Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten) By ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
รีวิวเว้ย (1163) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
"คนทุกคนล้วนถูกลืม" เป็นชื่อหนังสือเล่มหนึ่งของ
กษิดิษ อนันทนาธร
https://minimore.com/b/Us3Wj/175 ที่ว่าด้วยเรื่องของความทรงจำเกี่ยวกับบุคคล ความน่าสนใจประการหนึ่งของคำพูดที่ว่า "คนทุกคนล้วนถูกลืม" อาจจะเป็นจริงในแง่ความทรงจำของบุคล แต่กับ "ความทรงจำของรัฐ" คนทุกคนอาจจะไม่ได้ถูกลืม โดยเฉพาะคนที่เคยมีประวัติของการกระทำต่าง ๆ อยู่ภายใต้การจดบันทึกของรัฐ ซึ่งก็น่าแปลกใจว่า "รัฐ" เองนั่นแหละที่เป็นตัวการในการสร้าง "การจำ" หรือ "การลืม" ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐนั้น ๆ อาทิ ความทรงจำบางชุดก็ถูกรัฐลบและบังคับให้ลืม แต่กับความทรงจำอีกชุดก็เป็นรัฐเองที้เป็นผู้ผลิตซ้ำและตอกย้ำไม่ให้ลืม ยิ่งกับการกระทำของบุคคลที่ถูกจดจานโดยรัฐด้วยแล้วคงยางที่เราจะมี
สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten)
หนังสือ : บทบัญญัติทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten) และแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
โดย : ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
จำนวน : 270 หน้า
"
บทบัญญัติทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten) และแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ "
สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten)" ผ่านมิติการศึกษาทางด้านกฎหมาย ทั้งของประเทศไทย และ
ตัวบทกฎหมาย แนวทางปฏิบัติ และกรณีศึกษาในแต่ละประเทศที่หนังสือเล่มนี้ได้ยกขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เขตปกครองพิเศษไต้หวัน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป
"สิทธิที่จะถูกลืม" ได้มีการให้ความหมายโดยย่อเอาไว้ว่า
"
สิทธิที่จะถูกลืมหมายถึง สิทธิของปัจเจกบุคคลที่จะร้องขอให้อีกฝ่าย ซึ่งจะเป็นปัจเจกบุคคลก็ดีหรือองค์กรก็ดี ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของเขาไว้ในครอบครองทำการลบข้อมูลส่วนบุคคลของตนออกเสีย เนื่องจากไม่ยินยอมจะให้มีการใช้ข้อมูลนั้นอีกต่อไป" แน่นอนว่าในหลายครั้งการจำหรือการถูกจำทำให้ปัจเจกประสบปัญหาในหลาย ๆ ด้าน อย่างในรัฐไทย หากปัจเจกบุคคลเคยกระทำผิดในช่วงที่เป็นเยาวชนและถูกคัดสินให้มีความผิด เมื่อพ้นช่วงของการรับผิดและโตเป็นผู้ใหญ่บันทึกการกระทำเหล่านั้นก็จะยังคงอยู่ และติดตัวเขาไปตลอด กระทั่งเคยมีกรณีที่ปัจเจกจะเข้าทำงานแต่มีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ทำให้ปัจเจกผู้นั้นถูกตัดโอกาสในการเข้าทำงานในเวลาต่อมา การพูดถึง
"
สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten)" จึงกลายมาเป็นประเด็นสำคัญที่ควรได้รับความสนใจในปัจจุบัน ไม่เฉพาะในกรณีของผู้เคยกระทำผิด แต่ในทุกกรณีของปัจเจกบุคคลที่ไม่อยากให้ใครจดจำเราในลักษณะหนึ่งลักษณะใดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
ในส่วนของเนื้อหาของ
"
บทบัญญัติทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten) และแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง" แบ่งออกเป็น 5 บทดังต่อไปนี้
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิที่จะถูกลืมในกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ
บทที่ 4 วิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับสิทธิที่จะถูกลืมและแนวทางแก้ไข
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
เมื่ออ่าน
"
บทบัญญัติทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten) และแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง" จบลง เราพบว่าในความเป็นจริงแล้วสิทธิพื้นฐานอีกประการของมนุษย์ที่ควรได้รับความเคารพ และยอมรับจากทั้งกฎหมายและจากสังคม คือ สิทธิความเป็นส่วนตัว และ "สิทธิที่จะถูกลืม" เองก็เป็นหนึ่งสิทธิพื้นฐานที่สำคัญของปัจเจกชนทุกคนอย่างเท่าเที่ยมและเสมอหน้า
สามารถอ่านรายงานการศึกษาฉบับเต็มได้ที่ https://www.kpi.ac.th/knowledge/book/data/1288?page=1
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in