Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น By วลัยลักษณ์ ทรงศิริ บรรณาธิการ
รีวิวเว้ย (1149)
รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลายวันก่อนเห็นความคิดเห็นหนึ่งใน Facebook พูดเรื่องของ "อาการตาสว่าง" โดยบอกเล่าผ่านบริบทของขนบการศึกษาประวัติศาสตร์ของสังคมไทย ที่เราอาจจะเรียกกันในภาษาปากว่า "ประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษา" หรือ "ประวัติศาสตร์กระแสหลัก" ที่ประวัติศาสตร์เหล่านี้จำกัดเรื่องราวและเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ จำกัดอยู่ในขอบเขตของประวัติศาสาตร์ที่รัฐต้องการให้เรารู้ และเรื่องเล่าของอาการตาสว่างบอกเล่าถึงเรื่องของแนวคิดทางประวัติศาสตร์อีกขนบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยประวัติศาสตร์เหล่านั้นถูกมองว่าเป็นประวัติศาสตร์คู่ตรงข้ามกับประวัติศาสตร์กระแสหลัก และความคิดเห็นดังกล่าวกลายเป็นประเด็นในเรื่องของการออกนอกขนบประวัติศาสตร์แบบเดิม ๆ โดยมีการเปรียบเทียวว่ากระแสตาสว่าง คล้ายกับการออกตฝจากกะลาใบเดิมมาสู่กะลาใบใหม่ แต่ความน่าสนใจประการหนึ่งของข้อถกเถียงดังกล่าว คือ การสร้างข้อจำกัดให้กับ "ประวัติศาสตร์" ที่ถูกนิยามให้มีเพียงแค่ 2 รูปแบบ ทั้งที่ในความเป็นจริงชุดความรู้ในสิ่งที่เรียกว่าประวัติศาสตร์นนั้นมีแตกต่างหลากหลาย และมากไปด้วยเรื่องเล่าและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนกลุ่มคน อาทิ การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่เรื่องราวของประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เป็นหนึ่งในชุดความทรงจำร่วมของกลุ่มคนและสังคมหนึ่ง ๆ
หนังสือ : ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
โดย : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ บรรณาธิการ
จำนวน : 68 หน้า
"
ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" หนังสือรวมบทความเล่มกระชับที่ว่าด้วยเรื่องของ "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" และการพาผู้อ่านกลับไปทบทวนถึงสิ่งที่เรียกว่า "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" ว่ามันคืออะไร มีหน้าตาอย่างไร รวมถึงความวำคัญและความจำเป็นของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในยุคปัจจุบันอยู่ที่จุดไหน รวมทั้งการฟื้นคืนแนวทางการสร้างประวัติศาสตร์ท้งถิ่นให้กับท้องถิ่นแห่งนั้น ๆ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร
โดยเนื้อหาของ
"
ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้
(1) ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ของสังคมที่หายไป
(2) ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แนวคิดและวิธีการ
(3) เพื่อมาตุภูมิ
(4) การศึกษาสังคมไทยผ่านภูมิวัฒนธรรม
(5) พื้นที่วัฒนธรรม การโต้กลับทางภูมิปัญญาของคนใน
(6) ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พัฒนาการโดยย่อ
เมื่ออ่าน
"
ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" จบลง เราจะพบว่า สิ่งที่ถูกเรียกว่า "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น" นั้นมีความสำคัญและจำเป็น สำหรับพื้นที่หรือท้องที่หนึ่ง ๆ นั่นไม่ใช่เพียงเรื่องของการสร้างความภูมิใจในพื้นที่หนึ่ง ๆ เท่านั้น หากแต่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือสิ่งสำคัญและจำเป็น สำหรับการสร้างความรู้ ความทรงจำ และเป็นบันทึกเรื่องราวและเรื่องเล่าของพื้นที่หนึ่ง ๆ เพื่อการเรียนรู้ พัฒนา พื้นที่นั้น ๆ ให้ก้าวไปข้างหน้าโดยไม่หลงลืมประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของตัวเอง ในลักษณะของการดูแล-รักษามิใช่การหวงแหน-เก็บรักษา
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in