เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ระบบบริหารราชการไทย (Thai Administration System) By คะนอง พิลุน
  • รีวิวเว้ย (1133) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ระบบราชการ หมายถึง "ระบบที่มีการจัดลำดับอำนาจหน้าที่ มีการพัฒนาข้าราชการด้วย การฝึกอบรมให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน และลักษณะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ประกอบด้วยระบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่มีความเป็นมาตรฐานในการบังคับใช้อย่างเสมอภาค" อ่านการกำหนดนิยามของระบบราชการดังกล่าวแล้วก็ได้แต่คิดตามว่าจุดไหนในความเป็นจริงที่ตรงตามนิยามที่ถูกกำหนดเอาไว้บ้าง (?) "องค์กรที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่" ดูจะสะท้อนนิยามและความหมายของระบบราชการได้ชัดเจนที่สุด เพราะนอกจากระบบราชการมีโครงสร้างของตัวระบบขนาดใหญ่แล้ว ตัวระบบราชการเองยังเป็นโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และอยู่ยืนยาวมาเนิ่นนานระบบหนึ่งในสังคมไทย อีกทั้งระบบราชการแทบจะเป็นระบบบริหารประเทศที่มั่นคง แข็งแรงและมีความต่อเนื่องยาวนานมาหลายร้อยปี
    หนังสือ : ระบบบริหารราชการไทย (Thai Administration System)
    โดย : คะนอง พิลุน
    จำนวน : 328 หน้า

    "ระบบบริหารราชการไทย" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของระบบบริหารราชการของไทยแบบ 101 ที่ตัวเนื้อหาของหนังสือบอกเล่าเรื่องราวของระบบราชการ และระบบบริหารราชการของไทยโดยละเอียด (ในเรื่องของโครงสร้างและวิธีการทำงาน) ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า "ระบบบริหารราชการไทย" พาเราไปทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับระบบราชการ และระบบบริหารราชการของไทยในภาพรวมได้อย่างชัดเจน

    โดยเนื้อหาภายในเล่ม "ระบบบริหารราชการไทย" แบ่งเนื้อหาออกเป็น 12 บท ดังต่อไปนี้

    บทที่ 1 หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารราชการ

    บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการ

    บทที่ 3 หลักการจัดระเบียบบริหารราชการ

    บทที่ 4 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

    บทที่ 5 การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

    บทที่ 6 การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

    บทที่ 7 การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทย

    บทที่ 8 ปัญหาของระบบราชการ

    บทที่ 9 การปฏิรูประบบราชการในประเทศไทย

    บทที่ 10 รัฐวิสาหกิจ

    บทที่ 11 องค์การมหาชน

    บทที่ 12 การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่

    เมื่ออ่าน "ระบบบริหารราชการไทย" จบลง เกิดคำถามขึ้นมาในหัวว่า ด้วยโครงสร้างและการทำงานของระบบราชการและระบบบริหารราชการของไทย ที่มีโครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่ กลไกการทำหน้าที่ที่ซับซ้อน ตัวแสดงที่หลากหลาย และอำนาจหน้าที่ที่หลาบครั้งก็ดูทับซ้อนกันไปมา เมื่อเป็นเช่นนี้ในอนาคตอันใกล้ เมื่อระบบราชการและระบบบริหารราชการจำเป็นจะต้องถูกจัดเรียงและออกแบบระบบการทำงานใหม่อย่างไร (?) เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม และโครงสร้างประชากรของรัฐไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in