Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
46 ปี 6 ตุลาฯ เราไม่ลืมจารุพงษ์ By กษิดิศ อนันทนาธร บก.
รีวิวเว้ย (1114) "
ตราบเท่าที่ยังมีความหวัง จารุพงษ์ก็ยังไม่ตาย ซึ่งจะช่วยหล่อเลี้ยงให้พ่อกับแม่มีชีวิตอยู่ต่อไปด้วย ตามความเข้าใจโดยทั่วไป บันทึกความทรงจำทำหน้าที่บันทึกสิ่งที่ต้องการจำ สิ่งที่ไม่ถูกบันทึกแปลว่าสิ่งนั้นจบหายสิ้นไปก็ได้ กล่าวอีกอย่างก็คือ ในความเข้าใจทั่วไป ชั่วขณะที่บันทึกยุติลง หมายถึงการลืม หมายถึงความทรงจำที่ยุติหรือหายไป … บันทึกของจินดาที่ยุติลงไม่ใช่การยุติเรื่องลงฉับพลัน ตรงข้ามการหยุดบันทึกเป็นการหยุดเวลาไว้ไม่ให้เดินต่อไปจนถึงการรับรู้แน่ชัด ว่าจะรุพงษ์เสียชีวิตไปแล้ว เป็นการหยุดประวัติศาสตร์เพื่อรักษาความหวัง และเพื่อรักษาชีวิตที่ยังมีอยู่ ให้อยู่ในช่วงเวลาที่หยุดนิ่งซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ความทรงจำ" บันทึกยุติลงเฉย ๆ ก็เพื่อเก็บความทรงจำเอาไว้ เป็นการเริ่มต้นของความทรงจำและความหวังที่บรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือไม่ได้ต่างหาก การปิดฉากหรือตอนจบไม่ถึงการสิ้นสุด ซึ่งในกรณีนี้ย่อมหมายถึงจบสิ้นความหวัง และไม่ยอมให้ชีวิตของลูกชายดำรงอยู่ แม้กระทั่งในความทรงจำของพ่อแม่ ความเงียบนับจากคณะที่หยุดบันทึก ในกรณีนี้กลับเต็มไปด้วยความทรงจำและความหวังเพื่อรักษาชีวิตไว้ เป็นความทรงจำที่ดำเนินต่อไปไม่มีตอนจบ บันทึกที่ไม่จบเพื่อให้จารุพงศ์มีโอกาสกลับมา ตราบเท่าที่ยังมีหวัง จารุพงษ์จะกลับมา บันทึกจึงต้องไม่จบ" (น. 52-53)
หนังสือ : 46 ปี 6 ตุลาฯ เราไม่ลืมจารุพงษ์
โดย : กษิดิศ อนันทนาธร บก.
จำนวน : 152 หน้า
ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนตอนที่เข้าเรียนที่ธรรมศาสตร์ช่วงแรก ๆ เรามีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายของกลุ่มกิจกรรมหลายกลุ่มในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และครั้งหนึ่งมีการเข้าค่ายที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และมีโอกาสได้ฟังเรื่องราวของเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ และ 6 ตุลาฯ รวมถึงได้มีโอกาสรับฟังเรื่องเล่าของนักศึกษาธรรมศาสตร์ในยุค 6 ตุลาฯ ที่ชื่อว่า "จารุพงษ์ ทองสินธุ์" นักศึกษาที่มีชื่อติดอยู่เหนือทางเข้าห้องประชุมในตึกกิจกรรมนักศึกษาที่ท่าพระจันทร์
น่าแปลกใจที่ตัวเราเองในช่วงเวลานั้น กลับไม่เคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ จากที่ใดทั้งในวิชาประวัติศาสตร์ หรือกระทั่งในหนังสือที่จะกล่างถึงเรื่องของ 6 ตุลาฯ ในช่วงเวลามีอยู่น้อยถึงน้อยมาก อาจจะเรียกได้ว่าประวัติศาสตร์ของช่วงเวลานั้นเคยเป็นหลุมดำที่ดูดเอาความจริงและความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านั้นไว้ในภายใต้แรงดึงดูดของหลุมดำทางประวัติศาสตร์ กระทั่งไม่กี่ปีมานี้เองที่เรื่องราวและเรื่องเล่าของเหตุการณ์เดือนตุลาฯ ได้รับการพูดถึงและมีการจัดกิจกรรมอย่างจริงจัง กระทั่งสื่อกระแสหลักรวมถึงคนในวงการต่าง ๆ ก็หันมาสนใจและใส่ใจในเหตุการณ์เดือนตุลาฯ โดยเฉพาะ 6 ตุลาฯ มากยิ่งขึ้น
การตื่นขึ้นอีกครั้งนี้เองที่ทำให้เหตุการณ์และคนในเหตุการณ์เดือนตุลาฯ ได้กลับมาสู่สังคมอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พวกเขาเคยถูกทำให้หายไปในหลุมดำทางประวัติศาสตร์ ถูกทำให้กลายเป็นความทรงจำที่ลบเลือน และถูกทำให้กลายเป็น "ปีศาจ" ที่มิอาจพูดถึงได้ในสังคมแห่งนี้
หนังสือ "
46 ปี 6 ตุลาฯ เราไม่ลืมจารุพงษ์" เป็นหนังสือที่ถูกจัดพิมพ์ขึ้นอีกครั้งโดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในหลายส่วนจากการพิมพ์ครั้งแรก โดยที่
"
46 ปี 6 ตุลาฯ เราไม่ลืมจารุพงษ์" ได้ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวของนักศึกษาธรรมศาสตร์คนหนึ่ง ที่ถูกทำให้หายเข้าไปในหลุมดำของประวัติศาสตร์ของสังคมไทยอย่าง "จุรุพงษ์ ทองสินธุ์" ซึ่งเขาเองเป็นเพียงภาพแทนของบุคคลอีกหลาย ๆ คนที่ถูกทำให้หายไปอย่างไม่มีวันกลับในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และบางคนจากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา 46 ปี คนบางคนก็อาจจะถูกลืมเลือนไปแล้วตามกาลเวลาและตามความมุ่งหวังของรัฐไทยที่นิยมวัฒนธรรม
การลอยนวลพ้นผิด (Impunity) หนังสือ
"
46 ปี 6 ตุลาฯ เราไม่ลืมจารุพงษ์" เล่มนี้จึงเป็นการย้ำเตือนเหล่าบรรดาคนที่เชื่อถือวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดว่า "6 ตุลาฯ เราไม่ลืม"
โดยเนื้อหาของ
"
46 ปี 6 ตุลาฯ เราไม่ลืมจารุพงษ์" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้
(1) บทนำ หกตุลากับขบวนการยุติธรรม กฤษฎางค์ นุตจรัส
[เราไม่ลืมจารุพงษ์]
(2) ตามหาลูก: จดจำและหวังด้วยความเงียบ ธงชัย วินิจจะกุล
(3) ประวัติลูกจารุพงษ์ ทองสินธุ์ (ลูกเกี๊ยะ) จินดา ทองสินธุ์
(4) บันทึก 6 ตุลา พลิกแผ่นดินตามหาลูก จินดา ทองสินธุ์
(5) จารุพงษ์ ทองสินธุ์ บาดแผลไม่จางหายของ 6 ตุลา ยุวดี มณีกุล
(6) ชีพนี้เพื่อมวลชน ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน
(7) เก้าอี้ว่าง โต๊ะร่าง ดูเงียบงัน เพราะเสียงเพลงเพื่อนนั้นไม่มีแล้ว เกษียร เตชะพีระ
(8) เรายังไม่ลืมจารุพงษ์ ธานี (ขวัญชัย) จิริยะสิน
หลังจากอ่าน
"
46 ปี 6 ตุลาฯ เราไม่ลืมจารุพงษ์" ทำให้เราคิดถึงเพลง "5 ตุลาฯ" (
https://youtu.be/tn-3G4gVZuk
) ที่ท่อนสุดท้ายของเพลงร้องเอาไว้ว่า "
ให้ตื่นคราวนี้ มันมีความหมาย ไม่เหมือนดังเดิม"
-------------------
อ่านไฟล์ได้ฟรี ทาง https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:27362 หรือ https://pr.tu.ac.th/journal_special/2565/46-years-6oct65-day/index.html
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in