เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ระบบการออกเสียประชามติ By ชาย ไชยชิต
  • รีวิวเว้ย (1155) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หากคำว่า "ประชามติ" ถูกให้ความหมายเอาไว้ว่า (1) "มติ หรือความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ ที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง" และ (2) "มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญต่าง ๆ ที่ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ออกเสียงตัดสินปัญหาที่สำคัญในการบริหารประเทศ" เมื่อพิจารณาจากการให้ความหมายทั้ง 2 รูปแบบแล้วจะพบว่า เรื่องของประชามติเป็น "กระบวนการ" ที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพราะกระบวนการประชามตินับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว และเมื่อเป็นเช่นนี้ "ระบบการออกเสียงประชามติ" จึงเป็นเรื่องที่ต้องถูกออกแบบเอาไว้เป็นอย่างดีเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดตามมา หากกระบวนการประชามติเป็นที่กังขาและไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
    หนังสือ : ระบบการออกเสียประชามติ
    โดย : ชาย ไชยชิต
    จำนวน : 214 หน้า

    "ระบบการออกเสียประชามติ" หนังสือที่เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็น "ภาคต่อ" ของหนังสือ "ประชามติ: ที่มาและพัฒนาการ " (https://minimore.com/b/Us3Wj/921) ที่เนื้อหาของหนังสือเล่มก่อนหน้าได้กล่าวและเล่าถึงที่มาที่ไปของสิ่งที่เรารับรู้และเรียกกันในภาษาไทยว่า "ประชามติ" หรือกระบวนการประชามติที่หนังสือพาเราไปเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และพาไปดูการทำประชามติที่แตกต่างกันออกไปตามกาละ และเทศะ

    ในส่วนของ "ระบบการออกเสียประชามติ" นั้น เป็นภาคต่อที่ว่าด้วยเรื่องของ "กระบวนการประชามติ" หรือขั้นตอนที่เป็นผลต่อเนื่องจากการทำความเข้าใจว่า "อะไรคือประชามติ" และขั้นตอนต่อจากนั้นคือการเรียนรู้และทำความเข้าใจต่อระบบของการออกเสียประชามติ ที่ในทางปฏิบัติแล้วการออกเสียประชามติมีความซับซ้อนและขั้นตอนที่มากไปกว่าการทำความเข้าใจว่าประชามติคือการออกเสียงลงคะแนนของประชาชนในรูปแบบหนึ่งเท่านั้น

    สำหรับเนื้อหาของ "ระบบการออกเสียประชามติ" แบ่งออกเป็น 5 บท ที่จะไล่เรียงเรื่องราวของ "ระบบ" ของการออกเสียงประชามติ และพาผู้อ่านไปสำรวจถึงข้อดี-ข้อด้อย และความยากลำบากของกระบวนการในการจัดทำประชามติ โดยเนื้อหาของ "ระบบการออกเสียประชามติ" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้

    บทที่ 1 ความหลากหลายและซับซ้อนของ "ประชามติ"

    บทที่ 2 ประเภทของการออกเสียประชามติ

    บทที่ 3 กลไกและหน้าที่

    บทที่ 4 ระบบและกระบวนการ

    บทที่ 5 ข้อดีและข้อเสีย

    เมื่ออ่าน "ระบบการออกเสียประชามติ" จบลง เราพบว่าความเข้าใจประการหนึ่งในเรื่องของการทำประชามติ ที่แต่เดิมหลายคนเข้าใจว่ามันเป็นกระบวนการในการออกมาใช้สิทธิชี้ขาดของประชาชน แต่ในความเป็นจริงแล้ว "ประชามติ" มีความซับซ้อนมากกว่าที่เราเคยคิดและเข้าใจ ทั้งเรื่องของระบบ กระบวนการ กลไกหน้าที่ และการนำเอาผลจากการลงประชามติมาปรับใช้ เพื่อยืนยันผลหรือในบางครั้งกระบวนการประชามติเองก็ถูกใช้เป็นเพียง "พิธีกรรมในการสร้างความชอบธรรม" ให้กับเหล่าคณะบุคคลที่จัดทำกระบวนการประชามติให้เกิดมีขึ้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in