เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ที่นี่ที่รัก พิมพ์ครั้งที่ 4 By ทรงกลด บางยี่ขัน
  • รีวิวเว้ย (1159) หนังสือเล่มนี้เป็นการหยิบมาอ่านอีกครั้งหลังจากที่อ่านมันครั้งแรกตอนที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2555 ความน่าสนใจประการหนึ่งของการกลับมาอ่าน "ที่นี่ที่รัก" อีกครั้ง คือ เราพบว่า "ฟุกุโอะกะ" ในหนังสือเล่มนี้เขียนด้วย "โอะ" แต่หากถ้าเรากดเข้าไปค้นหาคำว่าฟุกุโอกะในปี พ.ศ. 2566 เราจะพบว่าแทบทุกเว็บที่ขึ้นข้อมูลของฟุกุโอกะมา ล้วนเขียนคำว่าฟุกุโอกะด้วย "โอ" แทนที่ "โอะ" น่าสนใจว่าเมื่อ 11 ปีก่อนชื่อของ "ฟุกุโอะกะ" อาจจะยังไม่เป็นที่รับรู้หรือเป็นที่รู้จักของคนไทยเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับ "ฟุกุโอกะ" ในปัจจุบัน
    หนังสือ : ที่นี่ที่รัก พิมพ์ครั้งที่ 4
    โดย : ทรงกลด บางยี่ขัน
    จำนวน : 280 หน้า

    "ที่นี่ที่รัก" คำโปรยบนหน้าปกของหนังสือเล่มนี้ เขียนเอาไว้ว่า "หลายเรื่องน่ารักจากฟุกุโอะกะ" แน่นอนว่าหนังสือ "ที่นี่ที่รัก" ว่าด้วยราวและเรื่องเล่าของฟุกุโอะกะเมื่อ 11 ปีก่อน ผ่าน 30 เรื่องเล่าเกี่ยวกับฟุกุโอะกะ ทั้งเรื่องของเมือง วิถีชีวิต ความเป็นฟุกุโอะกะ อาหารการกิน ผู้คน และอื่น ๆ ที่อาจจะเรียกว่าสมัยก่อนฟุกุโอะกะ อาจจะไม่ได้อยู่ในความรับรู้ของคนไทยเท่าไหร่

    กระทั่งหลาบปีต่อมาญี่ปุ่น และหลายเมืองในญี่ปุ่นก็เปลี่ยนสถานะเป็นเมืองที่คนไทยเดินทางไปเที่ยวกับอย่างถล่มทลาย ความรับรู้ที่คนไทยมีต่อสถานที่ที่เคยแปลกหน้าก็เปลี่ยนแปลงไปจาก "ฟุกุโอะกะ" ก็เปลี่ยนแปลงไปสู่ "ฟุกุโอกะ"

    สำหรับเนื้อหาและเรื่องเล่าที่ปรากฏใน "ที่นี่ที่รัก" หลายคนอาจจะมองว่ามันไม่ทันสมัยอีกแล้ว เพราะเวลา 10 กว่าปีนับจากวันที่หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ สังคมไทยเปลี่ยนไป ญี่ปุ่นเองก็เปลี่ยนไป แน่นอนว่าฟุกุโอะกะ คือหลักฐานของความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน แต่ความน่าสนใจประการหนึ่งที่เรายังรู้สึกได้จากการอ่าน "ที่นี่ที่รัก" คือเรื่องของเมืองที่ปรับตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งของผู้คนและความเปลี่ยนแปลง เมืองที่หนังสือเล่มนี้เรียกมันว่า "ที่นี่ที่รัก"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in