Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
สงครามกลางเมืองศรีลังกา (The Sri Lankan Civil War) By ปรีดี หงษ์สต้น
รีวิวเว้ย (1138) ใครสักคนเคยกล่าวเอาไว้ว่า "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งสันติ" หากแต่ในความเป็นจริงแล้วตลอดช่วงประวัติศาสตร์ เรากลับเห็นภาพของความเป็นจริงที่ดูจะตรงข้ามกับคำว่า "สันติ" จากพุทธศาสนาอยู่บ่อย ๆ อาทิ กรณีที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย อย่างกรณีของพระ
กิตติวุฑโฒ ภิกขุ ที่เคยปรากฏในช่วง พ.ศ. 2519 ว่า "
ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป" เพราะคล้ายกัลการทำความดีเพื่อปราบมารและปกป้องอะไรบางอย่างให้พ้นจากเหล่ามารร้าย เมื่อเป็นเช่นนั้นการฆ่าคอมมิวนิสต์จึงเท่ากับการปรามาร หรืออย่างกรณีของเมียนมาร์ ที่ชาวพุทธมีการใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญา จนกลายเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยุคใหม่ และอย่างในกรณีของรัฐพุทธเถรวาท อย่างประเทศศรีลังกาเองพุทธศาสนาก็กลายมาเป็นเครื่องมือและผู้สนับสนุนการใช้ความรุนแรงกระทั่งกลายมาเป็นสงครามกลางเมืองศรีลังกาดังที่ปรากฏมา โดยข้อความตอนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงศาสนาพุทธศรีลังกา ที่มองเรื่องของการใช้กำลังและความรุนแรงเป็นเรื่องพึงกระทำ
"
การเทศนาของพระคณานันทนีเต็มไปด้วยความระมัดระวัง ท่านได้แยกแยะกันของพุทธธรรมข้อสำคัญหนึ่งที่ว่าด้วยบาปของการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ออกจากความจำเป็นในการปฏิบัติทางการทหาร ในครั้งนี้การปราบปรามกลุ่มกบฏด้วยความรุนแรงได้รับการยกเว้น ฟังเพราะเป็นการสร้างสันติภาพและความสงบสุขของชาวศรีลังกา อีกทั้งยังเป็นการปกป้องมักค่าของชาวพุทธสิงหลด้วย" (น. 190) แน่นอนว่าทั้งหมดนี้อาจจะไม่ใช่ภาพแทนทั้งหมดของความเป็นพุทธศาสนา หากแต่สิ่งเหล่านี้ก็ยืนยันกับเราได้ว่า บางครั้งและหลายครั้งศาสนาก็เป็นเครื่องมือและหนทางของการใช้ความรุนแรงผ่านความชอบธรรมทางศาสนาอยู่บ่อย ๆ
หนังสือ : สงครามกลางเมืองศรีลังกา (
The Sri Lankan Civil War
)
โดย : ปรีดี หงษ์สต้น
จำนวน : 212 หน้า
"สงครามกลางเมืองศรีลังกา" ในชื่อภาษาอังกฤษว่า "
The Sri Lankan Civil War
" เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ศรีลังกาขนาดกระชับ ที่จะพาผู้อ่านย้อนกลับไปทำความเข้าใจในเรื่องของความขัดแย้ง ที่พัฒนาต่อมากระทั่งกลายเป็นสงครามกลางเมืองของศรีลังกา และสงครามดังกล่าวก็ยังคงไม่ได้สงบลงจนเรียกได้ว่าศรีลังกาเป็นรัฐที่ปราศจากสงคราม
โดยเนื้อหาของ
"สงครามกลางเมืองศรีลังกา" มุ่งเน้นที่จะบอกเล่าให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับ
แนวคิดเรื่อง "พุทธจัด (
extreme Buddhism
)" ที่ในหนังสือเล่มนี้ หมายความถึง พลังที่ถูกปลดปล่อยออกมาจนควบคุมไม่ได้ก่อตัวเป็นแนวคิดแบบพุทธจัดในศรีลังกา ปรีดีอธิบายว่ามีลักษณะ 3 ประการ
(1) ประการแรกคือ ความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองที่มีภาษาสิงหล ศาสนาพุทธ และวัฒนธรรมพุทธสิงหลเป็นประเด็นนำ ความคิดเหล่านี้มีหลากหลายตั้งแต่การเผยแพร่ความคิดพุทธจัดในคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ บทความในวารสารวิชาการ การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองบนท้องถนน การอภิปรายในรัฐสภา การเคลื่อนไหวทางสังคม และการเมืองเหล่านี้แสดงออกชัดเจนโดยมีการเสนอนโยบายที่เรียกว่า เฉพาะชาวสิงหลเท่านั้น
(2) ประการที่ 2 ความคิดพุทธจัดเป็นวาทกรรมกระฎุมพี หมายความว่าตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่กำเนิดมาจากชาวสิงหลวรรณะโคยิคามะซึ่งทำการค้าสะสมทุนกับเจ้าอาณานิคมอังกฤษ กลุ่มทุนนิยมวานิชเหล่านี้ได้เริ่มสถาปนาคุณค่าทางชนชั้นของตนเองขึ้นมาเพื่อที่จะใช้รักษาสถานะนำของตนเอง กลุ่มชนชั้นใหม่นี้ได้รับการศึกษาและสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ทำให้สามารถรับความรู้จากตะวันตกผ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มกระฎุมพีของชนชั้นนี้จะมีส่วนร่วมทั้งในการส่งเสริมและต่อต้านวาระแบบพุทธจัด
พุทธจัดมาจากวงศาวิทยาเดียวกัน เพราะฉะนั้น 2 กลุ่มนี้อยู่ภายใต้วาทกรรมชุดเดียวกัน มีการบอกว่ามีพุทธจัดและโดยนัยบอกว่ามันมีพุทธที่ไม่จัด แล้วเราอยู่ในโลกที่มีการถกเถียงแบบนี้มันดำรงอยู่ ในปัจจุบันนี้คู่ตรงข้ามมันดูจะเป็น extreme กับ moderate ซึ่งในสมัย 1920 ถึง 1930 extreme ไม่ได้เป็นสิ่งผิดในตัวมันเอง อย่างนักปฏิวัติไม่สามารถอธิบายว่าเป็นกลางได้แน่ ๆ
แต่ช่วงปี 1970 ถึง 1980 ลงมามันกลายเป็นว่ากลุ่มคนที่ extreme กลุ่มหนึ่งกับกลุ่มคนที่ไม่ extreme ซึ่งกลุ่มหลังเป็นกลุ่มที่ถูกต้องและกลุ่มที่ extreme เป็นกลุ่มที่ผิด ซึ่งผมคิดว่าไม่ว่าเราจะมีจุดยืนทางการเมืองอย่างไรก็ตามทั้งผู้ที่สนับสนุนและต่อต้านอยู่ในวาทกรรมชุดเดียวกันด้วยว่าด้วยเรื่องการมีและไม่มีพุทธจัด
(3) ประการที่ 3 คือท่าทีอันเพิกเฉยและสนับสนุนการใช้ความรุนแรง พุทธจัดมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความรุนแรงในช่วงสงครามกลางเมืองอันยืดเยื้อยาวนาน
สามประการนี้เป็นส่วนประกอบที่ค่อนข้างจะเกี่ยวข้องกันบ้างหรือว่าหลายๆ ครั้งมันไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันเสมอไป แต่ทั้งหมดนี้ผมพยายามจะพูดให้ครอบคลุมว่าเราอยู่ในยุคแบบที่เรียกว่าพุทธจัดในศรีลังกาปัจจุบัน" (
https://prachatai.com/journal/2019/11/85246
)
โดยเนื้อหาของ
"สงครามกลางเมืองศรีลังกา" มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 บทดังต่อไปนี้
บทที่ 1 เปลวไฟที่ไม่เคยมอดดับ
บทที่ 2 การื้อฟื้นพุทธศาสนาภายใต้เจ้าอาณานิคมอังกฤษ
บทที่ 3 พุทธศาสนาและความเคลื่อนไหวสังคมนิยมในศรีลังกา
บทที่ 4 พุทธชาตินิยม
บทที่ 5 ความคิดพุทธจัดในศรีลังกา
บทที่ 6 บทส่งท้าย การสิ้นสุดของสงครามกลางเมือง
เมื่ออ่าน
"สงครามกลางเมืองศรีลังกา" จบลง แน่นอนว่าเราอาจจะเข้าใจปัญหาเรื่องของความขัดแย้งในศรีลังกาที่เกิดขึ้นมาจากประเด็นในเรื่องของศาสนา แต่ที่น่าสนใจไม่แพ้ประเด็นเรื่องของศาสนาดังกล่าว
"สงครามกลางเมืองศรีลังกา" ยังช่วยให้เราเห็นถึงบริบททางการเมืองของศรีลังกาที่อาจจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางในฐานะของฐานความรู้และความเข้าใจที่จะช่วยให้เราเข้าใจในเรื่องของความขัดแย้งของศรีลังกาที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบัน ที่มิใช่แค่เรื่องของศาสนาและชาติพันธุ์อย่างในครั้งอดีตเท่านั้น หากแต่ในปัจจุบันปัญหาของศรีลังกาดูจะยิ่งซับซ้อนขึ้นตามจำนวนของตัวแสดงที่เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ในประเทศศรีลังกา
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in