เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ความขัดแย้งการเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ By ชนินท์ทิรา ณ ถลาง และคณะ
  • รีวิวเว้ย (1113) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    "ความขัดแย้ง" และ "การจัดการความขัดแย้ง" เมื่อกล่าวถึง 2 คำนี้ หลายคนมักไม่ได้คิดถึงทางออกของปัญหาในมุมของการอาศัยกลไกของ "การกระจายอำนาจ (Decentralization)" เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความขัดแย้งในเชิงพื้นที่ นอกจากนี้การจัดการความขัดแย้งโดยเฉพาะในรัฐไทย การจัดการปัญหาดังกล่าวอยู่ภายใต้การจัดการโดยรัฐที่มุ่งนเน้นการใช้อำนาจภายใต้รูปแบบของการ "รักษาความมั่นคง" ด้วยกองกำลังที่ทำหน้าที่รักษาความมั่นคงและปลอดภัยของรัฐ น่าสนใจว่าหากการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ของรัฐสามารถดำเนินการได้ด้วยการเจรจา การแบ่งสรรปันอำนาจ และการกระจายอำนาจ กลไกเหล่านี้อาจจะช่วยจัดการความขัดแย้งและแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สั่งสมมาเนิ่นนาน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยด้วย 
    หนังสือ : ความขัดแย้งการเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและบทเรียนของบางประเทศ
    โดย : ชนินท์ทิรา ณ ถลาง และ จารุพล เรืองสุวรรณ
    จำนวน : 172 หน้า

    หนังสือ "ความขัดแย้งการเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและบทเรียนของบางประเทศ" ว่าด้วยเรื่องของการจัดการความขัดแย้งผ่นากลไกของการเจรจาและแบ่งสรรปันอำนาจในทางการจัดการพื้นที่เพื่อสร้างกลไกและเครื่องมือสำหรับการหาทางออกร่วมกันและการอยู่ร่วมกันบนฐานของความขัดแย้งในสังคม 

    เนื้อหาของ "ความขัดแย้งการเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและบทเรียนของบางประเทศ"  มุ่งแสวงหาคำตอบผ่านประเด็นคำถามสำคัญ 3 ประการ คือ 

    (1) สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าข่ายเป็นการขัดแย้งทางอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ (NIACs) ตามคำนิยามในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศหรือไม่ และการใช้คำอื่น ๆ เรียกแทน "สถานการณ์" และ "กลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ" มีผลในการส่งเสริมการยกระดับปัญหาไปสู่สากลและการแทรกแซงอำนาจอธิปไตยหรือไม่ 

    (2) การเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ 3 (Third Party) ได้เข้ามาสนับสนุนขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการสันติภาพจะมีผลก่อให้เกิดการยกระดับปัญหาไปสู่สากลและการแทรกแซงอำนาจอธิปไตยของรัฐหรือไม่ 

    (3) โครงสร้างระหว่างประเทศมีการสร้างเงื่อนไขหรือข้อบังคับฝห้รัฐที่ประสบกับความขั้ดแย้งภายในต้องมีการกระจายอำนาจปกครองหรือไม่ การจัดสรรและการกระจายอำนาจปกครองในฐานะเป็นเครื่องมือในการบรรเทาสถานการณ์ความไม่สงบมีผลทำให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนหรือไม่

    โดยเนื้อหาและคำตอบของประเด็นคำถามหลักทั้ง 3 ข้อของ "ความขัดแย้งการเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและบทเรียนของบางประเทศ" ถูกแบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้ 

    บทที่ 1 โครงสร้างระหว่างประเทศ ตัวแสดงและความขัดแย้ง

    บทที่ 2 โครงสร้างระหว่างประเทศและความสำคัญของการนิยาม "สถานการณ์" และ "ตัวแสดง" ที่เกี่ยวข้อง 

    บทที่ 3 การเจรจาสันติภาพโดยฝ่ายที่สามและอำนาจอธิปไตยของรัฐ: กรณ๊ศึกษษอาเจะห์และมินดาเนา

    บทที่ 4 การจัดสรรและการกระจายอำนาจการปกครอง: เครื่องมือในการบรรเทาสถานการณ์หรือเส้นทางในการแบ่งแยกดินแดน

    บทที่ 5 สรุปประเด็นของการยกระดับปัญหาไปสู่สากลและการแทรกแซงอธิปไตยภายใต้โครงสร้างระหว่างประเทศ และข้อเสนอนแนะทางนโยบาย

    เมื่ออ่าน "ความขัดแย้งการเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและบทเรียนของบางประเทศ" จบลงเราจะพบว่าแท้จริงแล้วกลไกในการแสวงหาแนวทางในการ "จัดการความขัดแย้ง" ในหลายครั้งการใช้กำลัง กองกำลัง อีกทั้งความรุนแรงในการจัดการปัญหาดังกล่าว อาจจะมิได้นำพามาซึ่งหนทางของการยุติปัญหาหากแต่กลับกลายเป็นว่าปัญหาความขัดแย้งยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และหนังสือเล่มนี้ได้พยายามสะท้อนและถ่ายทอดมุมมองที่อาจจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่อาจจะเข้ามาเป็นกลไกที่สำคัญต่อการจัดการความขัดแย้งของรัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรณีของรัฐไทย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in