Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ประชามติ: ที่มาและพัฒนาการ By ชาย ไชยชิต
รีวิวเว้ย (1154)
รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
"ประชามติ" ในภาษาไทยหากคิดแบบเร็ว ๆ อาจจะพบว่าที่มาของคำดังกล่าวมาจาก "ประชา" มาร่วมเข้ากับคำว่า "มติ" แต่เมื่อค้นลึกลงไปในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2555 จะพบว่าคำว่า "ประชามติ" มีความหมายแตกย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ ประชามติแบบ "
Plebiscite" กับประชามติแบบ "
Referendum" ที่ในพจนานุกรมได้กำหนดความหมายเอาไว้ว่า
ประชามติ (
Plebiscite) /น./ มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง
ประชามติ (
Referendum
) /น./ มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ
น่าสนใจว่าหากย้อนกลับมาตั้งคำถามถึงคำว่า "ประชามติ" ในสังคมไทย ภาพจำและความรับรู้ในเรื่องของประชามติในสังคมไทยอยู่ในลักษณะของประชามติแบบใด เพราะบ่อยครั้งเรามักจะได้ยินการให้นิยามของประชามติในแบบของ
ประชามติ (
Referendum
) มากกว่ารูปแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือพัฒนาการของของ "ประชามติ" มีที่มาที่ไปอย่างไร
หนังสือ : ประชามติ: ที่มาและพัฒนาการ
โดย : ชาย ไชยชิต
จำนวน : 196 หน้า
"
ประชามติ: ที่มาและพัฒนาการ
" หนังสือที่ทำการศึกษาในเรื่องของ "ประชามติ" ทั้งที่มา พัฒนาการ รูปแบบ ความแตกต่างของประชามติแต่ละรูปแบบและรูปแบบของประชามติในแต่ละประเทศ โดยที่ในหนังสือผู้เขียนได้มีการบอกเล่าถึงการออกเสียงประชามติว่า
"การออกเสียงประชามติในปัจจุบัน เป็นสถาบันการเมืองที่พัฒนาขึ้นในบริบทพัฒนาการของระบบการเมืองสมัยใหม่ และเป็นเพียงกลไกเสริมในระบบการเมืองแบบตัวแทน" (น. คำนำ) ซึ่งประชามติกลายมาเป็นพื้นฐานที่ประเทศหลายประเทศหยิบขึ้นมาใช้ในฐานะกลไกของประชาธิปไตยทางตรงรูปแบบหนึ่ง
ความน่าสนใจอีกประการของหนังสือ "
ประชามติ: ที่มาและพัฒนาการ
" คือเรื่องของการที่ผู้เขียนชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความแตกต่างของคำว่าประชามติ "Plebiscite" กับ "Referendum" ที่ก่อนหน้านี้ความเข้าใจในเรื่องของคำว่าประชามติผูกติดอยู่กับคำว่า ประชามติ (Referendum) แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยในบทที่ 7 ที่ว่าด้วยเรื่องของทวิลักษณ์ของประชามติ ที่ผู้เขียนได้มีการนำเสนอเอาไว้ว่า
"คำว่า Plebiscite ที่ใช้กันภายใต้มโนทัศน์ทางการเมืองสมัยใหม่ มีนัยถึงกระบวนการตัดสินใจของพลเมืองต่อข้อเสนอหรือญัตติที่ผู้มีอำนาจปกครองเสนอลงมา เพื่อให้พลเมืองออกเสียงแสดงการรับรองหรือไม่รับข้อเสนอดังกล่าว โดยยึดผลการตัดสินจากคะแนนเสียงข้างมากของพลเมืองที่ออกเสียง" (น. 140) และ "คำว่า Referendum ในความหมายปัจจุบันเริ่มมีการใช้ในภาษาอังกฤษในราวคริสต์ทศวรรษ 1880 ... เป็นคำที่ใช้ในแวดวงการทูต สำหรับกล่าวถึงข้อตกลงระหว่างประเทศที่ต้องได้รับการให้สัตยาบันจากบุคคลที่ได้รับอำนาจในการตัดสินใจของรัฐเสียก่อน จึงจะสามารถมีผลผูกพันโดยสมบูรณ์ ... Referendum จึงมักเป็นการออกเสียงแสดงประชามติที่จัดขึ้นเพื่อให้พลเมืองเป็นผู้ร่วมกันตัดสินประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศเป็นหลัก" (น. 154 - 156)
สำหรับเนื้อหาของ
"
ประชามติ: ที่มาและพัฒนาการ
" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้
บทที่ 1 นครรัฐเอเธนส์: ประชามติในระบอบประชาธิปไตยทางตรง
บทที่ 2 สาธารณรัฐโรมัน: ประชามติในสภาสามัญชน
บทที่ 3 ยุโรปยุคกลาง: ประชามติในสภาประชาชนกลางแจ้ง
บทที่ 4 ฝรั่งเศส: ประชามติบนหลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน
บทที่ 5 สวิตเซอร์แลนด์: ประชามติบนหลักประชาธิปไตยทางตรงสมัยใหม่
บทที่ 6 สหรัฐอเมริกา: ประชามติบนหลักการยับยั้งและถ่วงดุลผู้แทน
บทที่ 7 ทวิลักษ์ของประชามติ
เมื่ออ่าน
"
ประชามติ: ที่มาและพัฒนาการ
" จบลง สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้ คือ เรื่องของรูปแบบ ความหลากหลายและความสำคัญของการทำประชามติ ที่ในแต่ละยุคสมัยและในแต่ละประเทศก็มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ รวมถึงรูปแบบของการทำประชามติที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทของเวลาและสถานที่ เมื่อย้อนกลับไปที่คำของผู้เขียนที่ว่า
"การออกเสียงประชามติในปัจจุบัน เป็นสถาบันการเมืองที่พัฒนาขึ้นในบริบทพัฒนาการของระบบการเมืองสมัยใหม่ และเป็นเพียงกลไกเสริมในระบบการเมืองแบบตัวแทน" (น. คำนำ) ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในหัวว่า "แล้วการทำประชามติที่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย เราจะเรียกมันว่าเป็นกลไกเสริมในระบบการเมืองแบบตัวแทนได้หรือไม่ในทางปฏิบัติ" (?)
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in