำความเข้าใจได้โดยง่ายและเนื้อหาของตำราถูกปูและปรับให้มีพื้นที่สำหรับความง่ายต่อการอ่านของผู้อ่าน อีกทั้งในหลายส่วนของตำราชิ้นนี้ผู้เขียนยังได้ทิ้งคำถามและความท้าทายเอาไว้ให้ผู้อ่านในหลายส่วน โดยเฉพาะบทที่ 5 ที่พูดถึงเรื่องของการสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์ในโลกสมัยใหม่ และความท้าทายในการขยายเพดานความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่องค์ความรู้ชุดนี้ตึงตัวและถูกผูกขาดในฐานะเครื่องมือของรัฐมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
https://online.anyflip.com/xthag/uomd/mobile/index.html?mibextid=Zxz2cZ
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in