รีวิวเว้ย (291) ทุกวันนี้ "เมือง" กลายเป็นโจทย์หนึ่งที่ถูกให้ความสำคัญ ทั้งในเรื่องของการพัฒนาเมืองให้สอดรับกับอัตราส่วนของประชากรที่กำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร จากสังคมของคนวัยทำงานเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างที่เมืองใหญ่หลายเมืองทั่วโลกกำลังเผชิญ อันเป็นผลจากอัตราการเกิดของประชากรรุ่นใหม่ที่มีจำนวนลดลงอย่างน่าตกใจ รวมถึงเมืองกำลังกลายเป็นสถานที่ที่ถูกทดสอบและท้าทายด้วยปัจจัยภายนอกอื่น ๆ อย่างเรื่องของการใช้งานอาคาร วิกฤติพลังงาน หรือแม้กระทั่งเรื่องของภัยพิบัติอย่าง แผ่นดินไหวและการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ก็กลายเป็นปัญหาที่เมืองหลายเมืองในโลกกำลังหาทางแก้ไขและแนวทางในการรับมือ ซึ่งนอกจากปัญหาใหม่ ๆ ที่เมื่อกำลังเผชิญ ปัญหาที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่มีมายาวนานและเมืองหลายเมืองก็แก้ไขปรับตัวมาตลอดแต่ก็ยังจัดการไม่จบไม่สิ้นสักที นั่นก็คือเรื่องของปัญหา "ขยะ" นี่ก็เป็นอีกโจทย์หนึ่งที่เมืองกำลังถูกท้าทาย ทั้งจากเรื่องของแหล่งฝังกลบขยะที่มีลดลงเนื่องจากการขยายตัวของเมืองและพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ รวมถึงปัญหาเรื่องของ "เมืองรุกป่า" อย่างที่เมืองเชียงใหม่กำลังเผชิญ เมื่อเหล่าผู้ทรงอำนาจขอฃบ้านเมืองนี้ เอาพื้นที่ป่ามาทำบ้านพัก ปัญหาเหล่านี้เองเป็นปัญหาที่เมืองต้องเผชิญและหาทางแก้ไขไปพร้อม ๆ กับการเติบโตของเมืองและความเปลี่ยนแปลงของบริบทต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ "เมือง"
หนังสือ : CITIES ความเมืองเรื่องบ้าน
โดย : Little Thoughts
จำนวน : 140 หน้า
ราคา : 255 บาท
เมื่อเมืองกลายเป็นโจทย์ปัญหาปมใหญ่และใหม่ที่ต้องได้รับการแก้ไขในประเด็นปัญหาต่าง ๆ หนังสือ "CITIES ความเมืองเรื่องบ้าน" น่าจะเป็นหนึ่งในหนังสือที่พูดถึงเรื่องของการแก้โจทย์ของเมืองที่ได้ยกเอาตัวอย่างจากหลายเมืองในโลกที่ต่างเผชิญปัญหาต่าง ๆ และยังผลให้เมืองเหล่านั้นต้องออกแบบการแก้ปัญหา ปรับตัว หรือหลายครั้งอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในเมืองเพื่อจัดการปัญหาต่าง ๆ
ในหนังสือ "CITIES ความเมืองเรื่องบ้าน" ได้มีการพูดถึงการจัดการปัญหาของเมืองต่าง ๆ ที่หลายครั้งมันยังไม่เป็นปัญหาเสียด้วยซ้ำนับตั้งแต่วันที่เมืองวางแนวทางในการจัดการกับมัน อย่างเรื่องของพื้นที่ป่าและเมือง ที่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก เมื่อเมืองเจริญเติบโตก็เป็นที่แน่นอนว่าพื้นที่ป่าจะถูกทำให้ลดน้อยลง กระทั่งอาจจะหายไปจากเมืองมนที่สุด แต่เมืองใหญ่อย่าง "โตเกียว" มีการวางแนวทางในการจัดการเรื่องของป่าไม้ในเมืองเอาไว้ตั้งแต่เมื่อ 100-150 ปีก่อน สำหรับการสร้างพื้นที่ป่าจำลองให้กลายเป็นป่าจริง ๆ ในอีก 150 ปีต่อมา ที่ทางการญี่ปุ่นเอาจริงเอาจังกับการจัดการเรื่องของการสร้างผืนป่าโดยรอบศาลเจ้าเมจิ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพถึงสมเด็จพระจักรพรรดิมุทสึฮิโตะ และในอีก 100-150 ปีต่อมา ป่าผืนนั้นกลายเป็นพื้นป่าสำคัญในเมืองโตเกียว ที่กลายเป็นทั้งปอดของเมือง พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงเป็นห้องทดลองทางธรรมชาติวิทยานับตั้งแต่เมื่อ 100-150 ปีก่อน กระทั่งถึงปัจจุบัน ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักพฤษศาสตร์ยังคงทำหน้าที่ในการดูแลรักษาพื้นป่าแห่งนี้ต่อมากระทั่งปัจจุบัน อาจจะเรียกได้ว่าป่าผืนนี้เป็นงานวิจัยที่มีการดำเนินงาน ติดตามผลและบันทึกข้อมูลที่อาจจะยาวนานที่สุดในโลก เพราะเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว งานวิจัยผืนป่าแห่งนี้ก็ยังไม่จบลง
หรืออย่างเมืองที่ประสบปัญหาอื่นอย่างเรื่องของการจัดการขยะของเมือง "ซานฟรานซิสโก" ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เมืองเองได้มีการปรับตัวและพัฒนาเมืองให้กล่ยเป็นเมือง "ปลอดขยะ" ในที่นี้หมายถึงเมืองที่วามารถนำเอาขยะกลับไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผ่านกลไกของการขอความร่วมมือ การสร้างจิตสำนึก หรือแม้กระทั่งการสร้างกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่มำหน้าที่ในการบังคับและควบคุมในเรื่องของการจัดการขยะ
นอกจากเมืองที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น "CITIES ความเมืองเรื่องบ้าน" ยังคงมีตัวอย่างของเมือง ที่จัดการปัญหาของเมืองได้อย่างน่าสนใจ และยังรวมเอาเมืองที่เผชิญปัผยหาและยังไม่วามารถแก้ไขได้เอาไว้ในเล่มด้วย เพื่อบอกเล่าถึงเรื่องราวของเมือง ที่แสองให้เห็นถึงภาวะของความเป็นเมืองที่มีพลวัตร ไม่ว่าเมืองนั้น ๆ จะเดินหน้าหรือถอยหลัง เมืองก็ยังคงเป็นเมืองและยังคงเป็นแหล่งรวมผู้คนมากมาย ที่ในหลายครั้งปัญหาของเมืองหนึ่ง ๆ ก็เกิดขึ้นมาจากคนที่อยู่ในเมืองและนักท่องเที่ยวที่เขามาเที่ยวในเมืองนั้นเสียเป็นส่วนใหญ่
เมื่อเป็นเช่นนั้นการแก้ปัญหาของเมือง หลายครั้งมันไม่ได้แก้ที่เมือง แต่จำเป็นต้องแก้ที่ "คนเมือง" และ "คนเที่ยวในเมือง" ให้พวกเขารับรู้ว่าเมืองจะดีหรือแย่มันก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเมืองเป็นสำคัญ อย่าง "คนทุกคน"
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in