เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักษ์ถิ่น By วลัยลักษณ์ ทรงศิริ บก.
  • รีวิวเว้ย (1150) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    "ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของคนเฒ่า" ข้อความดังกล่าวเป็นการบอกเล่าถึงเรื่องของประวัติศาสตร์ในความรับรู้ของใครหลาย ๆ คนในสังคมได้เป็นอย่างดี เมื่อประวัติศาสตร์ตั้งต้นที่การเป็นเรื่องของ "คนเฒ่า" ไปเสียแล้วนั่นอาจจะอนุมานได้ว่าเรื่องของประวัติศาสตร์ถูกทำให้น่าเบื่อ และเป็นเรื่องที่ตัดขาดตัวเองจากคนรุ่นใหม่ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์สังคม ชุมชน ท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก หรือประวัติศาสตร์กระแสรองต่างก็เป็นประวัติศาสตร์ ที่ควรจะถูกทำให้เป็นเรื่องเล่าและเรื่องราวของทุกคน เป็นเรื่องเล่าและเรื่องราวที่ทุกคนเข้าถึงได้ รวมไปถึงการเป็นเรื่องเล่าเรื่องราวที่ผู้คนสามารถมีส่วนร่วม ตั้งคำถาม และสร้างบทสนทนาไปพร้อม ๆ กับมัน เพื่อป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของ "คนเฒ่า" อย่างที่หลายคนชอบกล่างถึง
    หนังสือ : ประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักษ์ถิ่น
    โดย : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ บรรณาธิการ
    จำนวน : 46 หน้า

    "ประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักษ์ถิ่น" หนังสือร่วมบทความฉบับกระทัดรัดที่ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวของการศึกษาประวัติศาสตร์ ที่ควรทำให้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของ "ทุกคน" โดยเฉพาะเด็ก ๆ ยิ่งกับเรื่องของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของท้องถิ่นนั้น ๆ โดยที่เนื้อหาของ "ประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักษ์ถิ่น" มุ่งเน้นไปที่วิธีการในแบบของ "ประวัติศาสตร์บอกเล่า" ที่ทางสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้ให้นิยามเอาไว้ว่า

    "ประวัติศาสตร์บอกเล่า (oral history) เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์บุคคลผู้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ในอดีต หรือเป็นเรื่องราวของผู้ถูกสัมภาษณ์เองในลักษณะของอัตชีวประวัติ ซึ่งเป็นหลักฐานประเภทหนึ่งนอกเหนือไปจากหลักฐานประเภทต่างๆ เช่น เอกสารลายลักษณ์ ภาพถ่าย หรือวัตถุสิ่งของ" จากนิยามดังกล่าวจะเห็นว่ากระบวนการของการสร้าง "ประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักษ์ถิ่น" นั้น สามารถกระทำได้โดยง่าย และจะช่วยให้เด็กและคนกลุ่มอื่น ๆ มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อเรียนรู้ในท้องถิ่นของตนเอง

    โดยเนื้อหาของหนังสือ "ประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักษ์ถิ่น" ประกอบไปด้วยบทความขนาดสั้นจำนวน 3 ชิ้น ดังนี้

    (1) ประวัติศาสตร์กับตำนาน

    (2) การศึกษาสังคมไทยผ่านภูมิวัฒนธรรม

    (3) ปฏิบัติการประวัติศาสตร์บอกเล่า สำหรับเยาวชน

    เมื่ออ่าน "ประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อเด็กรักษ์ถิ่น" จบลง เราพบว่าการสร้างให้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของทุกคน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ อย่างน้อยมันก็ช่วยให้หลายคนเข้าใจในเรื่องประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นตนเอง อาจจะไม่ถึงขั้นต้องลุกขึ้นมาอนุรักษ์ หากแต่แค่เข้าใจและรู้จักประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นตัวเองเอาไว้เท่านี้ทุกท้องถิ่นก็จะมีรากฐานของสังคมที่แผ่ขยายไปคล้ายรากแก้วของไม้ยืนต้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in