เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
The Comfort Book หนังสือกอดใจ By Matt Haig แปล ศิริกมล ตาน้อบ
  • รีวิวเว้ย (1115) แด่ชีวิตน้อย ๆ และชีวิตของผู้คนที่สูญเสีย ให้กับความไร้น้ำยาของรัฐไทยในทุกกรณี
    หนังสือ : The Comfort Book หนังสือกอดใจ
    โดย : Matt Haig แปล ศิริกมล ตาน้อบ
    จำนวน : 264 หน้า

    "หนังสือกอดใจ" หรือในชื่อภาษาอังกฤษ "The Comfort Book" เป็นผลงานของ Matt Haig นักเขียนที่เผชิญกับสภาวะของโรคซึมเศร้า และอาการของโรควิตกกังวล โดยผลงานของ Haig เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเผื่อถ่ายทอดสภาวะของโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ที่ว่าด้วยเรื่องของการรับมือ การทำความเข้าใจและการอยู่กับมันอย่างเข้าใจ เพราะเมื่อพิจารณาจากผลงานชิ้นต่าง ๆ ของเขาที่ได้รับการแปลในภาษาไทย เราจะพบว่าผลงานเหล่านั้นบอกเล่าเรื่องราวของโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล บางผ่านตัวละคร บางผ่านตัวเขาเองในฐานะของผู้เขียนและตัวละครในหนังสือของเขาเอง

    "หนังสือกอดใจ" ผู้อ่านอาจจะรู้สึกแปลก ๆ ต่อลักษณะการเขียนของ "หนังสือกอดใจ" ที่แต่ละตอนเป็นข้อความ ข้อคิด เรื่องราวและเรื่องเล่า ที่มีขนาดความยาวไม่ยาว และบางข้อความก็สั้นเพียงประโยคหนึ่งประโยค แต่สิ่งที่ยังปรากฏอยู่ใน "หนังสือกอดใจ" ในฐานะผลงานของ Haig  คือการบอกเล่าเรื่องราวของการใช้ชีวิตอย่าง "มีความหวัง" ตามชื่อของหนังสือเล่มนี้ในภาษาไทยว่า "หนังสือกอดใจ" น่าแปลกใจที่ข้อเขียนขนาดสั้นปนยาว ในความยาว 264 หน้ากระดาษมันช่วยจัดระเบียบความคิด และความกังวลของเราได้อย่างดี เหมือนกับชื่อของหนังสือเล่มนี้ที่บอกเอาไว้ว่า "หนังสือกอดใจ"

    สำหรับเราในการหยิบเอา "หนังสือกอดใจ" ขึ้นมาอ่าน มันเกิดขึ้นจากค่ำคืนในวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ที่เป็นวันครบรอบ 46 ปี 6 ตุลาฯ 19 ที่เมื่อ 46 ปีก่แนรัฐไทยได้ใช้กำลังและความรุนแรงในการปราบปรามผู้เห็นต่างอย่างโหดเหี้ยมกลางเมือง กระทั่งวันนี้ยังคงมีผู้สูญหาจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นจำนวนมาก และในวันเดียวกันนี้ที่ห่างออกมา 46 ปี ในช่วงเที่ยงของวันที่ 6 ตุลาฯ 65 ได้เกิดเหตุคนร้ายบุกเข้าไปสังหารเด็ก ๆ และครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จังหวัดหนองบัวลำพู กระทั่งมีเด็กเสียชีวิตกว่า 27 คน และผู้ใหญ่อีกราว 10 คน น่าแปลกใจที่เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นผลจากการกระทำของบุคลที่เป็น "อดีจเจ้าหน้าที่ของรัฐ" และถ้าเราย้อนเวลากลับไปในช่วง 2-3 ปีมานี้ เราจะพบข่าวในเรื่องของการกระทำความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐเสมอ และถ้าย้อนกลับไปไกลกว่านี้เมื่อ 46 ปีที่แล้ว (2519) เราจะพบว่า "ความรุนแรง" และ "ความสูญเสีย" ที่เกิดขึ้นก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน

    หลังจากที่ตามข่าวของวันที่ 6 ตุลาฯ มาทั้งวัน ทำให้ตกกลางคืนมันยากที่จะข่มตานอน เราเลยเลือกหยิบ "หนังสือกอดใจ" ขึ้นมาอ่าน เผื่อว่ามันจะช่วย "กอดและโกยหัวใจและความรู้" ในวันที่มันแตกสลายให้ดีขึ้นมาได้  แต่บังเอิญว่าข้อเขียนชิ้นแรกที่ปรากฎใน "หนังสือกอดใจ" ดันเป็นเรื่องของ "ทารกน้อย" โดยมีข้อความดังนี้

    "จินตนาการว่าคุณเป็นทารกน้อย คุณยอมมองดูทารกและคิดว่าเจ้าตัวน้อยไม่ขัดพองสิ่งใดทั้งสิ้น ทารกผู้นี้เกิดมาอย่างสมบูรณ์ มีคุณค่าโดยธรรมชาติตั้งแต่ลมหายใจแรก คุณค่าของทารกน้อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอย่างความมั่งคั่ง รูปลักษณ์ มุมมองทางการเมือง หรือชื่อเสียง แต่เป็นคุณค่านับอนันต์ของชีวิตมนุษย์ ฟ้าคุณค่านี้ยังอยู่กับเราแม้เราหลงลืมมันง่ายดายขึ้นทุกที เรามีชีวิตและเป็นมนุษย์มากเท่ากับวันที่ลืมตาดูโลก สิ่งที่เราต้องการคือการดำรงอยู่ และการมีความหวัง" (น. 14)

    แต่อย่างน้อย ๆ เมื่ออ่าน "หนังสือกอดใจ" จบลง มันทำให้เราคิดว่าอย่างน้อยเราก็ควรอยู่บนโลกนี้อย่างมีความหวัง หวังว่าสักวันสังคมแห่งนี้มันจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in