เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ดาวหางเหนือทางรถไฟ พิมพ์ครั้งที่ 12 By ทรงกลด บางยี่ขัน
  • รีวิวเว้ย (1158) คำโปรยบนปกของหนังสือเล่มนี้ ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 เขียนเอาไว้ว่า "ความทรงจำเหนือทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย จากปักกิ่ง ผ่านมองโกเลีย สู่มอสโคว์ ส่วนหนึ่งของทางรถไฟที่ยาวที่สุด คลาสสิกที่สุด และโรแมนติกที่สุดในโลก" ซึ่งในความเป็นจริงเราเองก็จำได้แค่ภาพลาง ๆ ว่าหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับเรื่องของการเดินทางโดยรถไฟ "สายทรานส์ไซบีเรีย" นอกนั้นเราก็จำอะไรได้ไม่ค่อยชัดนักเพราะฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 เป็นการอ่านหนังสือเล่มนี้ครั้งที่ 1 ของเรา การได้กลับมาอ่านหนังสือเล่มนี้อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เคยอ่านครั้งแรกไปเมื่อกว่า 10 ปีก่อน แน่นอนว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้อีกครั้งในวันที่อายุเหยียบใกล้เลข 3 นำหน้าตัวเราเองคงมองหนังสือเล่มนี้ในมุมที่ต่างไปจากเมื่อก่อน เพราะตอนนี้ก็จำไม่ได้แล้วว่าเมื่อก่อนเรารู้สึกกับมันอย่างไร
    หนังสือ : ดาวหางเหนือทางรถไฟ พิมพ์ครั้งที่ 12
    โดย : ทรงกลด บางยี่ขัน
    จำนวน : 440 หน้า

    "ดาวหางเหนือทางรถไฟ" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการเดินทางของผู้เขียน โดยมีจุดตั้งต้นที่ประเทศไทยและผ่านไปเริ่มขบนรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียที่ปักกิ่ง ประเทศจีน ก่อนที่จะเดินทางผ่านไปที่อูลานบาตอ ของประมองโกเลีย และลงรถไฟที่มอสโคว์ ประเทศรัสเซีย โดยเส้นทางรถไฟสายนี้นับเป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในโลก หากแต่การเดินทางของผู้เขียนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเส้นทางสายนี้ตลอดเส้นทาง

    บันทึกการเดินทางใน "ดาวหางเหนือทางรถไฟ" คือการบอกเล่าเรื่องราวของการเดินทางและสิ่งที่ผู้เขียนพบเจอระหว่างทาง ซึ่งบริบทของการอ่านหนังสือเล่มนีอาจจะต้องย้อนกลับไปหลายสิบปี สำหรับผู้อ่านที่จริงจังอยากจะใช้มันในฐานะของคู่มือเดินทางบนทางรถไฟสายนี้

    หากแต่สำหรับเราแล้วการกลับมาอ่านหนังสือ "ดาวหางเหนือทางรถไฟ" อีกครั้งหลังจากที่เคยอ่านมันเมื่อหลายสิบปีก่อน ทำให้มุมมองของเราที่ได้จากการอ่าน "ดาวหางเหนือทางรถไฟ" ในครั้งนี้ กลายเป็นมุมมองในเรื่องของ "ความผิดพลาด" หากใครมีโอกาสได้อ่าน "ดาวหางเหนือทางรถไฟ" ก็จะพบว่าในหลายช่วงตอนของหนังสือนั้น ความผิดพลาดมักเป็นสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นอยู่บ่อยครั้งในหนังสือเล่มนี้ ทั้งต้นเล่ม กลางเล่ม ท้ายเล่ม อาจจะเรียกได้ว่าตลอดทั้งเล่มเรามักจะได้เห็นความผิดพลาดของผู้เขียนปรากฏเป็นระยะใน "ดาวหางเหนือทางรถไฟ" และความน่าสนใจประการหนึ่งที่ผู้เขียนรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นเล่านั้นคือ "การปล่อยมันไป" หรือการเล่นไปตงตามจังหวะ เวลา และโอกาสที่ผ่านเข้ามาในความผิดพลาดแต่ละครั้ง

    การได้กลับมาอ่าน "ดาวหางเหนือทางรถไฟ" ในวันที่ตัวเลขอายุของเราเข้าใกล้เลข 3 และใช้ชีวิตบนฐานของความหวังและความคาดหวังมาระดับหนึ่ง การได้อ่าน "ดาวหางเหนือทางรถไฟ" สิ่งที่เราได้กลับมาไม่ใช่เรื่องของ "ความทรงจำเหนือทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย จากปักกิ่ง ผ่านมองโกเลีย สู่มอสโคว์ ส่วนหนึ่งของทางรถไฟที่ยาวที่สุด คลาสสิกที่สุด และโรแมนติกที่สุดในโลก" ดังที่ปรากฏในคำโปรยปกฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 หากแต่เป็นเรื่องของความสวยงามของ "ความผิดพลาด" และการเลือกที่จะละเลยความคาดหวังบางประการเอาไว้ แล้ว Improvise ไปกับสิ่งที่เรากำลังเผชิญมันอยู่ตรงหน้า

    เมื่ออ่าน "ดาวหางเหนือทางรถไฟ" ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 12 จบลง มันทำให้เราคิดถึงเพลง "ล้มบ้างก็ได้" ของค่ายเบเกอรี่มิวสิค https://youtu.be/m0ic9LM7HY0

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in