Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
รัฐสยดสยอง By ภัทรนิษฐ์ สุรรังสรรค์
รีวิวเว้ย (1132)
รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
"เมื่อกรมหลวงดำรงราชานุภาพ ออกไปตรวจตราถนนบ้านตลาดท่าฉลอม แล้วพบว่าถนนที่ราษฎรร่วมกันออกทุนทรัพย์จำนวนหลายพันบาทสร้างและบำรุงดูแลนั้นดูแล้วสะอาดสะอ้านงามดี กรมหลวงดำรงราชานุภาพจึงเกิดความคิดว่าควรจะจัดตั้งการสุขาภิบาลที่บ้านตลาดท่าฉลอม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ราษฎร เพราะหากทำสำเร็จก็จะถือว่าการสำคัญของพระราชอาณาจักรสำเร็จลุล่วงไปได้อีกอย่างหนึ่ง ...
ความสำเร็จในการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมได้จุดประกายให้รัฐสยามขยายการจัดตั้งสุขาภิบาลในหัวเมืองอื่น ๆ โดยในเวลาต่อมารัฐสยามได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 (2451) เพื่อสนับสนุนให้มณฑลหรือหัวเมืองแต่ละท้องที่สามารถจัดตั้งสุขาภิบาลได้อย่างถูกต้อง
" (น. 176-177)
สมัยที่นั่งเรียนวิชา "การเมืองการปกครองท้องถิ่น" ในห้องเรียน เราจะเคยได้ยินว่าการปกครองท้องถิ่นของไทยมีจุดตั้งต้นมาจาก "สุขาภิบาล" และเราก็ท่องจำมาตอนไหนไม่รู้ว่าสุขาภิบาลแห่งแรกของไทยคือสุขาภอบาลท่าฉลอม ทั้งที่จริง ๆ แล้วก่อนหน้านั้นมีการตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ขึ้นในพระนครก่อนที่จะขยับขยายออกไปยังตลาดท่าฉลอม การเกิดขึ้นของสุขาภิบาล เรามักจะได้รับการบอกเล่าว่าเกิดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการ (1) ดูแลความสะอาดของพื้นที่ และ (2) จุดไฟตามทางถนนต่าง ๆ ซึ่งเราก็ไม่เคยตั้งคำถามต่อว่าถ้าทำหน้าที่แค่ดูความสะอาดและจุดไฟทาง ทำไมรัฐไทยในเวลานั้นต้องตั้งกลไกอย่าง "สุขาภิบาล" ขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าวด้วย เพราะภาพจำในเรื่องของความสะอาดตามถนนหนทาง และเรื่องของไฟทางในความรับรู้ของเราอาจจะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างขยะแค่นิดหน่อย หากแต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2430-2451 ขยะ (ปฏิกลู) ที่พบเจอได้ตามถนนไม่ใช่แค่ขยะ หากแต่มีตั้งแต่ คูถ มูตร มูลสัตว์ มูลคน ซากสัตว์ (ม้า) กระทั่งศพ สิ่งเหล่านี้คือปฏิกูลที่สามารถพบเจอได้ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง และในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใด "ศุขาภิบาล" จึงต้องถูกตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในเรื่องดังกล่าว เพราะในยุคนั้นเป็นไปได้ว่าเราเดินหลุดโค้งมาอาจจะเจอซากม้าและศพคนขี้ม้า วางในลักษณะของศิลปะจัดวางอยู่เคียงกันในพื้นที่สาธารณะ ที่มาพร้อมกับรูป กลิ่น สี เผลอ ๆ อาจจะมีเนื้อสัมผัสรวมเข้ามาด้วย
หนังสือ : รัฐสยดสยอง
โดย : ภัทรนิษฐ์ สุรรังสรรค์
จำนวน : 352 หน้า
"
รัฐสยดสยอง" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ "ประวัติศาสตร์อารมณ์" ของรัฐสยาม-ไทย ที่ยึดโยงอยู่กับเรื่องของความ "ศิวิไลซ์" ในช่วงเวลาที่รัฐสยามกำลังพยายามเปลี่ยนตัวเองให้เป็นรัฐสมัยใหม่ในช่วง พ.ศ. 2440 และรัฐได้หาวิธี แนวทาง และกลไกต่าง ๆ เข้ามาทำหน้าที่ในการควบคุมสิ่งที่รัฐมองดูแล้วว่า "ไม่เป็นอารยะ" อย่างเรื่องของความสะอาด การจัดการซากสัตว์ ศพมนุษย์ และอื่น ๆ ที่เราอาจจะเรียกสิ่งเหล่านั้นได้ว่าความสยดสยองขยะแขยง ที่รัฐต้องหาวิธีเก็บซ่อนมันเอาไว้เพื่อความศิวิไลซ์และความเป็นสมัยใหม่ของรัฐ ไม่แน่ว่าสำนวน "ซุกใต้พรม" อาจจะมีที่มาในลักษณะแบบนี้ก็เป็นไปได้
เนื้อหาใน
"
รัฐสยดสยอง" ได้มีการให้นิยามของคำว่า "ระบบความสยดสยอง" เอาไว้ว่า
"หมายถึง ระบอบอารมณ์ความรู้สึกที่มีความสยดสยองและความสะพรึงกลัวเป็นกลไกในการทำงาน ทั้งนี้ความสยดสยองในหนังสือเล่มนี้จำเพาะหมายถึงความรู้สึกสะพรึงกลัว รวมถึงความสะอิดสะเอียนที่เกิดจากการพบเห็นหรือสัมผัสกับสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซากศพคนตาย ซากอสุภะต่างๆ ความเละเทะเน่าเหม็นของร่างกายมนุษย์ ทั้งจากโรคภัยและจากการเสียชีวิต รวมถึงการใช้ความรุนแรงเพื่อปราบปรามผู้กระทำผิดและการประหารชีวิตในพื้นที่สาธารณะ" (น. 12) ซึ่งระบบความสยดสยองนี่เอง คือ เนื้อหาของสิ่งต่าง ๆ ที่จะปรากฏขึ้นใน
"
รัฐสยดสยอง" เล่มนี้
โดยเนื้อหาของ
"
รัฐสยดสยอง" แบ่งเป็นบทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
บทนำเสนอ
(1) ความสยดสยอง ในฐานะระบอบแห่งอารมณ์
• ว่าด้วยระบอบความสยดสยอง
• ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์อารมณ์
(2) ความสยดสยองในยุคจารีตของสังคมไทย
• ความสยดสยองในกฎหมายตราสามดวง และไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา
• การเสียเกียรติยศพระนครในรัชสมัยพระจอมเกล้าฯ
• ราชกิจจานุเบกษากับการบันทึกความสยดสยอง ในต้นรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าฯ
(3) ขุนกะเฬวราก ผู้จัดการความสยดสยองจากซากศพ
• การควบคุมซากศพโดยชนชั้นนำสยามยุคจารีต
• ซากศพและความโสโครก: ปฏิปักษ์ต่อความศิวิไลซ์ ในยุคแห่งการปฏิรูป
• การกำจัดความรู้สึกอุจาดผ่าน“ขุนกะเฬวราก”
(4) กองตระเวนและกรมสุขาภิบาล ผู้จัดการความสยดสยอง บนพื้นที่สาธารณะ
• ความโสโครกในพระนคร: เว็จคูถ มูตร ซากสัตว์ และกลิ่นเน่าที่ทำลายความสำราญของมหาชน
• กรมสุขาภิบาล: การกำจัดของโสโครกและความรู้สึกรังเกียจ
(5) โรงพยาบาล ผู้จัดการความสยดสยอง จากความโสโครกและโรคภัย
• ความสยดสยองที่มาพร้อมกับโรคระบาด ในสยามยุคจารีต
• จะให้มีโรงพยาบาลขึ้นในบ้านเมือง สมเป็นประเทศที่รุ่งเรือง: สถาบันแห่งความอารยะด้านสุขภาวะ
• ความรู้สึกสะพรึงกลัวภายใต้เงื้อมมือของโรงพยาบาล
(6) สนามสถิตยุติธรรมสยาม ผู้ควบคุมความสยดสยอง จากการทรมานร่างกาย
• ความสยดสยองกับการลงทัณฑ์ในสยาม ช่วงต้นรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าฯ
• ความกรุณา และ ความปรานี: การกำจัดความสยดสยองจากการทรมานเรือนร่าง
• ความสยดสยองภายใต้เงื้อมมือ ของสนามสถิตยุติธรรมสยาม: การป้องกันความรู้สึกหวาดกลัวของราษฎร และการปราบปรามกบฏของแผ่นดิน
(7) ระบอบความสยดสยองในรัฐสยามยุคใหม่
เมื่ออ่าน
"
รัฐสยดสยอง" จบลง เราจะพบว่าสภาพสังคมสยามสมัยก่อนภายใต้ระบบความสยดสยองที่เกิดขึ้นนั้นนำพารัฐสยามมาสู่การเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ เรื่อง แต่ในท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่น่าตั้งคำถามไม่แพ้กันคือ ในยุคปัจจุบันระบบความสยดสยองดังที่ปรากฏอยู่ใน
"
รัฐสยดสยอง" ได้หายไปจากสังคมไทยแล้ว หรือแค่เพียงระบบความสยดสยองนั้นแค่เปลี่ยนรูปจากเดิมไปสู่ความสยดสยองใหม่ ๆ ที่รัฐไทยก็ยังพยายามตามปกปิดเพื่อความศิวิไลซ์ โดยเฉพาะเมื่อบ้านเมืองต้องต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอย่างในช่วงเวลาที่จะมีการประชุมนานาชาติเกิดขึ้น
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in