เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
สิทธิและกฎหมายก่อตั้งครอบครัวฯ By ไพโรจน์ กัมพูศิริ
  • รีวิวเว้ย (1185) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมาเรามีโอกาสได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในหลายด้านของสังคมไทย อาทิ เรื่องของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และกิจกรรมของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ในปีที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจและยิ่งใหญ่สมฐานะของ "ไพรด์มันธ์" ซึ่งกิจกรรมไพรด์มันธ์นับเป็นกิจกรรมที่มีการจัดงานขึ้นทั่วโลก โดยมีการอธิบายถึงไพรด์มันธ์เอาไว้ว่า "Pride Month หรือ LGBTQ Pride คือ การขับเคลื่อนให้มีการยอมรับในกลุ่ม LGBTQ โดยเป็นการแสดงออกถึงความต้องการสิทธิความเท่าเทียมกันในสังคมของเหล่า LGBTQ เดือนมิถุนายนของทุกปีจะถูกเรียกว่า Pride Month ซึ่งจัดให้มีการเดินพาเหรด หรือ Pride Parade ไปในเมืองสำคัญ ไม่ใช่แต่เพียงในประเทศไทย แต่ในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก" และกิจกรรมในปีนี้เราชอบข้อความและความเห็นที่ปรากฎอยู่ใน #ไพรด์มันธ์ #PrideMonth2022 ซึ่งสำหรับเราแล้วข้อความหนึ่งที่เราชอบคือ "เมื่อก่อนเจ้าชายต้องมีเจ้าหญิง แต่ชีวิตจริงในตอนนี้มีแค่เรื่องของคนสองคนที่รักกัน ไม่เกี่ยวกับเพศ" ข้อความจาก #ไพรด์มันธ์ #PrideMonth2022  
    หนังสือ : สิทธิและกฎหมายก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
    โดย : ไพโรจน์ กัมพูศิริ
    จำนวน : 82 หน้า

    "สิทธิและกฎหมายก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศในประเทศไทย" หนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่ช่วยยืนยันและตอกย้ำข้อความที่ว่า "เมื่อก่อนเจ้าชายต้องมีเจ้าหญิง แต่ชีวิตจริงในตอนนี้มีแค่เรื่องของคนสองคนที่รักกัน ไม่เกี่ยวกับเพศ" ด้วยเนื้อหาของหนังสือ "สิทธิและกฎหมายก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศในประเทศไทย" มุ่งเน้นที่เรื่องของการบอกเล่าในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ "สิทธิก่อตั้งครอบครัว" ของทุกคน และผู้เขียนได้ชี้ให้เราเห็นว่าสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวนับเป็น "สิทธิขั้นพื้นฐาน" และเป็น "สิทธิตามธรรมชาติ" ที่มนุษย์ทุกนามมีสิทธินี้อย่างเสมอหน้าและเท่าเทียมกันตามสำนักคิดกฎหมายธรรมชาติ

    สำหรับเนื้อหาของ "สิทธิและกฎหมายก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศในประเทศไทย" ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ (1) ส่วนแรกว่าด้วยเรื่องของสิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายต่างประเทศ และ (2) ส่วนที่สองว่าด้วยเรื่องของสิทธิก่อตั้งครอบครัวในกฎหมายไทย ซึ่งผู้เขียนจะพาเราไปทำความเข้าใจเรื่องของสิทธิก่อตั้งครอบครัวของแต่ละประเทศในมุมมองด้านต่าง ๆ และในส่วนของไทยผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาของสิทธิก่อตั้งครอบครัว และกฎหมายเทียบเคียงอื่น ๆ ที่ถูกให้สถานะใกล้เคียงกับสิทธิก่อตั้งครอบครัว (หากแต่ยังมีข้อจำกัดหลายประการ และยังไม่อาจนับได้ว่ากฎหมายดังกล่าวในไทย เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิดังกล่าวอย่างแท้จริง)

    [ส่วนที่ 1] สิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายต่างประเทศ

    บทนำ

    บทที่ 1 อนุสัญญาระหว่างประเทศ

    บทที่ 2 กฎหมายแพ่งไต้หวันและฝรั่งเศสที่ให้บุคคลเพศเดียวกันสมรสได้

    [ส่วนที่ 2] สิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายของไทย

    บทที่ 1 สิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

    บทที่ 2 พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558

    บทที่ 3 (ร่าง) พระราชบัญญัติคู่ชีวิต

    บทสรุป

    เมื่ออ่าน "สิทธิและกฎหมายก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศในประเทศไทย" มันช่วยให้เรารู้ว่า "สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว (Right to family creation) สิทธิในการอยู่รวมกันเป็นครอบครัว (Right to family unification) เป็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับการยอมรับจากนานารัฐ ให้มีกับมนุษย์ทุกผู้ โดยไม่เลือกความแตกต่างในเชื้อชาติ สัญชาติ หรืออื่นใด" หากแต่การฟื้นกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกในปลายทางอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเพราะผลกระทบที่ตามมาอาจจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดี เมื่ออ่าน "สิทธิและกฎหมายก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศในประเทศไทย" จบลงมันยิ่งช่วยทำให้ข้อความที่ว่า "เมื่อก่อนเจ้าชายต้องมีเจ้าหญิง แต่ชีวิตจริงในตอนนี้มีแค่เรื่องของคนสองคนที่รักกัน ไม่เกี่ยวกับเพศ" สำหรับเรามันอาจจะถึงเวลาของความเปลี่ยนแปลงตามกาลของธรรมชาติอย่างแท้จริง


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in